posttoday

จับตาธนาคารกลางทำ Taper ชะลอการกระตุ้นเศรษฐกิจ

20 กันยายน 2564

คำใหม่ที่กำลังฮิตในหมู่คนวงการเศรษฐกิจคือ Taper มันจะเป็นตัวชี้ว่าทิศทางเศรษฐกิจโลกจะมุ่งไปทางไหน

- 'Taper คืออะไร' -

นี่คือคำฮิตในช่วงเวลานี้ เนื่องจากนักลงทุนต้องการทราบว่าเมื่อใดที่ธนาคารกลางจะเริ่มทำ "Taper" หรือค่อยๆ ลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของพวกเขาต่อเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่

นายธนาคารกลางต้องการหลีกเลี่ยง "taper tantrum" (ความอลหม่านจากการถอนมาตรการกระตุ้น) ที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งดังที่เคยเกิดขึ้นในปี 2013 เมื่อนักลงทุนตื่นตระหนกหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณว่าจะลดมาตรการกระตุ้นที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตการเงินโลก

ความ

ความอลหม่านดังกล่าวทำให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายของเฟดพยายามที่จะหลีกเลี่ยงโดยค่อยๆ ลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลง

แต่ธนาคารกลางจะทำ Taper หรือไม่? นั่นคือคำถามที่นายธนาคารกลางกำลังเผชิญในขณะที่พวกเขาถกเถียงกันว่าเมื่อใดที่พวกเขาควรจะผ่อนคลายมาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่พวกเขาใช้เมื่อปีที่แล้วเพื่อป้องกันภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดจากการระบาดใหญ่

"การถอนการสนับสนุนทางการเงินและการคลังเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คำถามสำคัญคือจังหวะเวลา" อีวา ซุน-ไว ผู้จัดการกองทุนของ M&G Investments กล่าว

ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางอื่นๆ จัดการประชุมในสัปดาห์นี้ ต่อไปนี้คือคำถามสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการเงินของพวกเขา:

- มีมาตรการอะไรบ้าง? -

เฟด ธนาคารกลางยุโรป และเธนาคารกลางในญี่ปุ่น อังกฤษ และที่อื่น ๆ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและเปิดตัวโครงการซื้อสินทรัพย์ขนาดใหญ่ในปีที่แล้วเพื่อป้องกันภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ

เป้าหมายของโครงการนี้คือการทำให้เศรษฐกิจมีชีวิตชีวาต่อไปได้โดยทำให้ผู้คน ธุรกิจ และรัฐบาลสามารถกู้ยืมเงินได้ในต้นทุนที่ถูกลง

เฟดซึ่งเริ่มการประชุมนโยบายสองวันในวันอังคารนี้ ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ในเดือนมีนาคม 2020

เพื่อจัดหาสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก เฟดซื้อหนี้กระทรวงการคลังอย่างน้อย 80,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน และอย่างน้อย 40,000 ล้านดอลลาร์ในตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS)

ECB มีโครงการซื้อฉุกเฉิน (PEPP) ฉุกเฉินสำหรับช่วงการระบาดใหญ่เป็นเม้ดเงิน 1.85 ล้านล้านยูโร ทำให้ธนาคารสามารถซื้อสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เช่น พันธบัตร ทำให้ราคาขึ้นและดอกเบี้ยลดลง

ECB ได้คงอัตราการดำเนินการรีไฟแนนซ์หลักไว้ที่ศูนย์

- ทำไมไม่รีบถอน? -

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะกระชับปริมาณเงินเพื่อให้ราคาลดลงและป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจร้อนจัด

ธนาคารกลางในบราซิล รัสเซีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ สาธารณรัฐเช็ก และไอซ์แลนด์ ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

แต่ เฟด, ECB และ ธนาคารแห่งชาติอังกฤษซึ่งประชุมกันในสัปดาห์นี้ ต่างยบังไม่ยอมคลายมาตรการกระตุ้นจนถึงตอนนี้

เจ้าหน้าที่ของเฟด, ECB และ BoE ยืนยันว่าอัตราเงินเฟ้อเป็นเพียงภาวะชั่วคราวและเป็นผลมาจากราคาที่ฟื้นตัวจากการลดลงในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ในปีที่แล้ว

ผู้กำหนดนโยบายต้องการหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยการถอนการสนับสนุนมากเกินไปเร็วเกินไป

- พวกเขาพูดอะไรบ้าง -

ตลาดต่างตอบสนองต่อทุกตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อ การว่างงาน ไปจนถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภค และคาดเดากันว่าตัวบ่งชี้เหล่านี้จะทำให้ธนาคารกลางปรับนโยบายของตนเร็วหรือช้ากว่าที่คาดไว้

ขณะที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกำลังชั่งน้ำหนักคำพูดของตนอย่างระมัดระวัง

เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดกล่าวเมื่อเดือนสิงหาคมว่าธนาคารกลางอาจ "เริ่มลดจังหวะการซื้อสินทรัพย์ในปีนี้" แต่เขายังคงปิดปากเงียบเกี่ยวกับกำหนดเวลา

ECB ก้าวไปอีกขั้นในเดือนนี้ โดยตัดสินใจที่จะชะลอการซื้อพันธบัตรรายเดือน แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนขนาดของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ และไม่ได้เลื่อนวันที่สิ้นสุดโครงการที่กำหนดไว้ในเดือนมีนาคม 2022

"นี่เป็นหนทางอีกยาวไกลจากการเป็น ''full taper" (ถอนมาตรการกระตุ้นเต็มที่) แอนดรูว์ เคนนิงแฮม หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ยุโรปที่ Capital Economics กล่าว

คริสติน ลาการ์ด หัวหน้า ECB ได้แสดงอย่างชัดเจนว่า "ผู้หญิงคนนี้จะไม่ทำ taper" เธอกล่าว

ตลาดคาดหวังสัญญาณที่ชัดเจนจาก ECB ในเดือนธันวาคม

- ธนาคารกลางประสบความสำเร็จหรือไม่? -

เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวเนื่องจากผู้คน ธุรกิจ และรัฐบาลใช้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก

ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้อัดฉีดเงิน 16 ล้านล้านดอลลาร์ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลก ตามตัวเลขของ IMF

วินเซนต์ จูวินส์ จาก JP Morgan Asset Management กล่าวว่า "เราได้เรียนรู้มากมายจากวิกฤตครั้งก่อน และการจัดการวิกฤตโควิด-19 เกือบจะสมบูรณ์แบบแล้วเมื่อมองจากมุมมองทางเศรษฐกิจ"

“การฟื้นตัวนั้นฉับพลันและมโหฬารมาก และเราไม่ได้ประสบกับการว่างงานจำนวนมากหรือการล้มละลาย” เขากล่าว

บริษัทจัดอันดับเครดิต S&P Global กล่าวว่าอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในยุโรปควรลดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ "โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเพิกถอนนโยบายดำเนินไปอย่างมีระเบียบตามที่คาดไว้"

- ผลกระทบเชิงลบคืออะไร? -

นักวิจารณ์กล่าวว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนมากยิ่งทำให้ความไม่เท่าเทียมกันแย่ลงโดยการเพิ่มราคาสินทรัพย์ทางการเงินและการเพิ่มราคาอสังหาริมทรัพย์

ECB ปกป้องการกระทำของตนโดยชี้ไปที่การศึกษาโดยนักวิจัยในเครือโดยกล่าวว่านโยบายของ ECB ได้ช่วยควบคุมการว่างงาน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ครัวเรือนที่อยู่อย่างจำกัดจำเขี่ยมากขึ้นให้สามารถเข้าถึงทรัพย์สินได้ด้วยอัตราที่ต่ำกว่า

รายงานของ OECD ในเดือนกันยายนแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นซึ่งนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนที่ยืดเยื้อออกไปอาจมีต่อราคาของสินทรัพย์ทางการเงินและอสังหาริมทรัพย์

นิโคลาส เวรอน นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบัน Peterson และสถาบันวิจัย Bruegel กล่าวว่า "การแทรกแซงของธนาคารกลางจะสมเหตุสมผลหากพวกเขาหลีกเลี่ยงภาวะถดถอย"

“หากพวกเขาไม่ต้องการหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกต่อไป พวกเขาก็ได้ผลเสียมากกว่าผลในเชิงบวก” เขากล่าว

Photo by Graeme Jennings / POOL / AFP