posttoday

ปั๊มดอลล์อีกแล้ว

07 ธันวาคม 2553

ได้ยินเสียงจากนายเบน เบอร์แนนคี ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ก็ต้องหวาดเสียวกันทั่วโลกล่ะครับ เมื่อนายใหญ่ทางการเงินของสหรัฐผู้นี้ บอกว่า การว่างงานของสหรัฐยังวิกฤตอยู่ เฟดอาจจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกระลอก กับการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอีกล็อตใหญ่

ได้ยินเสียงจากนายเบน เบอร์แนนคี ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ก็ต้องหวาดเสียวกันทั่วโลกล่ะครับ เมื่อนายใหญ่ทางการเงินของสหรัฐผู้นี้ บอกว่า การว่างงานของสหรัฐยังวิกฤตอยู่ เฟดอาจจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกระลอก กับการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอีกล็อตใหญ่

โดย...ธนพล ไชยภาษี

ได้ยินเสียงจากนายเบน เบอร์แนนคี ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ก็ต้องหวาดเสียวกันทั่วโลกล่ะครับ เมื่อนายใหญ่ทางการเงินของสหรัฐผู้นี้ บอกว่า การว่างงานของสหรัฐยังวิกฤตอยู่ เฟดอาจจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกระลอก กับการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอีกล็อตใหญ่

ถ้าเป็นจริงก็ถือว่าเป็นข่าวร้ายสำหรับเอเชีย และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่จะต้องเผชิญหน้ากับกระแสทุนที่ไหลทะลักออกจากสหรัฐอีกครั้ง ค่าเงินในเอเชียเตรียมตัวแข็งเป็นหินกันอีกระลอก

ท่าทีจากสหรัฐล่าสุดนี้ เป็นสัญญาณบอกได้ชัดเจนแล้วครับว่า ปีหน้าสงครามการเงินจะดุเดือดเลือดพล่านขนาดไหน

จากการประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือน พ.ย. ของสหรัฐนั้น (Quantative Easing2) นั้น สหรัฐถูกสวดยับไม่เป็นท่า ว่าการช่วยตัวเองของสหรัฐนั้น กำลังสร้างความเจ็บปวดให้กับประเทศอื่น

จีนถือเป็นหัวหอกที่กระหน่ำสหรัฐอย่างหนักหน่วงครับ ว่าที่ผ่านมา สหรัฐมัวแต่ก่นด่าจีนว่าแทรกแซงค่าเงินทำให้เงินหยวนอ่อนค่ากว่าความเป็นจริง

แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว สหรัฐก็ทำในสิ่งที่ตัวเองด่าคนอื่นไว้เหมือนกัน ปั๊มเงินดอลลาร์เองโดยไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทั่วโลก

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปั๊มเงินเพิ่มเพื่อใช้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลกลับคืนนั้น ด้านหนึ่งก็ถูกมองครับว่า เป็นการแทรกแซงค่าเงินทางอ้อม เพราะยิ่งสหรัฐพิมพ์ดอลลาร์มากขึ้นเท่าไหร่ เงินดอลลาร์ก็ยิ่งอ่อนตัวลงมากเท่านั้น และไหนจะทำให้กระแสทุนจากสหรัฐไหลออกไปยังตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า โดยเฉพาะในเอเชีย

เห็นได้ชัดว่า ทุนที่ไหลเข้ามาอย่างร้อนแรงและต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2010 นั้น ได้ทำให้หลายประเทศเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ตลาดหลักทรัพย์ของอินเดีย และตลาดพันธบัตรสกุลเงินเอเชียโดยรวม

ภาวะที่เกิดขึ้น จะเป็นสถานการณ์บังคับ ที่ทำให้หลายประเทศต้องใช้มาตรการแทรกแซงสกัดทุนเหล่านี้ ซึ่งสหรัฐก็เอาแต่พร่ำบอก ขอให้หลีกเลี่ยงสงครามการเงิน แต่ละประเทศอย่าใช้มาตรการใดๆ ที่ไม่ใช่กลไกตลาดเข้าไปแทรกแซงค่าเงิน ซึ่งจะทำให้กลไกการเงินในโลกบิดเบือนไปและจะลุกลามกลายเป็นสงครามการค้าในที่สุด

แต่สิ่งที่สหรัฐทำ ก็แทบจะปลุกสงครามการเงิน และศึกการค้าขึ้นมาอยู่แล้วครับ เพราะการกระตุ้นของสหรัฐใดๆ การช่วยเหลือประชาชนชาวสหรัฐใดๆ ของรัฐบาลวอชิงตันนั้น กลับสร้างความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอื่น อย่างที่สหรัฐก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆ เหมือนกัน

ยังจำได้ติดหูครับ ก่อนหน้าที่จะเปิดม่านการประชุมจี20 ที่เกาหลีใต้เมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมานั้น ท่านประธานาธิบดี บารัก โอบามา แห่งสหรัฐ ถึงกับบอกว่า เศรษฐกิจโลกจะรอดหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับสหรัฐ...!

ชื่นใจดีแท้...!