posttoday

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง"

14 มีนาคม 2561

รวมเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับ "สตีเฟน ฮอว์คิง" นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย ตลอดช่วงเวลา 76 ปีในชีวิตของเขา

รวมเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับ "สตีเฟน ฮอว์คิง" นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย ตลอดช่วงเวลา 76 ปีในชีวิตของเขา

หลังการเสียชีวิตอย่างสงบของ "สตีเฟน ฮอว์คิง" นักฟิสิกส์และนักจักรวาลผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ลูกๆทั้งสามของเขาได้ระบุข้อความถึงบิดาเอาไว้ในตอนหนึ่งของถ้อยแถลงที่มีต่อสื่อมวลชนว่า "ความกล้าหาญและความเพียรพยายาม ความชาญฉลาดและอารมณ์ขันของฮอว์คิง ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนอีกมากมายทั่วโลก"

แม้ต้องนั่งอยู่บนรถเข็นและสื่อสารความคิดในสมองออกไปสู่โลกด้วยการใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูดที่ควบคุมด้วยการกะพริบตา ทว่าอัจฉริยะคนนี้ก็ไม่เคยย่อท้อต่ออาการป่วยของร่างกาย

ฮอว์คิงเคยกล่าวไว้ว่า "จงแหงนหน้ามองดวงดาว ไม่ใช่เท้าของเรา" ผลของการแหงนหน้ามองดาวของเขา ทำให้มนุษย์ชาติได้พบกับความรู้อันทรงคุณค่ามากมาย

ต่อไปนี้คือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับ ฮอว์คิงตลอดช่วงเวลา 76 ปีที่มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้

ฮอว์คิงเกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 1942 ซึ่งตรงกับวันเสียชีวิตของ "กาลิเลโอ กาลิเลอี" นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังชาวอิตาลี

เขาเกิดที่เมืองอ็อกซ์ฟอร์ดประเทศอังกฤษ เป็นบุตรคนโตที่สุดในจำนวนพี่น้องทั้ง 4 คน โดยบิดาคือ แฟรงค์ ฮอว์คิง เป็นนักชีววิทยา และ อิซาเบล ฮอว์คิง มารดาเป็นนักวิจัยทางการแพทย์

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง"

ปี 1952 เข้าเรียนที่โรงเรียน เซนต์อัลเบนส์

ปี 1959 ได้รับทุนเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด โดยเขาจบในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science)

ปี 1962 ได้รับทุนวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาด้านจักรวาลวิทยาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ปี 1963 ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค ALS ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบเส้นประสาท โดยหมอระบุว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี ส่งผลให้เขาต้องนั่งรถเข็นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

ปี 1965 แต่งงานกับ "เจน ไวลด์" ภรรยาคนแรก ซึ่งทั้งสองพบรักกันในช่วงศึกษาที่เคมบริดจ์ ดังจะเห็นได้จะภาพยนตร์เรื่อง The Theory of Everything หรือ ทฤษฎีรักนิรันดร สองปีต่อมา ทั้งคู่ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกชื่อโรเบิร์ต และปี 1970 ก็ให้กำเนิดบุตรสาวที่ชื่อลูซี่

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง" ศ.ฮอว์คิง และเจน ไวลด์ ภรรยาคนแรก

ปี 1974 ฮอว์คิง ได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ

ปี 1977 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ 

ปี 1979 ได้รับการแต่งตั้งเป็น "เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน" (Lucasian Chair of Mathematics) ซึ่งเป็นตำแหน่งอันทรงเกียรติเดียวกับที่เซอร์ ไอแซก นิวตัน เคยได้รับตำแหน่งนี้

ฮอว์คิงดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 2009 และในปีเดียวกันนี้ภรรยาของเขาก็ได้ให้กำเนิดบุตรคนที่สามชื่อ ทิโมธี

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง"

ปี 1985 ฮอว์คิงเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในกรุงเจนีวาด้วยโรคปอดบวม เขารอดชีวิตได้หลังจากการผ่าตัด แต่เขาสูญเสียการพูดไป และ ในปีถัดมาเขาเริ่มเรียนรู้การสื่อสารผ่านอุปกรณ์สังเคราะห์เสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Voice Synthesizer)

ปี 1988 ตีพิมพ์งานเขียนที่ชื่อ "A Brief History of Time" หนังสือเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาและกลายเป็นหนังสือขายดีสูงสุดถึง 10 ล้านเล่ม

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง"

ปี 1989 ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง แต่ภายหลังเขาปฏิเสธที่จะรับเกียรตินี้

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง"

ปี 1995 แต่งงานใหม่กับพยาบาลที่เคยดูแลเขาที่ชื่อ "อีเลน เมสัน" กระทั่งปี 2007 ทั้งคู่ได้หย่าขาดจากกัน 

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง" ศ.ออว์คิง และอีเลน ภรรยาคนที่สอง

ปี 2014 มีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง The Theory of Everything หรือชื่อภาษาไทยว่า ทฤษฎีรักนิรันดร นำแสดงโดยเอดดี เรดเมย์น รับบทเป็นฮอว์คิง ในช่วงที่พบรักกับภรรยาคนแรก ซึ่งจากบทบาทนี้ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง" ฮอว์คิง กับ เอ็ดดี้ เรย์มันด์ ผู้รับบทเป็นตัวเขาในภาพยนตร์

14 มีนาคม 2018 ฮอว์คิงได้เสียชีวิตลงอย่างสงบที่บ้านพักในเมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" บุคคลที่สร้างแรงบันดาลให้เขาเขียนหนังสือ A Brief History of Time นั้นเอง นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ของโลก

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง" ศ.ฮอว์คิง และลูซี่ บุตรสาว

 

ย้อนโมเมนต์สำคัญตลอด76ปีในชีวิตของ "สตีเฟน ฮอว์คิง"