posttoday

จาการ์ตาไม่ใช่เมืองเดียวที่กำลังจม

28 สิงหาคม 2562

อินโดฯประกาศย้ายเมืองหลวง ด้วยเหตุผลประชากรล้น - เมืองจมทะเล แต่จาการ์ตาไม่ใช่แค่เมืองเดียวบนโลกที่กำลังทรุดตัว

อินโดฯประกาศย้ายเมืองหลวง ด้วยเหตุผลประชากรล้น - เมืองจมทะเล แต่จาการ์ตาไม่ใช่แค่เมืองเดียวบนโลกที่กำลังทรุดตัว

จาการที่ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ผู้นำอินโดนีเซีย ได้แถลงต่อประชาชนชาวอิโดนีเซีย ถึงพิกัดการจัดตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศ แทนที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งกำลังประสบปัญหาหลายด้านทั้งการจราจร มลพิษ รวมถึงปัญหาหลักทางธรณีวิทยาจากการที่พบว่ากรุงจาการ์ตามีเปอร์เซ็นการทรุดตัวของแผ่นดินเร็วแห่งหนึ่งของโลก

ปัญหาเมืองทรุดตัวนั้นก็เกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลกเช่นกัน แตกต่างกันไปในหลายปัจจัย อาทิ

  • นครฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส เป็นเมืองที่มีสถิติการทรุดตัวเร็วๆที่สุดแห่งหนึ่งของสหรับ ประมาณการว่าเขตแฮร์ริส เคาท์ตี้ ซึ่งเป็นเขตหนึ่งของนครฮิวส์ตันนั้นทรุดตัวลงราว 10 -12 ฟุตแล้ว นับตั้งแต่ปี 1920 และยังคงทรุดตัวอย่างรวดเร็วราว 2 นิ้วต่อปี

ฮิวส์ตันมีสาเหตุการทรุดตัวเช่นเดียวกับจาการ์ต้าคือ การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป

  • นครลากอส ประเทศไนจีเรีย จัดว่าเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของทวีปแอฟริกา รองจากกรุงไคโรของอียิปต์ เลกอสเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรหนาแน่นมาก มีจำนวนประชากรถึง 15.5 ล้านคน เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ การบิน การพาณิชย์ อุตสาหกรรมน้ำมันในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ตั้งอยู่ริมชายฝั่งอ่าวกินี

ด้วยความที่เป็นเมืองตั้งอยู่ริมชายฝั่ง ส่งผลให้ลากอสเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมเมือง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก

ผลการศึกษาในปี 2012 เผยว่า ชายฝั่งประเทศไนจีเรียมีระดับต่ำอยู่แล้ว และหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเพียง 1-3 เมตร ก็จะส่งผลให้น้ำหลากเข้าท่วมในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมือง

  • เมืองนิวออร์ลีน รัฐหลุยเซียนา นับเป็นอีกเมืองหนึ่งในสหรัฐที่พบปัญหาแผ่นดินทรุดตัว นับตั้งแต่ช่วงปี 1930 พื้นที่ 1 ใน 3 ของเมืองนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล

อย่างไรก็ดี นิวออร์ลีน เคยประสบเหตุน้ำทะเลหนุนสูงจนเข้าท่วมเมืองครั้งใหญ่มาแล้วจากเหตุเฮอร์ริเคนแคทรินาพัดถล่มในปี 2005

เมืองหลุยเซียนาถูกสร้างอยู่บนชั้นดินอ่อน จึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการทรุดตัว ประเมินว่าในแต่ละปีเมืองแห่งนี้ทรุดตัวลงราว 1 เซนติเมตร

  • กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จากผลการศึกษาในปี 2016 พบว่า กรุงปักกิ่งเป็นเมืองที่กำลังทรุดตัวถึง 4 นิ้วในบางพื้นที่ในทุกปี

เหตุที่บางพื้นที่ของกรุงปักกิ่งทรุดตัวนั้น สืบเนื่องจากการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับจาการ์ตาและนครฮิวส์ตัน

ทั้งนี้ กรุงปักกิ่งไม่ใช่เมืองที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล แต่ด้วยการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เป็นแหล่งน้ำหลักของเมืองต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี จึงเป็นเหตุของการทรุดตัวดังกล่าว

  • กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สำหรับเมืองหลวงและศูนย์กลางของสหรัฐแห่งนี้ก็กำลังประสบปัญหาทรุดตัวเช่นกัน แต่วอชิงตันดี.ซี. นั้นแตกต่างจากจาการ์ตาหรือเมืองอื่นๆในโลก เนื่องจากผลการวิจัยในปี 2015 พบว่า วอชิงตัน ดี.ซี. กำลังจมลงถึง 6 นิ้วภายในเวลา 100 ปีข้างหน้า

สืบเนื่องจากเมืองแห่งนี้สร้างอยู่บนแผ่นดินที่กำเนิดจากยุคน้ำแข็ง ได้ทำให้แผ่นดินบริเวณใต้อ่าวเชสซาพีค ยุบตัวลง นักวิทยาศาสตร์คาดว่ากระบวนการนี้อาจต้องใช้เวลานานอีกนับพันปี แต่ปัจจัยการเพิ่มสูงขึ้นของน้ำทะเลจะยิ่งทำให้ดี.ซี.เสี่ยงเจอน้ำท่วมมากขึ้น