posttoday

สำรวจวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างแดน

06 กุมภาพันธ์ 2562

ส่องโมเดลป้ายหาเสียงเลือกตั้งหลายรูปแบบของต่างประเทศ

ส่องโมเดลป้ายหาเสียงเลือกตั้งหลายรูปแบบของต่างประเทศ

วันที่ 24 มีนาคม 62 ที่จะถึงนี้นับว่าเป็นวันสำคัญอีกครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้น ปี่กลองการเมืองของบรรดาพรรคการเมืองที่ต่างลงพื้นที่หาเสียง คนอย่างเต็มที สิ่งที่เราจะเห็นได้ในช่วงการหาเสียงคือ การติดป้ายของผู้สมัครลงเลือกตั้งในแต่ละท้องถิ่น ตามริมถนน ตามเสาไฟฟ้า และตามฟุตบาธต่างๆ ซึ่งในบางจุดอาจเป็นการรบกวนคนเดินทางเท้า และกีดขวางทางเดินของคนใช้ทางเท้าด้วย

โพสต์ทูเดย์ออนไลน์จึงขอนำเสนอวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างประเทศที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกตั้งในประเทศของเราให้ชมกัน

 

สำรวจวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างแดน ภาพ : fukuishimbun

ป้ายหาเสียงร่วม (Election Poster Board)

ที่ประเทศญี่ปุ่นมีการใช้ป้ายหาเสียงในลักษณะบอร์ดติดโปสเตอร์ผู้สมัครที่ติดร่วมกับผู้สมัครของพรรคอื่นๆ  ซึ่งนอกจากจะเป็นระเบียบ และไม่กีดขวางทางเท้าแล้ว ยังทำให้ประชาชนสามารถดูรายชื่อ หน้าตา และนโยบายของผู้สมัครแต่ละคนได้จากที่เดียวกัน

ป้ายรณรงค์ลักษณะนี้ยังถูกใช้เช่นเดียวกับที่เกาะนิวแคลิโดเนีย คราวที่รณรงค์ลงประชามติว่าจะแยกตัวออกจากอาณานิคมของฝรั่งเศสหรือไม่ช่วงวันที่ 4 พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา

 

สำรวจวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างแดน ป้ายรณรงค์ลงประชามตินิวคาลิโดเนีย ภาพ : AFP

 

ป้ายหาเสียงรีไซเคิล

สำหรับประเทศประชาธิปไตยที่เข้มแข็งอย่างแคนาดานั้น ป้ายหาเสียงนับว่าเป็นหนึ่งในขยะที่ต้องสามารถรีไซเคิลได้ โดยทางสภาเมือง Edmonton ของรัฐแอลเบอร์ตา ได้ออกกฎว่าป้ายหาเสียงพรรคการเมืองต้องใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เช่น เฟรมของป้ายทำจากโลหะที่รีไซเคิลได้ พลาสติกประเภท 5 (ประเภทโพลิโพรพิลีน) พลาสติกลูกฟูก (coroplast) กระดาษแข็ง หรือไม้ ที่หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้วทางหน่วยงานท้องถิ่นของเมืองสามารถนำป้ายเหล่านี้ไปแยกชิ้นส่วนเพื่อรีไซเคิลได้

ซึ่งไม่เพียงแค่ในเมืองเอ็ดมันตันเท่านั้น ในหลายเมืองใหญ่ทั่วแคนาดาและสหรัฐต่างก็เริ่มใช้นโยบายป้ายหาเสียงรีไซเคิลแล้วเช่นกัน

 

สำรวจวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างแดน ป้ายหาเสียงถูกทิ้งในเมือง Langley บริติชโคลัมเบีย แคนาดา ภาพ : Black Press

ป้ายหาเสียงสนามหญ้า (yard signs, Lawn signs)

ป้ายหาเสียงชนิดนี้มักพบได้ตามวัฒนธรรมการหาเสียงเลือกตั้งในแถบสหรัฐอเมริกา แคนาดา รวมถึงบางประเทศในยุโรปด้วย ป้ายลักษณะนี้นิยมปักอยู่ตามริมถนนสายต่างๆ โดยมีข้อกำหนดหลักคือต้องหาจากขอบถนนราว 5 ฟุต

สำรวจวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างแดน

ส่วนข้อกำหนดอื่นๆของการติดป้ายเช่นห้ามติดตามสี่แยก จุดมุมอับสายตาที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่รถยนต์ หรือรบกวนต่อโครงสร้างพื้นฐานในสาธารณะนั้น เป็นไปตามข้อกำหนดของในแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่แล้วป้ายเหล่านี้จะมาในขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าราว12 และ 40 นิ้วในแต่ละด้าน โครงป้ายจะทำจากไม้ หรือเหล็กเส้นเล็กๆเพื่อง่ายต่อการติดตั้ง และรื้อถอน

 

สำรวจวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างแดน ป้ายหาเสียงในสวีเดน ภาพ : jomm.se

 

สำรวจวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างแดน ภาพ : AFP

 

สำรวจวัฒนธรรมป้ายหาเสียงในต่างแดน ภาพ : AFP