posttoday

จีนอนุญาตขาย "แซลมอนเก๊"

16 สิงหาคม 2561

ทางการจีนอนุญาตให้ร้านค้าขาย "ปลาเทราต์" โดยย้อมแมวลูกค้าว่าเป็น "ปลาแซลมอน" ได้

ทางการจีนอนุญาตให้ร้านค้าขาย "ปลาเทราต์" โดยย้อมแมวลูกค้าว่าเป็น "ปลาแซลมอน" ได้

เอเอฟพีรายงานว่า ทางการจีนอนุญาตให้บรรดาร้านค้าและร้านอาหารสามารถใช้ปลาเรนโบว์เทราต์ (Oncorhynchus mykiss) ขายแทนปลาแซลมอน โดยสามารถระบุกับลูกค้าว่าปลาเรนโบว์เทราต์ชนิดนี้เป็นปลาแซลมอนได้ แม้ว่าปลาทั้งสองสายพันธุ์นี้แม้จะมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกัน แต่เนื้อของมันกลับมีลักษณะคล้ายกันก็ตามที

คำอนุญาตดังกล่าวนี้มีขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นของจีน นำเสนอรายงานข่าวว่าบรรดาเนื้อปลาแซลมอลส่วนใหญ่ที่ขายกันอยู่ตามร้านค้าร้านอาหารต่างๆนั้นแท้จริงแล้วเป็นเนื้อจากปลาเรนโบว์เทราต์ ส่งผลให้บรรดาเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในประเทศต้องเผชิญกับวิกฤติความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จนกระทั้งทางการจีนต้องออกมาประกาศอนุญาตเรื่องดังกล่าว

 

จีนอนุญาตขาย "แซลมอนเก๊" ลักษณะปลาแซลมอน

 

 

หลังจากที่มีรายงานข่าวนั้นส่งผลให้ทางกระทรวงเกษตรของจีน อนุญาตให้บรรดาผู้ผลิตอาหารทะเลหลายแห่ง สามารถนำเนื้อปลาเทราต์ออกวางขายโดยติดฉลากว่าเป็นปลาแซลมอนได้ ตามที่บรรดาหลายร้านค้าหลายแห่งทำก่อนหน้านี้

ด้านสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าสินค้าสัตว์น้ำของจีน China Aquatic Products Processing and Marketing Alliance (CAPPMA) ออกมาขานรับว่าก่อนหน้านี้ที่บรรดาร้านค้าหลายร้านติดป้ายระบุว่าเป็นปลาแซลมอล ทั้งที่เป็นปลาคนละชนิดนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ผิดและสามารถทำได้ เนื่องจากปลาทั้งสองชนิดนี้อยู่ในวงศ์ salmonidae ซึ่งจัดว่าอยู่ใน Family เดียวกัน

 

จีนอนุญาตขาย "แซลมอนเก๊" ลักษณะปลาเรนโบว์เทราต์

 

ศาสตราจารย์ด้านสัตว์น้ำระบุว่า ปลาทั้งสองชนิดนั้นมันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง "คุณไม่สามารถเรียกปลาเรนโบว์เทราต์ ว่าเป็นปลาแซลมอนได้ แม้ว่าปลาทั้งสองชนิดนี้จะอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มันไม่ใช่สปีชีส์เดียวกัน" ศ.Sigurd Stefansson จากมหาวิทยาลัยเบอร์เกน ประเทศนอร์เวย์ กล่าว

 

จีนอนุญาตขาย "แซลมอนเก๊" ภาพ : EPA

 

อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวที่ระบุว่า บรรดาปลาเรนโบว์เทราต์ที่ย้อมแมวว่าเป็นปลาแซลมอลนั้น ถูกเลี้ยงกันอย่างมากในฟาร์มแถบมณฑลชิงไห่ ซึ่งเต็มไปด้วยพยาธิ และสารพิษ เนื่องจากปลาพวกนี้ถูกย้อมสีให้คล้ายแซลมอน แถมไม่มีการเลี้ยงอย่างถูกสุขลักษณะ

ทั้งนี้ สำหรับความปลอดภัยทางอาหารในประเทศจีนนั้นสร้างข้อถกเถียงอย่างมาก โดยเฉพาะในปี 2008 จากกรณีนมผงเด็กปนเปื้อนสารเมลามีน ที่ส่งผลให้ทารกจำนวนหลายหมื่นรายต้องเข้าโรงพยาบาล

 

ภาพ : AP