posttoday

ภาวะโลกร้อนทำธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดของกรีนแลนด์ถล่ม

15 กันยายน 2563

ก้อนน้ำแข็งกว่า 100 ตารางกิโลเมตร แตกออกจากธารน้ำแข็งในกรีนแลนด์

BBC รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมา ใหญ่กว่าเมืองปารีส แตกออกจากธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดของอาร์กติกเนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นขึ้นในกรีนแลนด์ นักวิทยาศาสตร์กล่าวเมื่อวันจันทร์

แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่น้ำแข็งจะแตกออกจากธารน้ำแข็งแต่โดยทั่วไปจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก ในขณะที่น้ำแข็งดังกล่าวมีขนาดใหญ่ 113 ตารางกิโลเมตรแตกออกจากธารน้ำแข็ง Nioghalvfjerdsfjorden ในกรีนแลนด์

ธารน้ำแข็ง Nioghalvfjerdsfjorden เป็นธารน้ำแข็งอาร์กติกที่ใหญ่ที่สุดที่เหลืออยู่ ในขณะที่ก่อนหน้านี้ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ธารน้ำแข็ง Petermann ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรีนแลนด์สูญเสียพื้นที่ไปมากในปี 2010 และ 2012

โดยธารน้ำแข็งดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากมันยึดติดกับแผ่นน้ำแข็งภายใน นั่นหมายความว่าวันหนึ่งหากสภาพอากาศร้อนขึ้นตามที่ถูกคาดการณ์ไว้ พื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นหนึ่งในจุดที่น้ำแข็งละลายก่อนจุดอื่นในกรีนแลนด์

โดยในปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ทำลายสถิติ โดยมีแผ่นน้ำแข็งไหลออกไปถึง 150 ล้านตัน และมีน้ำแข็งละลายซึ่งจะเพิ่มระดับน้ำทะเลได้ถึง 1.5 มิลลิเมตรทั่วโลก

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอุณภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดนำแข็งละลายเพิ่มมากขึ้นและระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้มหาวิทยาลัยลินคอล์นในอังกฤษคาดการณ์ว่าน้ำแข็งที่ละลายในกรีนแลนด์สามารถเพิ่มระดับน้ำทะเลได้ 10 ถึง 12 เซนติเมตรภายในปี 2100

โดยอุณหภูมิเฉลี่ยในภูมิภาคเพิ่มขึ้นประมาณ 3 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปี 1980 และคาดว่าจะสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2020

Photo by Handout / EUROPEAN SPACE AGENCY / AFP