posttoday

Iron Dome โดมเหล็กสกัดขีปนาวุธของอิสราเอล

16 พฤษภาคม 2564

ภาพของระบบต่อต้านจรวดที่ยิงสกัดการโจมตีของปาเลสไตน์ทั่วท้องฟ้าของอิสราเอลทำให้เกิดความสนใจในระบบป้องกันนี้อย่างมาก

1. Iron Dome เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศทุกสภาพอากาศแบบเคลื่อนที่ได้ พัฒนาโดย Rafael Advanced Defense Systems และ Israel Aerospace Industries เบื้องหลังมาจากกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งตั้งอยู่ในเลบานอนยิงจรวดไปยังศูนย์กลางประชากรของอิสราเอลทางตอนเหนือในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นความท้าทายด้านความมั่นคงสำหรับกองกำลังป้องกันอิสราเอล อิสราเอลริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับระบบต่อต้านขีปนาวุธระยะสั้นของตนเอง แต่เจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐเตือนว่าจะ "จะล้มเหลวแน่นอน"

2. ในช่วงสงครามเลบานอนครั้งที่ 2 ปี 2006 จรวดเฮซบอลเลาะห์ประมาณ 4,000 ลูก (ส่วนใหญ่เป็นจรวด Katyusha พิสัยสั้น) ถูกยิงมาตกตอนเหนือของอิสราเอลรวมถึงเมืองไฮฟาซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ การระดมยิงจรวดครั้งนั้นคร่าชีวิตพลเรือนชาวอิสราเอล 44 คน และทำให้พลเมืองอิสราเอลราว 250,000 คนต้องอพยพและย้ายถิ่นฐานไปยังส่วนอื่นๆ ของอิสราเอลในขณะที่ชาวอิสราเอลประมาณ 1 ล้านคนต้องอาศัยอยู่ในหลุมหลบภัยระเบิดระหว่างความขัดแย้ง

Iron Dome โดมเหล็กสกัดขีปนาวุธของอิสราเอล

3. ขณะเดียว ทางทิศใต้มีขีปนาวุธมากกว่า 8,000 ลูก (จรวดประมาณ 4,000 ลูกและระเบิดครก 4,000 ลูก) ถูกยิงจากฉนวนกาซาไปยังศูนย์กลางประชากรของอิสราเอลระหว่างปี 2000 ถึง 2008 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยกลุ่มฮามาส จรวดที่ยิงเกือบทั้งหมดเป็นรุ่น Qassams ที่ปล่อยโดยเครื่องยิง Grad ขนาด 122 มม. ที่ถูกลักลอบนำเข้าไปในฉนวนกาซาซึ่งให้ระยะยิงไกลกว่าวิธีการยิงแบบอื่น ชาวอิสราเอลเกือบล้านคนที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้อยู่ในระยะยิงจรวดซึ่งเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงที่ร้ายแรงต่อประเทศและพลเมืองของอิสราเอล

4. ในที่สุดอิสราอลก็พัมนาระบบป้องกันขึ้นมา โดยทุนเริ่มต้นมาจากอิสราเอลเองจนสามารถใช้งานระบบ Iron Dome สองระบบแรกได้ โดยในปี 2007 อิสราเอลได้จ้างผู้รับเหมาสร้าง Iron Dome โดยเลือกผู้รับเหมาชาวอิสราเอล Rafael และบริษัท mPrest Systems ของอิสราเอลได้รับหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมซึ่งเป็นแกนหลักของระบบการจัดการการต่อสู้ของ Iron Dome พวกเขาใช้เวลาพัฒนาตั้งแต่เริ่มรับเหมาจนถึงความต่อสู้ใช้เวลาไม่ถึง 4 ปีซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่น่าทึ่งสำหรับระบบอาวุธที่ออกแบบมาจากศูนย์ เอยัล รอน (Eyal Ron) ผู้จัดการของ mPrest ถึงกับบอกว่า "ไม่มีระบบแบบนี้ที่ไหนในโลกทั้งในด้านความสามารถความเร็วความแม่นยำ เรารู้สึกเหมือนเป็นสตาร์ทอัพ"

Iron Dome โดมเหล็กสกัดขีปนาวุธของอิสราเอล

5. ต่อจากนั้นการระดมทุนสำหรับระบบ Iron Dome เพิ่มเติมอีก 8 ระบบพร้อมกับเงินทุนสำหรับการจัดหาขีปนาวุธสกัดกั้นกำลังได้รับการจัดหาโดยสหรัฐโดยสองระบบเพิ่มเติมเหล่านี้จะได้รับการส่งมอบภายในปี 2012 เงินทุนสำหรับการผลิตและการติดระบบ Iron Dome และขีปนาวุธสกัดกั้นเพิ่มเติมเหล่านี้ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐหลังจากได้รับการร้องขอจากประธานาธิบดีโอบามาในปี 2010 หลังจากนั้นโอบามาก็ให้ทุนต่อเนื่อง และยังเกิดการแลกเปลี่ยนทเคโนโลยีและการใช้งาน Iron Dome ระหว่างสหรัฐกับอิสราเอลด้วย

6. ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นและทำลายจรวดระยะสั้นและกระสุนปืนใหญ่ที่ยิงจากระยะทาง 4 กิโลเมตร ถึง 70 กิโลเมตร (43 ไมล์) ที่เล็งเป้ามายังพื้นที่ที่มีประชากรอิสราเอลหนาแน่นอิสราเอลหวังที่จะเพิ่มระยะการสกัดกั้นของ Iron Dome จากปัจจุบันสูงสุด 70 กิโลเมตร เป็น 250 กิโลเมตรและทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อให้สามารถสกัดกั้นจรวดที่มาจากสองทิศทางพร้อมกันได้

Iron Dome โดมเหล็กสกัดขีปนาวุธของอิสราเอล

7. ระบบ Iron Dome ประกอบด้วยหน่วยเรดาร์และศูนย์ควบคุมที่สามารถตรวจจับโพรเจกไทล์การยิงจากฝ่ายตรงข้ามได้ไม่นานหลังจากปล่อยและคำนวณวิถีและเป้าหมาย ใช้เวลาไม่กี่วินาทีในการตรวจพบจรวดที่เข้าใกล้ ในระบบ Iron Dome จะมีเครื่องยิงจรวด 3 หรือ 4 เครื่องพร้อมขีปนาวุธ 20 ลูกแต่ละลูกจะหันไปทางพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ เมื่อจรวจดฝั่งตรงข้ามลอยเข้ามาจรวดของ Iron Dome จะถูกยิงขึ้นไปและจะระเบิดในระยะใกล้และทำลายจรวดของฝ่ายตรงข้าม ด้วยวิธีนี้จึงยังมีเศษซากที่ตกลงมา จึงยังคงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

8. Iron Dome เริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2011 ใกล้เมืองเบียร์ชีบา และเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2011 ระบบสามารถสกัดกั้นการยิงของ BM-21 Grad จากฉนวนกาซาได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2012 สำนักข่าว The Jerusalem Post รายงานว่าระบบนี้ได้ยิงสกัดจรวด 90% จากฉนวนกาซาซึ่งจะตกในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2012 แถลงการณ์อย่างเป็นทางการระบุว่าสกัดกั้นจรวดได้มากกว่า 400 ลูก และเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2014 ระบบ Iron Dome ได้สกัดกั้นจรวดกว่า 1,200 ลูก

Iron Dome โดมเหล็กสกัดขีปนาวุธของอิสราเอล

9. ระบบนี้ใช้ในระหว่างปฏิบัติการ "Protective Edge" หรือสงครามกาซาปี 2014 สามารถสกัดกั้นจรวดจากฉนวนกาซาไปทางตอนใต้ตอนกลางและตอนเหนือของอิสราเอล ในเดือนสิงหาคม 2014 ระบบ Iron Dome จำนวน 10 หน่วยได้ไปประจำการใช้งานทั่วอิสราเอล ในช่วง 50 วันของความขัดแย้ง จรวดและปืนครก 4,594 ถูกยิงใส่เป้าหมายของอิสราเอล ระบบ Iron Dome สกัดกั้นขีปนาวุธที่ถือเป็นภัยคุกคามได้ 735 ลูกซึ่งเป็นตราความสำเร็จในการสกัดกั้นที่ 90% มีจรวดเพียง 70 ลูกที่ยิงใส่อิสราเอลจากฉนวนกาซาเท่านั้นไม่สามารถสกัดกั้นได้

10. ในช่วงวิกฤตอิสราเอล - ปาเลสไตน์ปี 2021 มีการยิงจรวดประมาณ 1,600 ลูกเข้าใส่อิสราเอลโดยกลุ่มฮามาสจากฉนวนกาซา จาก 1,200 ลูกที่ยิงจากฉนวนกาซาระบบ Iron Dome สามารถสกัดกั้น 90% -95% ตามรายงานที่แตกต่างกันโดย AP และกองกำลังของอิสราเอล

11. และอิสราเอลยังกำลังวางแผนที่จะติดตั้งระบบ Iron Dome ในทะเลเพื่อปกป้องฐานขุดเจาะก๊าซนอกชายฝั่งโดยทำงานร่วมกับระบบขีปนาวุธ Barak 8 ของอิสราเอล เรือคอร์เวต 6 ชั้น Sa'ar ของกองทัพเรืออิสราเอลจะติดตั้งระบบ Iron Dome สองชุดในเรือแต่ละลำ