posttoday

อิตาลีขู่อียูใช้ระบบสองสกุลเงิน

15 มิถุนายน 2562

อิตาลีขู่เทอียู ใช้ระบบสองสกุลเงินภายในประเทศ หวังผ่าทางตันหนี้สาธารณะ

อิตาลีขู่เทอียู ใช้ระบบสองสกุลเงินภายในประเทศ หวังผ่าทางตันหนี้สาธารณะ

ความตึงเครียดระหว่างกลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มตึงเครียดมากขึ้น เมื่อรัฐบาลอิตาลีไม่สามารถบรรลุข้อตกลงด้านงบประมาณต่อคณะกรรมาธิการยุโรปได้ โดยที่ผ่านมารัฐบาลอิตาลีต้องการให้อียูอนุมัติการเพิ่มเพดาลงบประมาณขาดดุลอีกร้อยละ 2.04% เพื่อนำไปใช้จ่ายในโครงการสาธารณะต่างๆของรัฐบาล

แต่ทว่าเศรษฐกิจของอิตาลียังคงติดหล่มที่สุดในบรรดาชาติอียู เนื่องจากในไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมาอิตาลีจีดีพีโตเพียงร้อยละ 0.2 ขณะที่ประเมินว่าทั้งปีดีสุดโตไม่เกิน0.5-0.7

 

อิตาลีขู่อียูใช้ระบบสองสกุลเงิน มัตเตโอ ซัลวินี

ปัจจุบันอิตาลีซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับสามของสหภาพยุโรปมีอัตราหนี้สาธาณะต่อจีดีพีสูงถึง 132% ในปี 2018 ที่ผ่านมา เป็นรองเพียงแค่กรีซเท่านั้น

การที่อิตาลีขอเพิ่มงบประมาณขาดดุลนั้นหมายความว่าอิตาลีเสี่ยงจะผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงอัตราหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งภายใต้กรอบการใช้สกุลเงินยูโรของยุโรปนั้นกำหนดให้รัฐบาลของชาติสมาชิกมีวินัยการคลังที่รัดกุม

อิตาลีขู่อียูใช้ระบบสองสกุลเงิน

 

เรื่องดังกล่าวไม่เพียงแค่อิตาลีเสี่ยงจะมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นแล้ว อิตาลีอาจถูกทางอียูปรับเป็นเงินสูงถึง 3.5 พันล้านยูโร จากความหย่อนยานในวินัยการคลังที่ปล่อยให้มีหนี้สาธารณะในระดับสูงกว่าเกณฑ์ของอียูที่ให้ไม่เกินร้อยละ 60% ของจีดีพี

เรื่องดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลพรรคขวาจัดของอิตาลี ซึ่งมีนายมัตเตโอ ซัลวินี รัฐมนตรีมหาดไทยขู่ว่าอิตาลีคงไม่มีทางเลือกอื่นในการหางบประมาณเพื่อใช้จ่ายด้านต่างๆของรัฐ นอกเสียจากการใช้ระบบสองสกุลเงิน (MiniBot Parallel Currency)

 

อิตาลีขู่อียูใช้ระบบสองสกุลเงิน จูเซปเป้ คอนติ

แนวคิดดังกล่าวมีการพูดถึงเป็นระยะตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมาแล้ว โดยจะเป็นออกธนบัตรเพื่อใช้จ่ายภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งผู้สนับสนุนบางกลุ่มในรัฐบาลอิตาลีเชื่อว่าจะสามารถทำให้อิตาลีมีกระแสเงินสดในมือที่จับต้องได้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงให้ชาวอิตาลีใช้จ่ายในประเทศและมีเงินจ่ายภาษี

ขณะที่นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์หลายส่วนมองว่า สกุลเงิน"ลีร่าใหม่"นี้หากนำมาใช้จริง จะยิ่งเพิ่มหนี้สาธารณะของอิตาลีให้ยิ่งทะลุเพดานไปอีก นั้นยังไม่รวมถึงจะเป็นการหักล้างกับเงินสกุลยูโรที่จะยิ่งเพิ่มรอยร้าวให้กับบรรดาชาติสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ดี เรื่องดังกล่าวนั้นทางด้านจูเซปเป้ คอนติ นายกรัฐมนตรีอิตาลีระบุว่า อิตาลียังคงเดินหน้าเจรจาประนีประนอมกับทางอียูต่อไป