posttoday

สื่อหลัก-สื่อโซเชียลยิ่งแชร์ยิ่งรายงานซ้ำ การฆ่าหมู่ยิ่งเกิดขึ้นบ่อย

09 กุมภาพันธ์ 2563

บทเรียนจากต่างประเทศทำให้เราทราบว่าการราบงานของสื่อกระแสหลักและโซเชียลทำให้เกิดการลงมือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

"พฤติกรรมเลียนแบบ" เป็นคำที่เราคุ้นกันดี มักจะนำมาใช้อธิบายว่าเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นเพราะเลียนแบบผู้ที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ และคำๆ นี้ก็นำมาใช้อธิบายการกราดยิง/การสังหารหมู่เช่นกัน

แต่นักสังคมวิทยาที่ David Phillips บอกว่ามันไม่ใช่แค่การเลียนแบบเพราะเห็นแล้วอยากทำตาม แต่เป็นผลกระทบจากการรายงานอย่าง "ใกล้ชิดเกิดไป" ของสื่อในเหตุการณ์ฆาตรกรรมบางเหตุการณ์ แล้วทำให้ผู้ติดตามรายงานข่าวบางคนรู้สึกอยากจะทำตามบ้าง

สิ่งนี้เรียกว่า "อาการติดต่อของการกราดยิง" (Mass shooting contagion)

ในงานวิจัยเรื่อง "เหตุการณ์กราดยิงและผลจากการรายงานของสื่อ" (Mass Shootings and the Media Contagion Effect) ได้นำข้อมูลการวิจัยต่างๆ มานำเสนอ ทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่า สื่อที่หมกมุ่นกับการรายงานเหตุสังหารหมู่มากเกินไปจะส่งผลให้คนที่เสพสื่อทำพฤติกรรมเลียนแบบตามมา

เช่น ในสหรัฐ อัตราการยิงสังหารหมู่โดยเฉลี่ยเกิดขึ้นทุก ๆ 12.5 วัน และการยิงโรงเรียนเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยทุก 31.6 วัน และทุกๆ 3 กรณีจะมีการเลียนแบบการฆ่าลักษณะนี้เกิดขึ้นภายใน 13 วัน หรือจะให้ชัวร์ขึ้นไปอีกก็คือจะมีอย่างน้อย 1 เหตุการณ์ทุกๆ 13 วันที่กราดยิงเพราะเลียนแบบกรณีที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น

ที่สำคัญก็คือ นอกเหนือจากสื่อมวลชนกระแสหลักแล้ว ข่าวการกราดยิงยังเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วย ดังนั้นเราจะโทษสื่อหลักอย่างเดียวไม่ได้

จากการศึกษาของ Garcia Bernardo et al. (2015) ทำการเชื่อโยงโซเชียลมีเดียที่ทำให้คนเลียนแบบการกราดยิงฆ่าหมู่ โดยมีการวิเคราะห์ทวิตเตอร์ 57,000 ทวีต ในจำนวนนี้มี 72 ล้านทวีตมีคำว่า shooting (ยิง) อยู่ในเนื้อหาก และมีข้อความ 2 ล้านทวีตที่มีคำว่า school shooting (กราดยิงในโรงเรียน) และ mass murder (ฆ่าหมู่)

นักวิจัยได้เปรียบเทียบข้อมูลโซเชียลมีเดียกับฐานข้อมูลของเหตุการณ์การยิง เช่น วันและสถานที่ก่อเหตุ จนพบความเชื่อมโยงที่หนักแน่น นั่นคือ เมื่อทวีตเกี่ยวกับการยิงของโรงเรียนเกินกว่า 100% ต่อล้านทวีต ความน่าจะเป็นที่จะเกิดการยิงกันที่โรงเรียนในอีก 8 วันถัดไปก็สูงถึง 50%

ถ้าทวีตเกิน 100% ต่อล้านในช่วง 19 วันหลังจากการยิง ความน่าจะเป็นที่จะเกิดการยิงอีกครั้งไปจะมากถึ ง85%

หากทวีตเกินกว่า 10% ต่อล้านใน 35 วันหลังจากการยิง ก็จะมีความเป็นไปได้เกือบ 100% ที่จะเกิดการกราดยิงอีกครั้งเกิดขึ้น

ทีมนักวิจัยจึงสรุปว่า การยิงในโรงเรียนนั้นได้รับอิทธิพลจากสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าการก่อเหตุกราดยิงยิงแบบอื่นๆ และโซเชียลมีเดียยังสามารถทำนายได้ว่า 10 วันแรกหลังจากการกราดยิงครั้งก่อน จะมีอัตราการ "ติดต่อ" ที่ทำให้เกิดการกราดยิงครั้งต่อมาในระดับสูง

อาการติดต่อ (contagion) เกิดจากอะไร?

อาการติดต่อจนทำให้เกิดการเลียนแบบเป็นเพราะคนๆ นั้นได้รับอิทธิพลอย่างต่อเนื่อง อิทธิพลที่ว่านี้มาจากเทคโนโลยีของสื่อมวลชนเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของผู้กระทำความผิด กระตุ้นทำให้ความรู้สึกอยากกระทำความผิดรุนแรงขึ้น และสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงมือ

อาการติดต่อเพราะสื่อต่างจากการเลียนแบบพฤติกรรม (Copy-cat) เพราะอาการติดต่อมันไม่ใช่แค่การตั้งใจเลียนแบบอย่างหยาบๆ แต่เป็นผลกระทบจากการติดตามสื่อแบบต่อเนื่อง จนกระทบต่อจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกให้ลงมือแบบเดียวกัน

ไม่เฉพาะสื่อโซเชียลเท่านั้นที่ทำให้เกิดอาการติดต่อ สื่อกระแสหลักก็มีส่วนอย่างมาก เพราะมักจะรายงานกันทุกแง่มุมจนมากเกินไป เช่นการกราดยิงที๋โรงเรียนโคลัมไบน์เมื่อปี 1999 ผู้ก่อเหตุลงมือเพราะอยากทำลายสถิติการสังหารหมู่ให้มียอดคนยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังอยากจะมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ในครั้งนั้นสื่อหลักมียทความรายงานเหตุการณ์นี้ถึง 10,000 บทความ มีรายการทีวีถึง 319 รายการ และ CNN ออกอากาศแถลงการของฆาตกรถึง 6 ชั่วโมงซ้ำไปซ้ำมา

การวิจัยในปี 2015 พบว่ากรณีกราดยิงที่โรงเรียนโคลัมไบน์เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการกราดยิงเลียนแบบอย่างน้อย 21 ครั้งที่ลงมือทำไปแล้ว และวางแผนที่จะเลียนแบบ 53 ครั้ง ในระยะ 15 ปี ระหว่าง 1999 - 2015

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ในปี 2017 กลุ่ม Dear Members of the Media เรียกร้องให้ผู้สื่อข่าวรายงานหยุดการเผยแพร่ชื่อ ภาพถ่าย และบัตรประจำตัวในรูปแบบอื่นๆ เพื่อจำกัดโอกาสในการเกิดอาการติดต่อของการสังหารหมู่

วิธีการแก้ปัญหามีหรือไม่?

Jennifer Johnston, Ph.D. เสนอว่า "หากสื่อมวลชนและผู้ติดตามโซเชียลมีเดียทำพันธสัญญาที่จะไม่แชร์ ทำซ้ำ หรือทวีตชื่อ ใบหน้าประวัติ รายละเอียด หรือแถลงการณ์ของฆาตกร เราจะเห็นการกราดยิงลดลงอย่างมากของในช่วงหนึ่งถึงสองปี แม้จะคำนวณแบบเคร่งครัดที่สุด หากการมีการสกัดอาการติดต่อและการคำนวณโมเดลอาการติดต่อนั้นถูกต้อง เราควรเห็นการกราดยิงลดลงอย่างน้อยหนึ่งในสามในกรณี"

ดังนั้น ไม่ใช่แค่สื่อกระแสหลักที่จะต้องเพลาๆ มือลง แต่สื่อโซเชียลก็ต้องเบามือลงด้วย