posttoday

จะดีกว่ามั้ย หากผ้าอนามัยไม่เสียภาษี

17 ธันวาคม 2562

หลายประเทศรวมถึงบางรัฐในสหรัฐพิจารณายกเลิกภาษีผ้าอนามัย เพราะถือเป็นสินค้าอุปโภคจำเป็นสำหรับสตรี

หลายประเทศรวมถึงบางรัฐในสหรัฐพิจารณายกเลิกภาษีผ้าอนามัย เพราะถือเป็นสินค้าอุปโภคจำเป็นสำหรับสตรี

จากกรณีที่มีกระแสในโลกโซเชียลถึงการเก็บภาษีผ้าอนามัยของสตรีนั้น แม้ทางกรมสรรพสามิตจะออกมายืนยันว่าภาครัฐไม่มีนโยบายเก็บภาษีดังกล่าว เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับการดำรงชีพ โดยมีเพียงการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT7%) เฉกเช่นสินค้าทั่วไปอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี เรื่องดังกล่าวได้มีการพูดถึงประเด็นเรื่องความจำเป็นของผ้าอนามัยซึ่งเป็นสิ่งของจำเป็นสำหรับสตรี ที่มีการเสนอว่า จะดีกว่ามั้ยหรือเป็นไปได้หรือไม่ หากมีการยกเว้นภาษี(มูลค่าเพิ่ม)สำหรับผ้าอนามัย

เรื่องนี้ในต่างประเทศเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาหลายชาติแล้ว โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา ในรัฐยูทาห์ของสหรัฐ เพิ่งมีการผ่านกฎหมายในการยุติเก็บภาษีผ้าอนามัย (Tampon Tax) โดยถือเป็นหนึ่งนโยบายยกเครื่องระบบภาษีของรัฐที่เตรียมส่งให้ผู้ว่าการรัฐลงนามก่อนจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการภายในสิ้นปีนี้

รัฐยูทาห์เป็นรัฐล่าสุดจากทั้งหมด 32 รัฐก่อนหน้าจากตลอดช่วงสี่ปีที่ผ่านมาที่มีการหยิบยกประเด็นยกเว้นภาษีผ้าอนามัยแบบถาวร แต่จำนวนนี้มีเพียง 7 รัฐที่ยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยอย่างถาวรคือ คอนเน็กติกัต ฟลอริด้า อิลลินอยส์ นิวยอร์ก โอไฮโอ เนวาดา และโรดไอแลนด์ ขณะที่แคลิฟอร์เนียคาดว่าจะเป็นรัฐต่อไปในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว

นอกจากสหรัฐแล้ว บางประเทศอย่างในเยอรมนี ก็เพิ่งมีการผ่านกฎหมายยกเว้นภาษีผ้าอนามัยเช่นกัน จากเดิมที่เยอรมนีเคยจัดประเภทผ้าอนามัยอยู่ในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือย โดยเตรียมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ผ้าอนามัยที่จำหน่ายในเยอรมนีจากเดิมเก็บภาษีสูงถึง 19% ในฐานะสินค้าฟุ่มเฟือย เหลือเพียง 7% ซึ่งเทียบเท่าภาษีสินค้าทั่วไปเท่านั้น

เช่นเดียวกับในรวันดาก็เป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่มีการถกเถียงเรื่องภาษีผ้าอนามัย โดยระบุว่าไม่ว่าผ้าอนามัยแบบสอดหรือแบบแผน ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ควรเสียภาษีใดๆทั้งสิ้น ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลรวันดาได้ยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับผ้าอนามัย จากเดิมที่เคยเก็บภาษีสูงถึง 18% ในฐานะสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้หญิงและสตรีที่มีฐานะยากจนซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ให้สามารถเข้าถึงสินค้าอุปโภคจำเป็นเหล่านี้ได้

ขณะที่เคนย่า ถือเป็นประเทศแรกๆของโลกที่ยกเว้นการเก็บภาษีผ้าอนามัยไปตั้งแต่ปี 2004 แล้ว

กรณีของทั้งรัฐยูทาห์ และรวันดานั้นน่าสนใจตรงที่ว่า แม้แต่รัฐที่มีความต่างด้านความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุดของสหรัฐ หรือประเทศที่ประชาชนเผชิญความยากจนที่สุด ยังผลักดันการยกเว้นภาษีผ้าอนามัยได้เป็นผลสำเร็จ โดยยึดหลักการที่ว่าผ้าอนามัยเป็นสินค้าอุปโภคจำเป็นสำหรับการดำรงชีพต่อสตรี ทั้งนี้ทั้งนั้น "ผ้าอนามัย"ไม่ควรเป็นสินค้าชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับการจัดว่าเป็นสินค้าอุปโภคจำเป็น ยังมีสินค้าอีกหลายประเภทที่ควรได้รับการพิจารณาตามความเหมาะสมเช่น