posttoday

ครบรอบ 35 ปี อิโมติคอนหน้ายิ้ม

23 กันยายน 2560

อิโมติคอน "สไมลลี้" ที่ถูกยกให้เป็นอิโมติคอนแบบแรกมีอายุครบ 35 ปีแล้วในสัปดาห์นี้

อิโมติคอน "สไมลลี้" ที่ถูกยกให้เป็นอิโมติคอนแบบแรกมีอายุครบ 35 ปีแล้วในสัปดาห์นี้

เมื่อ 35 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน ชื่อสก็อตต์ ฟาห์ลแมน ได้ใช้เครื่องหมาย :-) กำกับไว้บนข้อความ ในวารสารวิชาการ ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน เป็นสัญลักษณ์แสดงถึง ความขบขัน หรือ ตลกเหน็บแนม ที่บางครั้งถูกเข้าใจผิดและกลายเป็นข้อโต้แย้ง

โดยอิโมติคอนสไมล์ลี้ เป็นการรวมกันของสัญลักษณ์บนแป้นพิมพ์ที่มักจะประกอบด้วยเครื่องหมาย : ทวิภาค, - ยัติภังค์ และวงเล็บ ภายในบรรทัดเดียวกัน ศ.ฟาห์ลแมน มองว่า รอยยิ้มเป็นสัญลักษณ์สากลที่เข้าใจกันโดยทั่ว เขากล่าวว่า "สิ่งหนึ่งที่ดีเกี่ยวกับหน้ายิ้มตัวต้นแบบ คือความเป็นเนื้อแท้ของรอยยิ้ม เพราะมันไม่จำกัดแค่ คนขาว คนผิวสี หรือคนจีน เท่านั้นที่ยิ้มได้"

การใช้สัญลักษณ์ สไมลี เป็นที่นิยมภายในมหาวิทยาลัยของ ศ.ฟาห์ลแมน และแพร่หลายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่มีระบบวารสารวิชาการออนไลน์คล้ายกัน โดยไม่กี่เดือนหลังจากนั้น อิโมติคอน แบบอื่น ๆ ได้ปรากฏขึ้น ไม่ว่าจะเป็น :-D (คนอ้าปาก) หรือ 8-) (คนใส่แว่น) แต่อิโมติคอน ที่รับความนิยมมากคือ :-) หรือสไมลี และ ;-) หรือ คนขยิบตา

ที่มา : cnet.com