posttoday

กองทัพเมียนมาเตรียมปวดหัว เมื่อกลุ่มติดอาวุธชาติพันธ์ุลุกขึ้นสู้เคียงข้างประชาชน

01 เมษายน 2564

กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์เมียนมามีเยอะกว่าที่คิด ตามไปดูกันว่ามีใครบ้างและประจำการอยู่ตรงไหนของประเทศ

ความขัดแย้งภายในเมียนมามีมาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี 1948 เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อยในเมียนมาต่างต้องการเอกราชและสิทธิในการปกครองตนเองส่งผลให้การสู้รบระหว่างพวกเขาและรัฐบาลยืดเยื้อมานานไม่จบสิ้น

พวกเขาถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่ากลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ (EAO) โดยกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มแรกๆ ที่หลายคนน่าจะรู้จะกันดีคือสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือกะเหรี่ยง KNU ซึ่งขณะนี้นำโดย Saw Mutu Say Poe มีหน่วยงานทางทหารที่เรียกว่ากองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ซึ่งปักหลักอยู่ที่รัฐกะเหรี่ยง, กะยา และเขตตะนาวศรี

นอกจากนี้ยังมีองค์กรที่แยกย่อยออกมาจาก KNU อีกหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นองค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNDO), ก๊อด อาร์มี่ (God's Army), กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (DKBA) และกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ กองพล 5 (DKBA-5)

กองกำลังอื่นๆ ทั่วประเทศ

กองทัพเมียนมาเตรียมปวดหัว เมื่อกลุ่มติดอาวุธชาติพันธ์ุลุกขึ้นสู้เคียงข้างประชาชน

รัฐคะฉิ่น

  • กองทัพยะไข่หรือกองทัพอาระกัน (AA) ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 เป็นองค์กรกบฏของชาวพุทธยะไข่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 เคยต่อสู้ร่วมกับกองทัพคะฉิ่นในความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่น และมีกำลังพลถึงประมาณ 7,000 คน
  • กองทัพเอกราชกะชีน (KIA) หรือคะฉิ่นเป็นกองทัพขององค์การเอกราชกะชีน (KIO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1961 เพื่อตอบโต้กองทัพเมียนมาและการก่อรัฐปะหารของนายพลเนวี่นที่พยายามลดบทบาทของชนกลุ่มน้อย นอกจากนี้ในการเลือกตั้งในปี 2010 รัฐบาทหารเมียนมาประกาศให้กลุ่มติดอาวุธทุกกลุ่มปลดอาวุธก่อนการเลือกตั้ง แต่ KIA ยืนกรานว่าจะไม่ยอมปลดอาวุธเด็ดขาดและจะเดินหน้ทำสงครามต่อไป
  • กองทัพแห่งชาติ Shanni เกิดขึ้นเมื่อปี 2016 มีกำพลกว่า 1,000 คน องค์กรนี้เป็นพันธมิตรกับกองทัพรัฐฉานใต้ และกองทัพเมียนมา

รัฐยะไข่

  • กองทัพอาระกันโรฮิงญา (ARSA) เป็นกลุ่มก่อความไม่สงบชาวโนฮิงญา ก่อตั้งในปี 2013 ประจำการอยู่ที่รัฐยะไข่และชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ
  • กองทัพปลดปล่อยอาระกัน (ALA) ก่อตั้งขึ้นในปี 1968 ประจำการอยู่ในรัฐยะไข่และรัฐกะเหรี่ยง ก่อนที่จะลงนามในสัญญาหยุดยิงเมื่อปี 2012
  • กองทัพยะไข่หรือกองทัพอาระกัน (AA)

รัฐฉาน

  • กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) หรือพรรคประชาธิปไตยโกก้างเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1989 โดยผู้นำในท้องถิ่นของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าแยกตัวออกมาจากพรรคและจัดตั้งกองทัพนี้ขึ้น ซึ่งมีกำลังพลราว 1,500 ถึง 2,000 คน
  • กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) เป็นกองกำลังติดอาวุธของแนวร่วมปลดปล่อยรัฐปะหล่อง เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1992 มีกำลังพลราว 1,500 ถึง 3,500 คน
  • สหภาพประชาธิปไตยลาหู่ (LDU) เป็นกลุ่มก่อความไม่สงบทางการเมืองและความไม่สงบของชาวลาหู่ในเมียนมา ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศกับรัฐบาลเมียนมาร์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2018
  • กองทัพแห่งชาติ WNA เป็นกลุ่มก่อความไม่สงบที่ปฏิบัติการในรัฐฉานใกล้ชายแดนไทย-เมียนมา ก่อตั้งในปี 1969 และลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลในเดือนสิงหาคม 1997
  • กองทัพ UWSA ก่อตั้งในปี 1989 เป็นกองกำลังติดอาวุธของพรรค United Wa State มีกำลังพลถึง 20,000 ถึง 25,000 คน
  • กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ Pa-O (PNLA) ก่อตั้งในปี 2009 และลงนามหยุดยิงไปแล้วในปี 2012 โดยประจำการอยู่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา
  • กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (NDAA) ก่อตั้งในปี 1989 หลังจากแยกตัวออกจากอดีตพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (CPB)
  • กองทัพรัฐฉาน - เหนือ (SSA-N) และกองทัพรัฐฉาน - ใต้ (SSA-S)
  • กองทัพยะไข่หรือกองทัพอาระกัน (AA)

รัฐกะเหรี่ยง

  • สภาสันติภาพ KNU/KNLA (KPC) กลุ่มติดอาวุธในเมียนมาก่อตั้งในปี 2007 โดยพลตรี Saw Htay Maung แม้จะมีชื่อเหมือนกันแต่องค์กรนี้ไม่ได้มีเกี่ยวข้องกับ KNU หรือ KNLA
  • กองทัพอาระกัน (AA) รัฐกะเหรี่ยง
  • กองทัพปลดปล่อยอาระกัน (ALA)
  • กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA)
  • องค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNDO)
  • กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ กองพล 5 (DKBA-5)

รัฐชีน

  • กองทัพแห่งชาติ Kuki (KNA) ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 เป็นกลุ่มก่อความไม่สงบที่ประจำการในตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมา
  • กองทัพปฏิวัติ Zomi (ZRA) ก่อตั้งขึ้นในปี 1997 มีกำลังพลราว 3,000 คน ประจำการอยู่ที่รัฐชีนและชายแดนเมียนมา-อินเดีย
  • กองทัพแห่งชาติชีน (CNA) ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 เคยลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลในปี 2012 เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มสมาชิกสภาสหพันธรัฐชาติสหภาพพม่า (UNFC)
  • กองทัพยะไข่หรือกองทัพอาระกัน (AA)

รัฐกะยา

  • กองทัพ Karenni (KA/KNPP) ก่อตั้งในปี 1949 เป็นกองทัพติดอาวุธของพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี (KNPP) ปฏิบัติการในตะวันออกของรัฐกะยา
  • กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA)
  • องค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNDO)

รัฐมอญ

  • กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติมอญ (MNLA) ก่อตั้งขึ้นในปี 1958 ประจำการอยู่ที่รัฐมอญและเขตตะนาวศรี เคยปะทะกับสมาชิกของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงในปี 2016

เขตตะนาวศรี

  • กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติมอญ (MNLA)
  • กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA)

เขตซะไกง์

  • สภาสังคมนิยมแห่งชาตินาคาแลนด์ (NSCN-K) เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวนาคาประจำการบริเวณชายแดนเมียนมา-อินเดีย ก่อตั้งในปี 1980 และลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลอินเดียในปี 2001 และกับรัฐบาลเมียนมาในปี 2012
  • กองทัพแห่งชาติ Kuki (KNA)

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกลุ่มที่ประจำการตามแนวชายแดนระหว่างประเทศและอีกกว่า 20 กลุ่มทั่วประเทศที่ยกเลิกไปแล้ว