posttoday

ญี่ปุ่นพบ "แร่หายาก" จำนวนมากในมหาสมุทรแปซิฟิก

13 เมษายน 2561

นักวิจัยญี่ปุ่นพบแหล่งแร่หายากใต้มหาสมุทรแฟซิฟิก คาดใช้ในอุตสาหกรรมไฮเทคได้นานหลายร้อยปี

นักวิจัยญี่ปุ่นพบแหล่งแร่หายากใต้มหาสมุทรแฟซิฟิก คาดใช้ในอุตสาหกรรมไฮเทคได้นานหลายร้อยปี

เจแปนไทมส์รายงานว่า ทีมนักวิจัยของญี่ปุ่นได้ทำการสำรวจแหล่งแร่ธาตุหายากที่อยู่ใต้โคลนตมในทะเลลึกของมหาสมุทธแปซิฟิก ซึ่งจากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่ามีแร่ธาตุหายากหลายชนิดที่มีมากพอที่สามารถรองรับความต้องการบนโลกได้ไม่สิ้นสุดไปนานอีกนับร้อยปี

ตามรายงานของวารสารวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาระบุว่าแร่ธาตุดังกล่าวพบอยู่ในน่านน้ำของญี่ปุ่น บริเวณใกล้กับเกาะมินามิโทริ ซึ่งคาดว่าจะมีแร่รวมกันมากกว่า 16 ล้านตัน จมอยู่ใต้โคลนตมในชั้นใต้ดินของก้นมหาสมุทร ซึ่งมีมากเพียงพอสำหรับการสร้างผลิตภันฑ์ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ตั้งแต่โทรศัทพ์ ไปจนถึงยานพาหนะไฟฟ้า ซึ่งไม่เพียงแต่จะเหลือเฟือต่อภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังเพียงพอต่อความต้องการต่ออุตสาหกรรมต่างๆของโลกไปได้อีกนานนับร้อยๆปี

ทีมสำรวจที่ประกอบด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ และมหาวิทยาลัยโตเกียว รวมกับภาครัฐและเอกชน โดยระบุว่าหนึ่งในบรรดาแร่ที่คาดว่าพบนั้นจัดอยู่ในประเภท rare earth oxide หรือ แร่ที่มีธาตุโลหะหายากซึ่งมีจำนวนมากถึง 1.2 ล้านตัน โดยทีมนักวิจัยได้พัฒนาวิธีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพในการแยกค่าองค์ประกอบต่างๆภายใต้พื้นโคลนตมก้นมหาสมุทธแปซิฟิก

 

 

ญี่ปุ่นพบ "แร่หายาก" จำนวนมากในมหาสมุทรแปซิฟิก

 

 

 อย่างไรก็ดีตามรายงานไม่ได้ระบุเจาะจงว่าแร่ธาตุหายากดังกล่าวคืออะไร แต่คาดกันว่าแร่ธาตุหายากหรือ "rare earth oxide" นี้ตามนิยามของสหพันธ์เคมีบริสุทธิ์และประยุกต์สากล หรือ International Union of Pure and Applied Chemistry นั้นระบุว่าธาตุหายากจะประกอบไปด้วยธาตุ 17 ชนิดในตารางธาตุคือ สแกนเดียม (Scandium) อิทเทรียม (Yttrium)

 และธาตุในอนุกรมแลนทาไนด์ (Lanthanide Series) 15 ตัว ได้แก่ แลนทานัม (Lanthanhanum) ซีเรียม (Cerium) พราซีโอดิเมียม (Praseodymium) นีโอไดเมียม (Neodymium) โปรเมเธียม (Promethium) ซามาเรียม (Samarium) ยูโรเปียม (Europium) กาโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เบียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) โฮลเมียม (Holmium) เออร์เบียม (Erbium) ธูเลียม (Thulium) อิทเทอร์เบียม (Ytterbium) และ ลูเทเทียม (Lutetium)

โดยแร่หายากเหล่านี้ส่วนใหญ่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม 5 ประเภทคือ สแกนเดียม (Scandium) ใช้ในอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมัน โปรเมเทียม (Promethium) ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่พลังงานนิวเคลียร์ แลนทานัม (Lanthanum) ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และกล้องถ่ายรูป อิตเทรียม (Yttrium) ใช้ในการผลิตโทรทัศน์และเตาอบไมโครเวฟ และเพรซีโอดีเมียม (Praseodymium) ใช้อุตสาหกรรมผลิตใยแก้วนำแสงและเครื่องยนต์ของเครื่องบิน

ด้านนักหนึ่งในนักวิจัยที่ค้นพบกล่าวว่า "แร่ธาตุหายากเหล่านี้มีศักยภาพในการเป็นแหล่งแร่สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในสังคมยุคใหม่"

รายงานยังระบุว่า ที่ผ่านมาโลกต้องพึ่งพาแร่ธาตุหายากเหล่านี้จากประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผูกขาดตลาดแร่หายากของโลกมานาน เพราะเนื่องจากแร่เหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยนช์ได้มหาศาล แต่กลับมีมูลค่าสูงเพราะหายาก จึงทำให้จีนซึ่งเป็นผู้ผูกขาดตลาดแร่เหล่านี้มานานมีอำนาจในการต่อรองการค้ากับสหรัฐ และญี่ปุ่นได้มาก

โดยขั้นตอนหลังจากนี้ทีมนักวิจัยจะหาวิธีที่จะขุดแร่เหล่านี้ขึ้นมาจากใต้ทะเลรวมถึงคิดค้นวิธีแยกแร่ธาตุออกจากชั้นโคลนตมต่อไป เพื่อเตรียมมาใช้ประโยชน์ในอนาคตอันใกล้นี้


ที่มา : https://www.japantimes.co.jp/news/ 

 และ  https://www.cnbc.com/