posttoday

หลุมขยะนิวเคลียร์สหรัฐเสี่ยงรั่วไหลลงแปซิฟิก

21 พฤษภาคม 2562

เลขายูเอ็นเตือน หลุมขยะนิวเคลียร์สหรัฐในแปซิฟิก อาจปล่อยกัมมันตรังสีลงทะเล

เลขายูเอ็นเตือน หลุมขยะนิวเคลียร์สหรัฐในแปซิฟิก อาจปล่อยกัมมันตรังสีลงทะเล

เอเอฟพีรายงานว่า นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นได้เปิดเผยความกังวลขณะเดินทางเยือนประเทศฟิจิว่า หลุมทิ้งกากนิวเคลียร์ในสมัยยุคสงครามเย็นบนเกาะ Runit Island ซึ่งเป็นเกาะส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลนั้นอาจเกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

 

หลุมขยะนิวเคลียร์สหรัฐเสี่ยงรั่วไหลลงแปซิฟิก

 

เลขาฯยูเอ็นกล่าวว่า หลุมทิ้งกากนิวเคลียร์ความลึก115 เมตรที่ถูกครอบทับด้วยคอนกรีตรูปโดมความหนา 18 นิ้วแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1970 เพื่อใช้เก็บกากกัมมันตรังสีจากการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ทั้งหมด 67 ครั้งของทางสหรัฐและฝรั่งเศสในพื้นที่แปซิฟิกช่วงปี 1946 ถึงปี 1958 รวมถึงกากกัมมันตรังสีที่ได้จากการทดสอบระเบิดไฮโดรเจน "Castle Bravo" เมื่อเดือนมีนาคม 1954 ซึ่งนับเป็นการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ลูกใหญ่ที่สุดเท่าที่สหรัฐเคยทดสอบมาก ซึ่งรุนแรงกว่าระเบิดที่ฮิโรชิมาถึง 1,000 เท่า

 

หลุมขยะนิวเคลียร์สหรัฐเสี่ยงรั่วไหลลงแปซิฟิก

นายกูเตอร์เรสยังบอกว่า เขาได้พูดคุยกับประธานาธิบดี Hilda Heine ผู้นำสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลที่กังวลถึงการรั่วไหลของกัมมันตรังสีดังกล่าวด้วยเช่นกัน

"ที่ผ่านมาประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกได้กลายเป็นสนามเด็กเล่นให้สหรัฐทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ช่วงสงครามเย็น ซึ่งกากของกัมมันตรังสีก็ยังถูกทิ้งลงในหมู่เกาะแห่งนี้ และมันมีความเสี่ยงที่อาจจะรั่วไหลออกมาในสักวันหนึ่ง"

 

หลุมขยะนิวเคลียร์สหรัฐเสี่ยงรั่วไหลลงแปซิฟิก

รายงานยังระบุว่าปัจจุบันพบรอยแตกร้าวบางส่วนของคอนกรีต ซึ่งเป็นไปตามอายุหลังการก่อสร้าง ประกอบกับถูกทิ้งไว้ท่ามแสงแดดและการกัดกร่อนของลมทะเล รวมถึงพายุหมุนเขตร้อนที่พัดผ่านในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ก็อาจส่งผลให้คอนกรีตแตกหรือเสื่อมอายุไปตามกาลเวลา ซึ่งมันยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กัมมันตรังสีอาจรั่วไหลลงทะเลตามที่ผู้นำยูเอ็นเป็นกังวล

 

หลุมขยะนิวเคลียร์สหรัฐเสี่ยงรั่วไหลลงแปซิฟิก www.nexpected.com

 

นายกูเตอร์เรสยังเสริมอีกว่า ขณะเดียวกันตัวคอนกรีตก็ปนเปื้อนกัมมันตรังสีและก่อให้เกิดมลพิษต่อท้องทะเลเช่นกันหากในอนาคตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้น้ำทะเลสูงขึ้นจนท่วมโดมคอนกรีตดังกล่าว