posttoday

จีนทดสอบขีปนาวุธนิวเคลียร์ความเร็วเหนือเสียงรับมือสหรัฐ

17 ตุลาคม 2564

จีนทดสอบความสามารถด้านอวกาศครั้งใหม่ด้วยยานติดตั้งกับขีปนาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียง จากการรายงานของ Financial Times รายงานเมื่อวันเสาร์

รายงานอ้างแหล่งข่าวจากหลายแหล่งที่คุ้นเคยกับการทดสอบ ระบุว่าในเดือนสิงหาคม ทางการจีนได้ปล่อยขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์ที่สามารถโคจรรอบโลกด้วยวงโคจรต่ำก่อนจะร่อนลงสู่เป้าหมาย แต่แหล่งข่าว 3 แห่งกล่าวว่าขีปนาวุธดังกล่าวพลาดเป้าไปมากกว่า 20 ไมล์ (32 กิโลเมตร)

แหล่งข่าวของ FT ระบุว่า ยานพาหนะร่อนเร็วแบบไฮเปอร์โซนิก (Boost-glide) ถูกติดตั้งเข้ากับจรวดลองมาร์ช ซึ่งปกติการปล่อยจรวดของจีนจะมีการประกาศต่อสาธารณะ แต่การทดสอบในเดือนสิงหาคมจะปกปิดไว้

รายงานเสริมว่าความคืบหน้าของจีนเกี่ยวกับอาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียง "ทำให้ข่าวกรองของสหรัฐไม่ได้ระแคะระคายมาก่อนเลย"

นอกจากจีนแล้ว สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และอีกอย่างน้อยห้าประเทศกำลังพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์โซนิก

ขีปนาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียงสามารถบินด้วยความเร็วเสียงมากกว่าห้าเท่า และเหมือนกันบขีปนาวุธแบบดั้งเดิมที่สามารถติดตั้งและยิงอาวุธนิวเคลียร์ไปยังเป้าหมายได้ แน่นอนว่าที่ไม่เหมือนกันคือด้วยความเร็วในการโจมตีที่เร็วขึ้นแบบเทียบไม่ติด

ขีปนาวุธนำวิถีแบเดิมจะทะยานในระดับสูงสู่อวกาศในแนวโค้งเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ในขณะที่ขีปนาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียงจะบินไปตามวิถีที่ต่ำในชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะเข้าถึงเป้าหมายได้เร็วกว่า

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงสามารถควบคุมทิศทงการเคลื่อนที่ ทำให้ติดตามและป้องกันได้ยากขึ้น มันบังคบได้เหมือนกับขีปนาวุธร่อนหรือ Cruise missile อันเป็น ขีปนาวุธนำวิถีใช้กับเป้าหมายบนพื้นและเป็นขีปนาวุธพิสัยใกล้ที่ช้ากว่ามาก และมักจะเดินทางต่ำกกว่าความเร็วเสียง แต่ศักยภาพในการโจมตีของขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงย่อมต่างกับขีปนาวุธร่อนที่ช้ากว่ามาก

ในขณะที่ประเทศอย่างสหรัฐได้พัฒนาระบบที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันขีปนาวุธร่อนและขีปนาวุธทิ้งตัว (Ballistic missile) ความสามารถในการติดตามและทำลายขีปนาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียงยังคงน่ากังขาวาสหรัฐสามารถทำได้หรือไม่

ตามรายงานล่าสุดโดยสำนักงานวิจัยสภาคองเกรสของสหรัฐ (CRS) จีนได้พัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการโจมตีจากโนโลยีที่มีความเร็วเหนือเสียงและเทคโนโลยีอื่นๆ ของสหรัฐ เป็นสิ่งสำคัญ

การทดสอบดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ กับจีนเพิ่มขึ้น และทางการจีนได้เพิ่มกิจกรรมทางทหารใกล้ไต้หวัน

ภาพประกอบ - จรวดขนส่งลองมาร์ช-2เอฟ ซึ่งบรรทุกยานอวกาศเซินโจว-13 พร้อมลูกเรือกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นนักบินอวกาศ 3 คนไปยังสถานีอวกาศแห่งใหม่ของจีน ทะยานจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วฉวนในทะเลทรายโกบี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนในช่วงต้นวันที่ 16 ตุลาคม 2021 ซึ่งคาดว่าจะเป็นภารกิจในสถานีอวกาศยาวที่สุดในประเทศ เป็นความสำเร็จล่าสุดในการขับเคลื่อนจีนให้กลายเป็นมหาอำนาจอวกาศ (ภาพโดย STR / AFP) / China OUT