posttoday

บทวิเคราะห์ ฝรั่งเศสยังไม่พ้นปัญหา มาครงชนะแต่สังคมแตกแยกชัดเจน

25 เมษายน 2565

ความไม่นิยมในวงกว้างอาจทำให้เกิดเรื่องขึ้นได้ รวมถึงการเลือกตั้งรัฐสภาในเดือนมิถุนายนเป็นความท้าทายทางการเมืองครั้งแรก และมาครงอาจเผชิญการประท้วงถ้าเขาผ่านการปฏิรูปเงินบำนาญ

เอ็มมานูเอล มาครง อาจมชนะมารีน เลอ แปน ผู้นำฝ่ายขวาจัด แต่วาระการดำรงตำแหน่งครั้งที่ 2 ของเขาอาจโหดกว่าครั้งแรกด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้นและความไม่พอใจทางสังคมที่เดือดพล่าน

ในขณะที่ผู้สนับสนุนของเขาได้ลิ้มรสการเลือกตั้งครั้งใหม่อย่างยากลำบากในการชุมนุมโดยหอไอเฟลเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มาครงยอมรับในสุนทรพจน์ชัยชนะของเขาว่าหลายคนที่โหวตให้เขาทำเช่นนั้นเพื่อปิดกั้นเลอ แปนไม่ให้มีอำนาจ และไม่ใช่เพราะพวกเขาสนับสนุนความคิดของเขา

“จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างทาง” มาครงกล่าว พร้อมขนาบข้างด้วยบริจิตต์ ภรรยาของเขา

“ยุคหน้านี้จะไม่เหมือนกับอาณัติครั้งก่อน  เราจะคิดค้นวิธีการใหม่ในการทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน ให้ดีขึ้นไปอีกห้าปี”

อุปสรรค์ถัดไปคืออีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า การเลือกตั้งรัฐสภาในเดือน มิ.ย. จะเป็นการกำหนดโฉมรัฐบาลมาครงที่ต้องพึ่งพาเพื่อดูแผนการปฏิรูปที่จะเขย่ารัฐสวัสดิการของฝรั่งเศสอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

ประธานาธิบดีที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งใหม่มักจะคาดหวังว่าจะได้เสียงข้างมากในรัฐสภาหากผลการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติเป็นไปตามผลการลงคะแนนเสียงของประธานาธิบดีโดยตรง เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วมีผู้สนับสนุนผู้สมัครที่พ่ายแพ้การเลืกอตั้งประธานาธิบดีจะไม่มาลงคะแนนในระดับการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติ

อย่างไรก็ตาม ในการกล่าวสุนทรพจน์ของเธอ เลอ แปน กล่าวอย่างท้าทาย โดยให้คำมั่นว่าจะมีกลุ่มฝ่ายค้านที่แข็งแกร่งในรัฐสภา ในขณะที่ ฌอง-ลุค เมอลองชง ฝ่ายซ้ายก็มีความคิดที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับคะแนนเสียงฝ่ายซ้ายจำนวนมากในรอบแรก

เมอลองชงหวังที่จะนำแรงผลักดันนั้นไปสู่การเลือกตั้งรัฐสภาและบังคับให้มาครงเข้าสู่สภาวะ "การอยู่ร่วมกัน" ที่น่าอึดอัดใจกับการต้องอยู่ร่วมกับเสียงข้างมากในสภาพที่เป็นฝ่ายซ้าย

แม้ว่าพันธมิตรของมาครงจะได้รับเสียงข้างมากหรือบรรลุข้อตกลงร่วมที่ใช้การได้ เขาก็ยังต้องรับมือกับการต่อต้านตามท้องถนนต่อแผนการปฏิรูปของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปเงินบำนาญที่จะค่อยๆ เพิ่มอายุขั้นต่ำเป็น 65 จาก 62 ปี

'เขาจะทำอะไรไม่ได้เลย'

เงินบำนาญมักเป็นปัญหาที่ร้อนแรงในฝรั่งเศส และคะแนนที่ต่ำกว่าของมาครงต่อเลอ แปง เมื่อเทียบกับปี 2017 หมายความว่าเขาไม่มีอำนาจแบบเดียวกันในการดำเนินการปฏิรูปที่เขาผลักดันเมื่อห้าปีก่อน แม้จะกลายเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกตั้งใหม่เป็นครั้งที่ 2 ภายในสองทศวรรษ 

“การเลือกตั้งของเขาเป็นทางเลือกโดยปริยาย เขาเสี่ยงที่จะเป็นเป็ดง่อยที่ต้องเผชิญกับความไม่พอใจทางสังคมครั้งใหญ่ หากเขาต้องการดำเนินการปฏิรูปที่ละเอียดอ่อน เช่น เงินบำนาญ” คริสโตเฟอร์ เดมบิก นักเศรษฐศาสตร์ของ Saxo Bank กล่าวกับรอยเตอร์

มีสัญญาณที่เป็นไปได้ของปัญหาที่รออยู่ข้างหน้า เขาได้รับการตักเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่พอใจเกี่ยวกับการปฏิรูปเงินบำนาญบนเส้นทางการหาเสียง ทำให้เขาต้องยอมรับขีดจำกัดที่พอจะรยอมรับกันได่ที่การเพิ่มอายุขั้นต่ำเป็น 64 ปี 

ฟิลิปป์ มาร์ติเนซ หัวหน้าสหภาพ CGT ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสหภาพที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส ได้เตือนมาครงแล้วว่าจะไม่มี "การฮันนีมูน" สำหรับเขา และเขาสามารถคาดหวังการประท้วงได้หากเขาไม่ถอนตัวจากแผนการปฏิรูปสวัสดิการโดยสิ้นเชิง

อีกประเด็นที่ผันผวนที่ต้องรับมือภายหลังการเลือกตั้งคือราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น

รัฐบาลของมาครงจำกัดราคาไฟฟ้าและเสนอส่วนลดราคาที่ปั๊มจนกว่าจะถึงหลังการเลือกตั้ง เขากล่าวในระหว่างการหาเสียง เขาจะปกป้องผู้มีสิทธิเลือกตั้งตราบเท่าที่จำเป็น แต่ไม่มีกำหนดเวลาที่ชัดเจน

สิ่งที่ชัดเจนคือต้องมีการยกเลิกมาตรการที่มีต้นทุนที่ราคาแพงในบางจุด ในขณะเดียวกัน ฝ่ายนิติบัญญัติกล่าวว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร้องเรียนเรื่องราคาอาหารที่จำเป็นทุกประเภทที่พุ่งสูงขึ้น เช่น น้ำมันดอกทานตะวันที่ผลิตในยูเครน หรือข้าวและขนมปัง

ในปี 2018 ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นได้จุดชนวนให้เกิดความไม่สงบทางสังคมที่เลวร้ายที่สุดของฝรั่งเศส นับตั้งแต่นักเรียนปี 1968 ก่อจลาจลด้วยการก่อการลุกฮือที่เรียกว่า "เสื้อกั๊กเหลือง" ที่ก่อให้เกิดการหยุดชะงักเป็นเวลาหลายเดือนในกรุงปารีสและลามไปทั่วฝรั่งเศส

มาครงจึงต้องตัดสินใจอย่างระมัดระวัง หากไม่ต้องการจุดชนวนระเบิดอีกครั้ง

เทอมแรกของเขาเต็มไปด้วยความผิดพลาดในด้านการประชาสัมพันธ์ที่ทำให้เขาถูกมองว่าเย่อหยิ่งหรือทำเป็นโอ้โลมอย่างไม่จริงใจ ชาวฝรั่งเศสหลายคนเกลียดชังเขา ชายคนหนึ่งในเส้นทางการหาเสียงบอกเขาต่อหน้าว่าเขาเป็น "ประธานาธิบดีที่เลวร้ายที่สุดของสาธารณรัฐที่ห้า"

พันธมิตรทางการเมืองเตือนว่าเขาจะต้องปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ สหภาพแรงงาน และภาคประชาสังคมให้มากกว่านี้ และเลิกใช้รูปแบบการปกครองจากบนลงล่างในสมัยแรกของเขา ซึ่งเขาเองได้อธิบายไว้อย่างสูงส่งว่า "เป็นแนวคิดอันล้ำเลิศ"

“เอ็มมานูเอล มาครงได้รับคำเตือนแล้วว่า คุณไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับทุกสิ่งจากระดับบน เขาไม่ใช่หัวหน้าบริษัท” ปาทริก วิกนัล สมาชิกสภานิติบัญญัติกล่าวกับรอยเตอร์ “เขาต้องยอมรับแนวคิดการเจรจา การปรึกษาหารือ”

Source - ANALYSIS-In troubled France, no honeymoon for re-elected Macron/Reuters 

Photo - REUTERS/Benoit Tessier TPX IMAGES OF THE DAY