posttoday

รมว.ตปท.อินโดฯ-เมียนมาเยือนไทยทำไมไม่ต้องกักตัว?

25 กุมภาพันธ์ 2564

รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียและเมียนมาเข้าพบ ดอน ปรมัตถ์วินัย วันเดียวกับที่เดินทางถึงไทย โดยไม่กัตัว

จากกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เมียนมา อินโดนีเซีย พบปะหารือกันที่ทำเนียบขาวเมื่อวานนี้ (24 ก.พ.) หลายคนอาจสังเกตว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของเมียนมาและอินโดนีเซียเข้าหารือกันภายในวันเดียวกับที่เดินทางมาถึงประเทศไทย โดยไม่ผ่านการกักตัว 14 วันตามมาตรการควบคุม Covid-19

จากการติดต่อกระทรวงการต่างประเทศของไทยเพื่อสอบถามถึงประเด็นดังกล่าวพบว่าไม่สามารถติดต่อได้

อย่างไรก็ดี จากการรวบรวมข้อมูลของโพสต์ทูเดย์พบว่ามีประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 30 มิ.ย. 2563 เรื่องข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 12) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของบุคคล 11 กลุ่ม ที่ได้รับการยกเว้นให้เข้าประเทศไทยได้ในข้อ 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้

(3) บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือบุคคลในหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น ตลอดจนคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของบุคคลดังกล่าว

ส่วนข้อ 2 มาตรป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อควบคุมดูแลให้ผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา และหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้โดยเคร่งครัด และให้ผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานควบคุมโรคติดต่อสั่งหรือกำหนดหนดเป็นเงื่อนไขในการเดินทาง หรือการเข้ามาในราชอาณาจักร รับการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ที่และตามมระยะเวลา ซึ่งทางราชการกำหนด หรือปฏิบัติตามระบบการตรวจสอบการเดินทางในราชอาณาจักร หรือการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัว เพื่อให้มาตรวจหาเชื้อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการติดเชื้อก็ได้

สำหรับข้อสงสัยว่ากลุ่มข้อยกเว้นข้างต้นมีมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 อย่างไร

จากคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 7/2563 เรื่องแนวปฏิบัติตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 6 ในข้อ 3 และ ข้อ 5 มีรายละเอียดดังนี้

ข้อ 3 บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือบุคคลในหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น ตลอดจนคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของบุคคลดังกล่าว แบ่งมาตรการดังนี้

มาตรการก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร

1)หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงหรือสถานที่ชุมชนไม่น้อยกว่า 14 วัน

2)ให้มีเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนี้

  • หนังสือที่รับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้
  • ใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางมีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทาง
  • ใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางดังกล่าวไม่มีเชื้อโรคโควิด-19 โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง
  • หน่วยงานต้นสังกัดมีหนังสือรับรองการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพหรือรักษาพยาบาล หรือเอกสารหลักฐาน ซึ่งแสดงถึงหลักประกันที่ผู้เดินทางดังกล่าวสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพหรือรักษาพยาบาล ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักร

3)ให้คัดกรองอาการทางเดินหายใจและวัดไข้ผู้เดินทาง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศของประเทศต้นทางก่อนออกเดินทาง

มาตรการเมื่อเดินทางถึง/ระหว่างอยู่ในราชอาณาจักร

1)ให้คัดกอรงอาการทางเดินหายใจและวัดไข้ที่ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร

2)ให้ยื่นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ

3)ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ

4)ให้เข้ารับการกักกันในพำนักของบุคคลดังกล่าวภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน

เมื่ออ่านกฎหมายทั้งสองฉบับพบว่า ข้อความในข้อ 2 ของประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 30 มิ.ย. 2563 และ มาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 7/2563 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีข้อความขัดแย้งกัน

มาตรการสำหรับบุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทย กำหนดให้บุคคลเหล่านี้ต้องเข้ารับการกักกันในที่พำนักของบุคคลดังกล่าว ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน

ทว่าข้อ 2 ของประกาศราชกิจจานุเบกษาฯ กลับเปิดช่องให้เลือกว่าจะแยกกักกันตัว หรือปฏิบัติตามระบบการตรวจสอบการเดินทางในราชอาณาจักร หรือการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัว

ความขัดแย้งกันของกฎหมายทั้งสองฉบับนี้อาจนำมาสู่ความสับสนของสาธารณชน และอาจเกิดความลักลั่นในการนำมาปฏิบัติ

รมว.ตปท.อินโดฯ-เมียนมาเยือนไทยทำไมไม่ต้องกักตัว?

รมว.ตปท.อินโดฯ-เมียนมาเยือนไทยทำไมไม่ต้องกักตัว?

รมว.ตปท.อินโดฯ-เมียนมาเยือนไทยทำไมไม่ต้องกักตัว?

รมว.ตปท.อินโดฯ-เมียนมาเยือนไทยทำไมไม่ต้องกักตัว?