posttoday

โลกร้อนทำพิษ น้ำแข็งบนเขาหิมาลัย 1 ใน 3 จ่อละลาย

05 กุมภาพันธ์ 2562

นักวิทย์เตือน ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น กระทบน้ำแข็งเทือกเขาหิมาลัย กว่า 1 ใน 3 ละลายภายใน 80 ปี

นักวิทย์เตือน ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น กระทบน้ำแข็งเทือกเขาหิมาลัย กว่า 1 ใน 3 ละลายภายใน 80 ปี

นักวิทยาศาสตร์จาก The International Centre for Integrated Mountain Development (ICIMOD) เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ภาวะโลกร้อนที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ จะส่งผลให้ในอนาคตไม่เกินศตวรรษนี้ น้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยและฮินดูกุช ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ละลายหายไป

รายงานระบุว่าปริมาณน้ำแข็งในธารน้ำแข็งที่ปกคลุมบนเทือกเขาหิมาลัยและฮินดูกุช ซึ่งล้วนเป็นที่ต้องของยอดเขาที่สุดที่สุดในโลกอย่างเขาเอเวอร์เรส และเคทู นั้นที่ผ่านมามีปริมาณมากจนกล่าวได้มาเสมือนเป็นขั้วโลกแห่งที่สาม แต่ทว่าภาวะโลกร้อนที่โลกกำลังเผชิญในขณะนี้ทำให้ธารน้ำแข็งซึ่งปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณกินพื้นที่คลอบคลุมถึง 8 ประเทสานั้น จะค่อยๆลดลงระหว่าง 45-90% ตลอดช่วงศตวรรษที่ 21 หรือปีค.ศ.2100

การละลายของน้ำแข็งจะส่งผลกระทบต่อประชากรราว 250 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเทือกเขาฮินดูกูช และหิมาลัย ขณะที่จะส่งกระทบกับประชากรอีกราว 1,600 ล้านคนที่พึ่งพาแม่น้ำสายสำคัญต่างๆที่ไหลผ่านอินเดีย ปากีสถาน จีน และอีกหลายประเทศ และจะส่งผลกระทบต่อปริมาณอาหารที่เกษตรกรจะผลิตได้ในส่วนนี้ ซึ่งใช้เลี่ยงประชากรกว่า 70% ของทวีปเอเชีย

นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ภายในปี 2100 น้ำแข็งกว่า 1 ใน 3 จะหายไปหานานาชาติไม่ให้ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (paris agreement) อย่างจริงจัง

แต่หากนานาชาติไม่สามารถดำเนินการตามข้อตกลงปารีส ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จะยิ่งส่งผลให้เทือกเขาฮินดูกูชและเทือกเขาหิมาลัยราว 2 ใน 3 จะหายไปในปี 2100 หากปล่อยก๊าซคาร์บอนไม่ลดลง