posttoday

รู้จักขั้นตอนและประเภทของ "การลี้ภัย" ในเยอรมนี

07 มิถุนายน 2561

เผยขั้นตอนการพิจารณาผู้ลี้ภัยในประเทศเยอรมนี

เผยขั้นตอนการพิจารณาผู้ลี้ภัยในประเทศเยอรมนี

จากกรณีของกระแสข่าวที่อดีตพระพรหมเมธี หรือ เจ้าคุณจำนงค์ ซึ่งอยู่ระหว่างหลบหนีคดีเงินทอนวัด มายังประเทศเยอรมนี พร้อมทั้งมีรายงานข่าวว่าอดีตพระพรหมเมธี ได้เตรียมขอยื่นเป็นผู้ลี้ภัยในเยอรมนีด้วย

สำหรับประเทศไทยนั้น เราอาจจะไม่คุ้นชินกับคำว่า "ผู้ลี้ภัย" สักเท่าไรนัก เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่จุดหมายปลายทางของผู้ลี้ภัยจากต่างชาติ แต่สำหรับประเทศในสหภาพยุโรปหลายประเทศ โดยเฉพาะในเยอรมนี เรามักจะได้ยินถึงข่าวการเปิดรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลางของประเทศเยอรมนีอยู่บ่อยครั้ง เพราะเหตุใดเยอรมนีจึงเป็นจุดหมายปลายทางของกลุ่มผู้ลี้ภัยเหล่านี้

 

รู้จักขั้นตอนและประเภทของ "การลี้ภัย" ในเยอรมนี

 

ตามข้อกำหนดของ BAMF หรือ  Federal Office for Migration and Refugees ของประเทศเยอรมนีกำหนดข้อแตกต่างระหว่าง "ผู้ลี้ภัย" "ผู้ขอลี้ภัย" "บุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง" และ "ผู้มีสิทธิได้รับความคุมครอง" ไว้อย่างน่าสนใจ

โดยสำหรับ "ผู้ลี้ภัย" หรือ Asylum seekers ตามกำหนดของ BAMF หมายถึง บุคคลที่ตั้งใจจะยื่นคำร้องขอลี้ภัย แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียนจาก BMAF ในฐานะผู้สมัครขอลี้ภัย

ขณะที่ "ผู้ยื่นขอลี้ภัย" Asylum applicants หมายถึงเป็นบุคคลอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ BAMF แต่ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆในการให้สถานะลี้ภัย

 

รู้จักขั้นตอนและประเภทของ "การลี้ภัย" ในเยอรมนี

 

ส่วนสถานะ "บุคคลที่ได้รับการคุ้มครอง" และ "บุคคลที่มีสิทธิ์ที่จะอยู่" หมายถึง บุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ลี้ภัยหรือได้รับการคุ้มครองทางเลือกโดยรัฐของเยอรมัน

ทั้งนี้ลักษณะการคุ้มครองของแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน เช่นหากคุณต้องการขอลี้ภัยในเยอรมนี เมื่อเดินทางถึงเยอรมนีพร้อมทั้งแจ้งขอลี้ภัยนั้น คุณจะจัดอยู่ในประเภท "ผู้ลี้ภัย" ซึ่งจะได้รับการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานเช่น อาหาร เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัวในชีวิตประจำวัน ยารักษาโรคพื้นฐาน รวมถึงการ์ดโทรศัพท์ทางไกลในกรณีที่ต้องติดต่อกลับประเทศบ้านเกิด
 

 

รู้จักขั้นตอนและประเภทของ "การลี้ภัย" ในเยอรมนี ค่ายผู้ลี้ภัยนอกกรุงเบอร์ลิน

 

โดย "ผู้ลี้ภัย" จะเข้าไปอยู่อาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยที่ทางการจัดไว้ให้ที่เรียกว่า "Aufnahmeeinrichtung" ซึ่งศูนย์เหล่านี้ตั้งกระจายอยู่ในแต่ละรัฐของเยอรมนี ซึ่งจะมีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับแตกต่างกันไปเช่น หากอยู่ในค่ายลี้ภัยของรัฐบาวาเรีย คุณจะได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพไม่เกิน 135 ยูโรต่อเดือน

ขั้นตอนต่อมาคือการ "ยื่นของสถานะผู้ลี้ภัย" Asylum applicants ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นการยื่นเอกสารเพื่อขอความคุ้มครองตามกฎหมายคนเข้าเมืองของเยอรมนี โดยตามข้อกำหนดของ BAMF ได้ให้นิยามของผู้ลี้ภัยตามมติของ UNHCR ว่าด้วยอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัยปี 1951 ความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า “ผู้ลี้ภัย” คือ บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัว การถูกประหัตประหาร หรือถูกคุกคามต่อชีวิต เนื่องจากปัจจัยในข้อใดข้อหนึ่งเช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ กลุ่มความคิดทางการเมือง

 

รู้จักขั้นตอนและประเภทของ "การลี้ภัย" ในเยอรมนี

 

ซึ่งการจะได้สถานะผู้ลี้ภัยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาคำร้องของ BAMF ซึ่งรวมไปถึงการสัมภาษณ์ให้เหตุผลว่าทำไมถึงต้องหลบหนีจากประเทศบ้านเกิด โดยในขั้นตอนนี้คนที่ใช้ภาษาเยอรมันไม่ได้จะมีล่ามช่วยแปล

ใช้เวลานานเท่าใด? หลังจากยื่นคำร้องและให้สัมภาษณ์แล้ว ขั้นตอนการพิจารณาจะใช้เวลาไม่กี่เดือน โดยทางการจะพิจารณาเป็นรายบุคคล แต่หากยื่นขอสถานะทั้งครอบครัวทางการเยอรมนีจะให้สิทธิ์ของผู้เยาว์ก่อนเป็นกรณีพิเศษ

ทั้งนี้ หากผู้ข้อลี้ภัยได้สถานะมีสิทธิลี้ภัยแล้ว จะได้รับอนุญาตพำนักในเยอรมนีได้เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี ซึ่งจากข้อมูลของ BMAF ในปี 2017 ที่ผ่านมานั้นปรากฎว่า มีผู้ยื่นขอลี้ภัยในเยอรมนีจำนวน 444,359 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียง 44% เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยได้อย่างถูกกฎหมายของเยอรมนี