posttoday

ฝ้ายแรงงานทาสซินเจียง อาวุธใหม่ที่สหรัฐใช้โจมตีจีน

13 พฤศจิกายน 2562

บทวิเคราะห์โดยทีมงานโพสต์ทูเดย์เอ็กซ์คลูซีฟ อาวุธใหม่ในสงครามการค้า สหรัฐใช้ลูกมือถล่มจีนละเมิดสิทธิมนุษยชน

บทวิเคราะห์โดยทีมงานโพสต์ทูเดย์เอ็กซ์คลูซีฟ อาวุธใหม่ในสงครามการค้า สหรัฐใช้ลูกมือถล่มจีนละเมิดสิทธิมนุษยชน

แบรนด์แฟชั่นนั้นนำเริ่มร้อนๆ หนาวๆ เมื่อสงครามการค้าลามมาถึงวัตถุดิบในการผลิตที่สำคัญ คือฝ้าย ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของเขตปกครองตนเองเซินเจียงในประเทศจีน เมื่อกลุ่มสิทธิมนุษยชนในประเทศตะวันตก กล่าวหาว่า ฝ้ายที่ผลิตจากภูมิภาคนี้อาจเป็นผลิตผลจากการใช้แรงงานที่ถูกทางการจีนบีบบังคับมา

แบรนด์ที่ถูกเล่นงานล่าสุดคือ Muji กับ Uniqlo แบรนด์จากญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้ Muji เคยมีแถลงการณ์ในเดือนสิงหาคมยืนยันว่าตระหนักในปีญหาแรงงานทาสในปัจจุบันและการใช้แรงงานเหล่านี้ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท

จู่ๆ เรื่องนี้ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาประเด็นอีกครั้ง โดยสำนักข่าว ABC ของออสเตรเลียที่ทำการติดตามเรื่องนี้กับแบรนด์ญี่ปุ่นทั้ง 2 แบรนด์

ครั้งแรกที่มีรายงานเอ่ยถึงการบังคับแรงงานในอุตสาหกรรมฝ่ายที่ซินเจียง คือเมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 ในรายงานของ Wall Street Journal ที่อ้างว่ามีการใช้แรงงานที่ถูกเกณฑ์มาในโรงงานฝ้าย และฝ้ายเหล่านั้นถูกซื้อไปโดยแบรนด์ดังๆ ทั่วโลก

ต่อมาเดือนตุลาคม สำนักงานศุลกากรสหรัฐกล่าวหาบริษัท Hetian Taida Apparel Co. ในซินเจียงว่าใช้แรงงานที่เกณฑ์มาผลิตฝ้ายและห้ามนำเข้าฝ้ายจากบริษัทนี้ คำสั่งนี้ออกมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับบริษัทที่ถูกสั่งห้าม และ มาร์ก มอร์แกน แห่ง สำนักงานศุลกากรสหรัฐกล่าวว่าคำสั่นนี้ออกมาในในเวลาเพียงวันเดียว ซึ่ง "แสดงให้เห็นว่า หากเราสงสัยว่าผลผลิตใดที่ใช้แรงงานที่ถูกเกณฑ์มา เราจะดึงสินค้าตัวนั้นออกจากชั้นวางขายในสหรัฐทันที"

ย้ำว่าทางการสหรัฐเพียงแค่สงสัยเท่านั้นก็เล่นงานจีนแล้ว

ต่อมาวันที่ 8 ตุลาคม กระทรวงพาณิชย์สหรัฐขึ้นบัญชีดำบริษัทจีน 28 บริษัทด้านการรักษาความปลอดภัย โดยกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับละเมิดสิทธิมนุษชนในซินเจียง และเป็นอีกครั้งที่สหรัฐไม่ได้เปิดเผยหลักฐานเรื่องนี้

นอกจากนี้ จากความเห็นของโซฟี ริชาร์ดสันแห่งองค์กร Human Rights Watch ที่มีต่อสำนักข่าว ABC บ่งชี้ว่าโลกตะวันตกพยายามที่จะโยงคำว่า "ซินเจียง" เข้ากับคำว่า "ละเมิดสิทธิมุนษยชน" อย่างตีขลุมจนเกินไป โดย ริชาร์ดสันกล่าวกับ AP ว่า "เมื่อผู้คนเห็นคำว่าซินเจียง ผู้คนก็นึกถึงการควบคุมชาวมุสลิมเติร์กหนึ่งล้านคนโดยใช้อำนาจบาตรใหญ่ และการกดขี่ทางศาสนา โดยไม่ได้นึกถึงฝ้ายคุณภาพดี หรือตัวเลือกด้านแฟชั่น

ทัศนะนี้สะท้อนให้เห็นถึงการพยายามปลุกปั้นให้โลกรู้สึกว่าสินค้าจากจีนมีมลทินจากการละเมิดสิทธิมุนษยชน โดยไม่มีหลักฐาน ตัวเลขทางสถิติมายืนยัน

Human Rights Watch เป็นองค์กรอิสระในสหรัฐที่ดำเนินการผ่านเงินบริจาค (ผู้บริจาครายใหญ่คือจอร์จ โซรอส) แต่ถูกกล่าวหามาโดยตลอดว่ามีท่าทีที่มีอคติ และถูกกล่าวหาว่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลสหรัฐ และถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวช่วยสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐหลายครั้ง และยังถูกวิจารณ์ว่มีวิธีการทำรายงานที่อ่อนในเรื่องการเช็คข้อเท็จจริง

เราจะเห็นได้ว่าทัศนะของโซฟี ริชาร์ดสัน แห่ง Human Rights Watch สะท้อนปัญหาเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้เป็นอย่างดี เพราะมีลักษณะกล่าวหาและจับแพะชนแกะ

แม้แต่รายงานข่าวของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ยังระบุอย่างคลุมเครือในการหารือโดยคณะกรรมการผู้เชี่วชาญ (Committee Experts) เนื้อหามีดังนี้

"ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ” ระบุจีนได้เปลี่ยนเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ให้กลายเป็นบางสิ่งที่คล้ายกับค่ายกักกันใหญ่ที่ปกคลุมไปด้วยความลับ ซึ่งเป็น “เขตไร้สิทธิ์” ในขณะที่สมาชิกของชนกลุ่มน้อยชาวซินเจียงอุยกูร์ ชาวมุสลิมได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นศัตรูของรัฐ เพียงเพราะมีอัตลักษณ์ทางศาสนาของชาติพันธุ์ของตัวเองเท่านั้น"

ด้านอวี้เจี้ยนหัวผู้แทนของจีนยืนยันว่า "ไม่มีการกักขังโดยพลการหรือขาดเสรีภาพในความเชื่อทางศาสนา ในขณะที่มุมมองที่ว่าซินเจียงนั้นเป็น “เขตไร้สิทธิ์” เป็นสิ่งที่ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับข้อเท็จจริง"

แม้จะในที่ประชุม OHCHR จะยังเถียงกันเรื่องนี้ แต่สื่อตะวันตกได้หยิบเอาข้อความที่คลุมเครือคือ “แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ” และ “เขตไร้สิทธิ์” มาใช้โจมตีจีนอยู่ซ้ำๆ โดยไม่ได้บอกว่าใครหรืออะไร

ที่น่าสนใจก็คือในข้อกล่าวหาเรื่องจีนปฏิบัติต่อชาวซินเจียงอุยกูร์นั้นรวมถึงการห้ามสตรีสวมผ้าคลุม (ฮิญาบ) เต็มใบหน้า ซึ่งคำสั่งนี้มีใช้กันในประเทศตะวันตกเช่นกัน เช่านในฝรั่งเศส แต่ประเทศตะวันตกกลับไม่ได้ถูกเพ่งเล็งเท่ากับจีนทำ

ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า สหรัฐเป็นผู้ผลิตฝ้ายรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก จีนในอันดับที่ 3 และออสเตรเลียในอันดับที่ 9

สงครามการค้าโลกมีอาวุธให้หยิบขึ้นมาโจมตีกันมากมาย การละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงก็เป็นหนึ่งในอาวุธชิ้นนั้น


อ้างอิง

Erin Handley and Bang Xiao. Japanese brands Muji and Uniqlo flaunt 'Xinjiang Cotton' despite Uyghur human rights concerns. ABC. (4 November 2019). 

Martha Mendoza. U.S. Blocks Imports From 5 Countries Over Allegations of Forced Labor. AP. (8 October 2019). 

OHCHR. Committee on the Elimination of Racial Discrimination reviews the report of China (13 August 2018).