posttoday

เมื่อเอเซียเติบโต แต่'จ้างงาน' ก้าวไม่ทัน!

29 มกราคม 2554

ความล่าช้าในการฟื้นตัวของการจ้างงานจะยังคงเป็นปัญหาในปี 2554 โดยเฉพาะในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ทั้งนี้การว่างงานทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา หลังจากการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจโลก

ความล่าช้าในการฟื้นตัวของการจ้างงานจะยังคงเป็นปัญหาในปี 2554 โดยเฉพาะในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ทั้งนี้การว่างงานทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา หลังจากการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจโลก

โดย...รายงานองค์การแรงงานสากล (ไอแอลโอ)

 

เมื่อเอเซียเติบโต แต่'จ้างงาน' ก้าวไม่ทัน!

ความล่าช้าในการฟื้นตัวของการจ้างงานจะยังคงเป็นปัญหาในปี 2554 โดยเฉพาะในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ทั้งนี้การว่างงานทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา หลังจากการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจโลก

ถึงแม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะกลับมาดีขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ แต่จำนวนคนว่างงานทั่วโลกยังมีถึง 205 ล้านคน ในปี 2553 ซึ่งไม่แตกต่างไปจากตัวเลขในปี 2552 และมากกว่า 27.6 ล้านคน ในปี 2550 เมื่อก่อนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจโลก โดย ILO ประเมินว่า ในปี 2554 จะมีอัตราการว่างงานโลกร้อยละ 6.1 ซึ่งหมายถึงคนจำนวน 203.3 ล้านคนที่ว่างงาน

ในรายงานประจำปีของ ILO “แนวโน้มการจ้างงานโลก 2554 : ความท้าทายในการฟื้นตัวของการจ้างงาน” ระบุว่า การฟื้นตัวในตลาดแรงงานที่มีระดับการจ้างงานที่แตกต่างกันมาก มีจำนวนการว่างงานที่สูง และความท้อใจที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว และการเจริญเติบโตในการจ้างงาน กอปรกับการจ้างงานที่ไม่มั่นคงมีมาก และคนงานที่อยู่ในระดับยากจนในภูมิภาคที่กำลังพัฒนา แนวโน้มเหล่านี้แตกต่างกันมากในตัวบ่งชี้เศรษฐกิจมหภาค ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลก การบริโภคในภาคเอกชน การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และภาวะตลาดทุนซึ่งได้ฟื้นตัวในปี 2553 เหนือระดับก่อนเกิดวิกฤต

ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ขณะที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกลับสู่ระดับปกติในหลายประเทศ การว่างงานในภูมิภาคมีแนวโน้มว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมากในปี 2554 และภาพการจ้างงานยังไม่แน่นอน โดยการว่างงานของเยาวชน การจ้างงานที่ไม่มั่นคง คนทำงานที่อยู่ในความยากจน และการขาดความคุ้มครองทางสังคม เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับผู้กำหนดนโยบาย

ในเอเชียตะวันออก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกลับฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งในอัตราร้อยละ 9.8 ในปี 2553 ซึ่งสูงสุดในทุกภูมิภาคทั่วโลก การว่างงานในภูมิภาคโดยรวมลดลงร้อยละ 4.1 ในปี 2553 (ซึ่งสูงกว่าในปี 2550) โดยมีภาคการบริการเป็นตัวนำ ทว่าการจ้างงานเยาวชนยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญ เยาวชนในภูมิภาคนี้มีโอกาสเป็น 2.5 เท่าของผู้ใหญ่ที่จะว่างงาน ในฮ่องกงโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 4.4 เท่า รายงานระบุว่า “ในบางประเทศที่ยกเลิกมาตรการตอบโต้วิกฤต จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับความไม่เสมอภาค และนโยบายตลาดแรงงานที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น”

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก วิกฤตการณ์มีผลกระทบต่อคุณภาพการจ้างงานมากกว่าจำนวนการจ้างงานในบางประเทศ แม้ว่าการจ้างงานในขณะนี้จะมีระดับต่ำกว่าเมื่อก่อนเกิดวิกฤตในบางประเทศ การว่างงานในภูมิภาคลดลงเพียงเล็กน้อยจาก 5.2% ในปี 2552 มาเป็น 5.1% ในปี 2553 และคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมากในปี 2554 การจ้างงานที่ไม่มั่นคงเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานของเยาวชนเป็นปัญหา รายงานระบุว่า ภูมิภาคนี้เผชิญความท้าทาย 2 ประการ คือ

1.การเจริญเติบโตในการจ้างงานที่ไม่ทัดเทียมกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงานที่มีศักยภาพจะต้องเป็นเป้าหมายหลักของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

2.จะต้องให้ความสนใจคุณภาพของงาน โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตทางผลิตผล และการเจริญเติบโตของค่าจ้าง รายงานเตือนว่าเงินทุนต่างประเทศในภูมิภาคเป็นความท้าทายที่สำคัญทั้งต่อการเจริญเติบโตของงาน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการลอยตัวของสินทรัพย์ และภาวะเงินเฟ้อ

ในเอเชียใต้ 3 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจฟื้นตัว และอัตราการว่างงานในภูมิภาคยังอยู่ในระดับคงที่ที่ร้อยละ 4.2 และ 4.5 ระหว่างปี 2550 และ 2553 แต่รายงานเตือนว่า “การว่างงานไม่ใช่ความท้าทายที่สำคัญในภูมิภาค โดยการเจริญเติบโตทางการจ้างงานไม่ได้หมายถึงแนวโน้มทางบวกของตลาดแรงงาน” ทั้งยังเน้นประเด็นการว่างงานของเยาวชนเยาวชนมีโอกาสว่างงานมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3.5 เท่าความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ เช่น การมีผู้หญิงจำนวนมากทำงานที่มีประสิทธิภาพต่ำ และการจ้างงานที่ไม่มั่นคง

“ถึงแม้ว่าการฟื้นตัวในตลาดแรงงานจะแตกต่างกันมากในแต่ละประเทศทั่วโลก ความสูญเสียทางทรัพยากรมนุษย์อันเนื่องมาจากภาวะถดถอยนั้นยังคงเป็นปัญหา” ฮวน โซมาเวีย ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ กล่าวก่อนวันประชุม World Economic Forum ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

“ผู้กำหนดนโยบายควรระลึกเสมอว่าอนาคตของความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมขึ้นอยู่กับการสร้างโอกาสให้กับเยาวชนในวันนี้” ซาชิโกะ ยามาโมโตะ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ILO กล่าว “คนหนุ่มสาวมีพลังงาน ทักษะใหม่ และวิธีการใหม่ๆ แต่ถ้าพวกเขาไม่ได้โอกาสที่ดีในการทำงาน เขาก็ไม่สามารถใช้ความสามารถเหล่านี้ได้ ความท้อแท้จะทำให้พวกเขาไม่สามารถบรรลุศักยภาพของเขา และทำให้เราสูญเสียโอกาสทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม”