posttoday

สเปซเอ็กซ์เตรียมทดสอบต้นแบบจรวด "สตาร์ชิป" คาดให้บริการได้ภายใน 2030

22 มีนาคม 2562

หากสำเร็จจรวดสตาร์ชิปจะสามารถบินจาก "ลอนดอน-ฮ่องกง" ใน 34 นาที และจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางในอนาคตไปตลอดกาล

หากสำเร็จจรวดสตาร์ชิปจะสามารถบินจาก "ลอนดอน-ฮ่องกง" ใน 34 นาที และจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางในอนาคตไปตลอดกาล

บริษัทสเปซเอ็กซ์ เอกชนทางด้านธุรกิจการขนส่งทางอวกาศ ของมหาเศรษฐีอีลอน มัสก์ เปิดเผยว่ามีกำหนดการเตรียมทดสอบจรวดต้นแบบ "สตาร์ชิป" ภายในสัปดาห์นี้ ที่ฐานยิงของสเปซเอ็กซ์ใน Boca Chica Beach คาร์เมรอนเคาท์ตี้ ของรัฐเท็กซัส โดยการทดสอบในครั้งนี้ระบุว่าจะเป็นการทดสอบ Hop Test หรือการทดสอบจุดเครื่องยนต์ในระยะหนึ่งที่ใกล้เคียงกับการปล่อยจรวด แต่ยังไม่ถึงขั้นปล่อยให้จรวดพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า

การทดสอบครั้งนี้นับเป็นการทดสอบครั้งแรกของยานต้นแบบ"สตาร์ชิป"หลังจากที่อีลอน มัสก์ เปิดตัวภาพของยานครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

 

สเปซเอ็กซ์เตรียมทดสอบต้นแบบจรวด "สตาร์ชิป" คาดให้บริการได้ภายใน 2030

ซึ่งหากการทดสอบดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ นับว่าจะเป็นอีกก้าวสำคัญของสเปซเอ็กซ์ในโครงการยานสตาร์ชิปที่นายมัสก์ หมายมั่นปั้นมือให้เป็นยานอวกาศลำแรกของสเปซเอ็กซ์ในภารกิจพามนุษย์ไปทัวร์ดวงจันทร์ โดยผู้ที่จะเป็นคนเดินทางไปกับยานลำนี้เป็นคนแรกคือ นายยูซาคุ มาเอซาวา มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น ภายในปี 2023 รวมถึงสามารถนำมนุษย์เดินทางไปยังดาวอังคารได้ตามแผนของนายมัสก์

อย่างไรก็ดี ยานสตาร์ชิปจะไม่เป็นเพียงแค่ยานอวกาศเท่านั้น มันยังถูกออกแบบให้สามารถให้สามารถใช้เดินทางข้ามทวีปแทนการเดินทางแบบเที่ยวบินระหว่างประเทศด้วยความเร็วระดับ
ถึง 18,000 ไมล์ต่อชั่วโมง พร้อมสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงถึง 100 คน

ซึ่งจะส่งผลให้เป็นตัวพลิกเกมส์การเดินทางในอนาคต ด้วยการเดินทางข้ามทวีปจากเมืองต่างๆทั่วโลกเช่น ลอนดอน ไป นิวยอร์ก ในเวลา 29 นาที ลอนดอน ไป ฮ่องกง เพียง 34 นาที หรือลอนดอน ไป ซิดนีย์ ซึ่งจากเดิมต้องต่อเครื่องบินอย่างน้อย 1 ครั้ง และใช้เวลาเดินทางนานกว่า 24 ชั่วโมงนั้น จะใช้เวลาเพียงแต่ 51 นาที เท่านั้น

 

สเปซเอ็กซ์เตรียมทดสอบต้นแบบจรวด "สตาร์ชิป" คาดให้บริการได้ภายใน 2030

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนของธนาคารUBSระบุว่าโครงการอวกาศนี้ซึ่งตามกำหนดคาดว่าจะสามารถให้บริการเดินทางข้ามประเทศในปี 2030 จะส่งผลให้มูลค่าด้านอุตสาหกรรมอวกาศมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 8 แสน 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (805 Billion USD) ภายในปี 2030 จากปัจจุบันที่ตลาดการบินอวกาศมีมูลค่าราว 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ