posttoday

“การศึกษา” เครื่องมือสาคัญในการสร้างคนเก่ง คนดี มีวินัย ของประเทศญี่ปุ่น

10 พฤศจิกายน 2562

โรงเรียนญี่ปุ่นมีบทบาทสาคัญมากในการปลูกฝังความรับผิดชอบและความมีวินัยของเด็กญี่ปุ่น เพราะการใช้ชีวิตในโรงเรียนเต็มไปด้วยรูปแบบที่ช่วยฝึกฝนเด็ก

ญี่ปุ่นให้ความสาคัญต่อการสร้างพลเมืองคุณภาพแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยการมองไปในอนาคตว่า จะเกิดอะไรขึ้นในประเทศ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคม จึงมีการเตรียมคนให้พร้อม เพื่อให้มีทักษะ สอดคล้องกับยุคสมัยที่จะมาถึงในเร็ววันนี้ ซึ่งกระบวนการเตรียมคนเก่ง สร้างคนดี และฝึกคนให้มีวินัย ในแบบของญี่ปุ่นนั้น จะใช้ “การศึกษา” เป็นเครื่องมือสาคัญ

เมื่อตระหนักว่าสังคมที่กำลังจะมาถึง เป็นสังคมที่มนุษย์ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับความก้าวล้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ญี่ปุ่นจึงเน้นให้คนมีความเก่ง สามารถใช้ประโยชน์จากความเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเก่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ โดยอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

“การศึกษา” เครื่องมือสาคัญในการสร้างคนเก่ง คนดี มีวินัย ของประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นได้รับการยอมรับเรื่องความเก่ง และความมีวินัย

การศึกษาของญี่ปุ่นทั้งในระบบ และการเรียนรู้นอกห้องเรียน จึงมุ่งเน้นให้ทุกคนมีพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ โดยตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ไว้เป็น 3 ระดับ คือ ขั้นแรก เด็กจะต้องมีความเข้าใจเป็นพื้นฐานก่อน จากนั้น จึงฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ และเมื่อฝึกฝนจนชำนาญแล้ว ก็จะนำไปสู่ความสามารถที่จะออกแบบหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้

เพื่อให้ทุกคนซึมซับเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐบาลจึงพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนคุ้นเคย เข้าใจ และเห็นความสำคัญ ของเรื่องดังกล่าว ตัวอย่างของสถานที่ ตามแนวคิดนั้นก็คือ “มิไรคัง” (Miraikan) มิไรคัง คือ National Museum of Emerging Science & Innovation เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของเขตโอไดบะ และยังเป็นสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีแห่งยุคของญี่ปุ่นอีกด้วย เพราะเทคโนโลยีบางอย่างที่เด็กๆเคยเห็นในหนังการ์ตูน ก็ถูกสร้างเป็นของจริงให้ได้เห็นกันแล้ว อย่างเช่น เจ้าหุ่นอาซิโม่ (Azimo) ที่สามารถเคลื่อนไหวและเล่นกับเด็กๆได้ เหมือนมีชีวิตจริงๆ นอกจากนั้นก็ยังมีสิ่งประดิษฐ์ล้าสมัยอื่นๆ ที่ช่วยสร้างจินตนาการให้ผู้เข้าชม ได้เห็นถึงการใช้ชีวิตในอนาคตที่กาลังใกล้เข้ามา

ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เมื่อได้เห็นภาพเหล่านั้น ก็จะสนุกสนานและตื่นเต้นกับการมาถึงของเทคโนโลยีในอนาคต และเมื่อเด็กๆได้ไปเรียนรู้เรื่องเหล่านั้นต่อที่โรงเรียน ก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น และอาจนำไปสู่แรงบันดาลใจ ให้เด็กอยากเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีเหล่านั้นด้วยตนเอง

เมื่อทำให้คนสนใจวิทยาศาสตร์ได้แล้ว ขั้นต่อไปก็คือการสร้างบุคลากรที่มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่เรียกว่า Super Science High School คือหลักสูตรที่ยกระดับโรงเรียนมัธยมปลาย ให้กลายเป็นโรงเรียนเฉพาะทาง มุ่งเน้นพัฒนาทักษะด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กๆ ที่มีความสามารถ ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ได้อย่างเต็มที่ก่อนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา โดยโรงเรียนมัธยมที่จะถูกยกระดับให้เป็น Super Science High School ได้นั้น
จะต้องมีความพร้อมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือและบุคลากร ตลอดจนหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาอันเข้มงวดจากกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้ปัจจุบันนี้ยังมีโรงเรียนรูปแบบดังกล่าวไม่ถึง 10 โรงเรียนในญี่ปุ่น

“การศึกษา” เครื่องมือสาคัญในการสร้างคนเก่ง คนดี มีวินัย ของประเทศญี่ปุ่น ช่วงปิดเทอม เด็กญี่ปุ่นจะมีการบ้านวิชาวิจัยอิสระ เพื่อค้นคว้าในเรื่องที่ตนเองสนใจ

เด็กที่เรียนจบจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ มักจะเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว หรือ “Tokyo Institute of Technology” ที่เรียกสั้นๆ ว่า “โตเกียวเทค” (Tokyo Tech) เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีชื่อที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่น มีบทบาทสาคัญในการผลิตวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ เก่งๆ เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม ภายใต้ปรัชญาที่ว่า “ยังมีความเป็นไปได้ ซ่อนเร้นอยู่ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

แม้จะเห็นความสาคัญของวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมให้ทุกคนมีความเข้าใจวิทยาศาสตร์ แต่ก็เล็งเห็นความสาคัญของอาชีพอื่นๆเช่นกัน และเชื่อว่าทุกคนควรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ไม่ว่าเขาจะอยากโตไปเป็นอะไร ดังนั้น ระบบการศึกษาจะต้องช่วย ให้เด็กค้นพบตัวเอง ว่ารักชอบด้านไหน เพื่อจะได้ช่วยให้พวกเขาได้รับการพัฒนาอย่างถูกทาง

ช่วงปิดเทอมใหญ่ เด็กประถมญี่ปุ่นส่วนมาก จะมีการบ้านวิชาชื่อว่า “วิชาวิจัยอิสระ” (independent research) ที่จะให้เด็กๆ เลือกหัวข้ออะไรก็ได้ ที่ตนเองสนใจ แล้วไปหาคำตอบมาให้ได้ ในช่วงปิดเทอม โดยครูเองก็จะไม่ตัดสินว่าหัวข้อของใครดีกว่ากัน เพราะเป้าหมายของกิจกรรมนี้ คือต้องการฝึกให้เด็กเข้าใจกระบวนการหาข้อมูล การทำวิจัย แล้วนำกลับมาเสนอในชั้นเรียนช่วงเปิดเทอม ซึ่งผลลัพท์ที่ได้ นอกจากเด็กจะได้ประสบการณ์ใหม่ๆแล้ว ยังอาจช่วยให้เด็กค้นพบสิ่งที่ตนเองชอบ ซึ่งช่วยให้ครูหรือผู้ปกครอง สามารถส่งเสริมและพัฒนาได้ถูกทิศทาง

โรงเรียนญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อกิจกรรมทัศนศึกษาเป็นอย่างมาก จึงเป็นกิจกรรมที่ทำกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องในทุกโรงเรียน ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยม โดยอย่างน้อยที่สุด ก็ปีละ 2-3 ครั้ง และถึงแม้ว่าปลายทางของการทัศนศึกษา จะไม่ใช่สถานที่แปลกใหม่ แต่เด็กๆ ก็จะได้ฝึกทักษะในระหว่างเดินทางเป็นหมู่คณะ อีกทั้งการได้ไปเห็นและได้ไปสัมผัสธรรมชาติ จะช่วยปลูกฝังนิสัย รักธรรมชาติ และให้ความสาคัญกับทุกชีวิต

“การศึกษา” เครื่องมือสาคัญในการสร้างคนเก่ง คนดี มีวินัย ของประเทศญี่ปุ่น สังคมที่เป็นระบบระเบียบและมีความปลอดภัย ทำให้ผู้ปกครองกล้าให้เด็กออกไปเรียนรู้ด้วยตนเอง

การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ญี่ปุ่นเชื่อมต่อกับโลกสากลอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีข้อดีที่เห็นได้ชัด คือการพัฒนาองค์ความรู้ แต่ก็มีความกังวลว่า เด็กยุคใหม่จะมีความเป็นชาตินิยมน้อย ดังนั้น ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นจึงไม่ลืมที่จะปลูกฝังความเป็นชาตินิยมญี่ปุ่นเข้าไปด้วย โดยให้สังคมและโรงเรียนทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อฝึกให้เด็กๆ เคารพในวัฒนธรรม, เคารพในธรรมชาติ, เคารพในระบบอาวุโส, และมีความรักชาติ

การปลูกฝังความเคารพระบบอาวุโสในสังคมญี่ปุ่น ถือเป็นวิธีคิดที่สร้างสรรค์ เพราะไม่ได้บังคับให้รุ่นน้องต้องเคารพรุ่นพี่อย่างไร้เหตุผล แต่จะส่งเสริมให้รุ่นพี่แสดงบทบาทเป็น ผู้ช่วยเหลือ เป็นผู้ดูแลที่ดีของรุ่นน้อง ตัวอย่างเช่น เด็กโตที่คอยดูแลเด็กเล็กกว่า ในระหว่างเดินทางไป-กลับโรงเรียน แม้จะไม่ได้เป็นญาติพี่น้องกันก็ตาม เนื่องจากเด็กญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเดินทางไปโรงเรียนกันเอง โดยไม่มีผู้ปกครองคอยรับส่ง ดังนั้น ผู้ใหญ่ก็จะคอยบอกให้เด็กที่โตกว่า ช่วยดูแลน้องๆ ในระหว่างเดินทาง ซึ่งวิธีการนี้นอกจากจะฝึกความรับผิดชอบของเด็กโตแล้ว เด็กทุกคนยังจะได้ฝึกการวางแผนเดินทางเอง ฝึกการปฏิบัติการกฎจราจร ฝึกระเบียบวินัยไปในตัวอีกด้วย

เมื่อเด็กๆไปที่โรงเรียน รุ่นพี่ก็ยังมีบทบาทหน้าที่ ให้ได้ฝึกฝนความรับผิดชอบอีกในช่วงเวลาอาหารกลางวัน เพราะโรงเรียนญี่ปุ่นจะจัดอาหารกลางวันให้เด็กทุกคน เมื่อถึงเวลาแจกจ่ายอาหาร ตัวแทนนักเรียนรุ่นพี่จะต้องผลัดเวรมาช่วยกันจัดอาหาร และแจกจ่ายอาหารให้น้องเล็ก เพื่อฝึกความรับผิดชอบ การปลูกฝังการเราคพอาวุโสอย่างมีเหตุผล

โรงเรียนญี่ปุ่นมีบทบาทสาคัญมากในการปลูกฝังความรับผิดชอบและความมีวินัยของเด็กญี่ปุ่น เพราะการใช้ชีวิตในโรงเรียนเต็มไปด้วยรูปแบบที่ช่วยฝึกฝนเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการ เปลี่ยนรองเท้าก่อนเข้าห้องเรียน, การเก็บกวาดจานชามของตนเอง, และเวรทำความสะอาดห้องเรียน

ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างคนเก่งและคนดีเป็นอย่างมาก ดังนั้น เด็กญี่ปุ่นทุกคนจึงต้องเรียนวิชา “Ikiru Chikara” (อิคิรุ ชิคะระ) หรือ “ความสามารถในการดาเนินชีวิต” โดยวิชานี้มีเป้าหมายให้เด็กทุกคนพัฒนาพื้นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การใช้ชีวิตและลักษณะนิสัย (2) คุณธรรมความคิดและการตัดสินใจ (3) บุคลิกภาพและการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ (4) ทัศนคติและแรงจูงใจในฐานะพลเมือง

“การศึกษา” เครื่องมือสาคัญในการสร้างคนเก่ง คนดี มีวินัย ของประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นจะให้เด็กเรียนรู้ทักษะชีวิต ผ่านกติกาทางสังคม

การพัฒนาคนเก่งของญี่ปุ่นโดยผ่านการศึกษานั้น มีลักษณะเป็น “การพัฒนารายบุคคล” ภายใต้ “สังคมที่มีความเป็นหมู่คณะ” ดังนั้น นอกจากจะส่งเสริมให้แต่ละคนเก่งแล้ว ยังต้องมีการปลูกฝังความสามัคคี และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมควบคู่กันไปด้วย โดยการปลูกฝังเป้าหมายร่วม (collective goals) ทำให้เด็กรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม และตระหนักว่า ชัยชนะส่วนตัว ไม่ได้ยิ่งใหญ่เท่าชัยชนะของทีม ซึ่งตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ กีฬาสีของเด็กญี่ปุ่น ที่จะไม่เน้นให้เด็กมีพรสวรรค์ด้านกีฬาคว้าชัยชนะมาให้ได้มากที่สุด แต่กำหนดว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วมกิจกรรมและการแข่งขัน เพื่อให้เด็กตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของตน ที่จะส่งผลต่อความสาเร็จของทีม

ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นนั้นเชื่อว่า การจะทำให้เด็กโตไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ ต้องให้สังคม มีบทบาทร่วมในการอบรมสั่งสอนเด็ก ดังนั้นหลักสูตรการเรียนการสอนบางโรงเรียน จึงดึงตัวแทนชุมชน มาร่วมถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้กับเด็กๆ ด้วย เช่น เกษตรกรในชุมชน มาช่วยสอนการปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ หรือมาถ่ายทอดประสบการณ์การใช้ชีวิตด้านอื่นๆ เพื่อให้เด็กมีทั้งความสามารถด้านวิชาการ และมีภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิต

จากตัวอย่างของการพัฒนาคนด้วยการศึกษาในหลายๆ มิติของญี่ปุ่น ทำให้เห็นได้ชัดว่า การจะสร้างคนคุณภาพ ต้องไม่มุ่งเน้นให้เก่งความรู้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องสร้างให้เป็นทั้งคนเก่งและเป็นคนดีมีวินัยควบคู่กันไปด้วย โดยมีกลไกการพัฒนาคนในด้านต่างๆ สามารถสอดแทรกอยู่ในระบบการศึกษา ที่ผ่านการวางแผนมาอย่างเป็นระบบ ด้วยการช่วยให้เด็กเจอสิ่งที่ตนเองรักแต่เนิ่นๆ ฝึกฝนพวกเขาตั้งแต่เด็ก แล้วพัฒนาไปให้มากที่สุด ขณะเดียวกัน ก็ปลูกฝังคุณธรรมและทักษะในการดาเนินชีวิต ด้วยวิธีการสอนในโรงเรียน บวกกับการหล่อหลอมด้วยวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งทุกองค์ประกอบที่รวมกัน ทาให้คนญี่ปุ่นได้รับการยอมรับว่า เก่ง ดี และมีวินัยมากที่สุดในโลก