posttoday

บอตสวานาเสนอนำช้างป่ามาเป็นอาหารสัตว์

23 กุมภาพันธ์ 2562

เนื้อช้างบรรจุกระป๋อง ทางออกของปัญหาช้างล้นป่าในบอตสวานา

เนื้อช้างบรรจุกระป๋อง ทางออกของปัญหาช้างล้นป่าในบอตสวานา

บีบีซีรายงานว่า ทางการบอตสวานาเตรียมยกเลิกกฎห้ามล่าช้าป่าที่บังคับใช้มานาน 4 ปี หลังจากได้ปรึกษากับภาคประชาสังคมมานานหลายเดือน เกี่ยวกับแนวคิดของรัฐบาลที่เตรียมอนุญาตให้มีการล่าช้างป่าซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติมากถึง 130,000 ตัว เพื่อนำมาแปรรูปเป็นเนื้อช้างบรรจุกกระป๋องสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์

รายงานระบุว่า จำนวนช้างในประเทศบอตสวานานั้นเพิ่มจำนวนมากถึงถึงหลักแสนตัว หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรกาห้ามล่าช้างเมื่อปี 2014 จึงส่งผลให้มีช้างตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเริ่มส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแล้ว โดยเฉพาะระหว่างช้างกับมนุษย์ ที่พบว่าบรรดาช้างป่าเหล่านี้ได้เข้าไปทำลายพืชผลของเกษตรกรจนได้รับความเสียหาย

แนวคิดการยุติกฎห้ามล่าช้างครั้งนี้มีขึ้นจากนาย Mokgweetsi Masisi ผู้นำคนใหม่บอตสวานาซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี2018ที่ผ่านมา ได้ขอให้คณะรัฐมนตรีทบทวนการห้ามล่าสัตว์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้ประกาศใช้

รัฐบาลบอตสวานาได้เปิดรับฟังเสียงของประชาชนหลายครั้ง รวมถึงองค์กรต่างๆจำนวนมาก โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวที่ระบุว่า การแก้กฎหมายฉบับนี้อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของประเทศ โดยสรุปข้อเสนอได้ดังนี้

ยกเลิกการห้ามล่าช้าง

บริหารจัดการประชากรช้างให้อยู่ในพื้นที่เดิม

กำหนดเขตล่าเพื่อทำหน้าที่เป็นกันชนต่อชุมชนและป่า

หามาตรการลดจำนวนประชากรช้างอย่างเป็นประจำ

เส้นทางอพยพของสัตว์ป่าที่ "ไม่เป็นประโยชน์ต่อความพยายามในการอนุรักษ์ของประเทศ" ควรถูกปิด

ทั้งนี้ มาตรการห้ามล่าช้างของบอตสวานานี้ นับว่าเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในแอฟริกาที่ออกกฎในลักษณะดังกล่าว ต่างจากประเทศอื่นๆที่อนุญาตให้สามารถล่าช้างเพื่อเกมส์กีฬาได้

อย่างไรก็ดี มาตรการยกเลิกห้ามล่าช้างดังกล่าวได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมากจากบรรดาองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า การที่ช้างเพิ่มปริมาณมากขึ้นนั้นมีหลายปัจจัย ส่วนหนึ่งมาจากการที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ช้างจึงออกจากถิ่นอาศัยเดิมของพวกมัน

รวมถึงจากข้อมูลของการสำรวจประชากรช้างทั้งทวีปแอฟริกาเมื่อปี 2016 พบว่า ตัวเลขประชากรของช้างระหว่างปี 2007-2014 มีจำนวนลดลดงราว 30% หรือประมาณ 144,000 ตัว