posttoday

บราซิลไฟเขียว เปิดป่าสงวนขนาดใหญ่กว่า "โคราช" เพื่อทำเหมืองแร่

24 สิงหาคม 2560

รัฐบาลบราซิลเพิกถอนสภาพป่าสงวนในอุทยานแห่งชาติในเขตป่าอเมซอน ให้เอกชนเข้าทำเหมือง ท่ามกลางเสียงคัดค้านของหลายฝ่าย

รัฐบาลบราซิลเพิกถอนสภาพป่าสงวนในอุทยานแห่งชาติในเขตป่าอเมซอน ให้เอกชนเข้าทำเหมือง ท่ามกลางเสียงคัดค้านของหลายฝ่าย

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า - รัฐบาลบราซิลได้ยกเลิกพื้นที่ป่าสวนแห่งชาติจำนวนมากในพื้นที่ป่าแอมะซอน เพื่อเปิดพื้นที่ทำเหมืองแร่ โดยพื้นที่ที่รัฐบาลจะเปิดทำเหมืองแร่ดังกล่าวครอบคลุมกว่า 46,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐแอมาพาและรัฐพารา ที่ครอบคลุมพื้นที่ในป่าอเมซอน ซึ่งคาดว่าจะมีแร่ทองคำและแร่ธาตุอื่นๆ อีกจำนวนมาก

โดยรัฐบาลบราซิลกล่าวว่า 9 พื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่ดั้งเดิมพื้นเมืองที่อยู่ภายในป่าแอมะซอนนี้ จะยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ขณะที่นักเคลื่อนไหวหลายคนได้ส่งเสียงถึงความกังวลว่าการตัดสินใจครั้งนี้อาจทำให้พื้นที่ดังกล่าวถูกทำลาย

โดยพระราชกฤษฎีกาที่ลงนามโดยประธานาธิบดีมิเชล เตเมร์ นั้นประกาศยุบพื้นที่อนุรักษ์บางส่วนและเรียกพื้นที่นั้นว่า National Reserve of Copper and Associates (Renca) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าประเทศเดนมาร์ก ด้านรัฐมนรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่า พื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนจะไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน “โดยวัตถุประสงค์ของนโยบายนี้ก็คือ เพื่อดึงดูดการลงทุนใหม่ สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยยึดหลักอยู่บนแนวคิดความยั่งยืน” รัฐมนตรีกล่าว

ขณะที่หนังสือพิมพ์โอโกลโบซึ่งเป็นสื่อท้องถิ่นของบราซิล รายงานว่า นายแรนโดลเฟ โรดริเกส วุฒิสมาชิกฝ่ายค้าน ได้ประณามความเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่าเป็น “การโจมตีแอมะซอนครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี”

ด้าน มัวริชิโอ วอยโวดิค หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ WWF ในบราซิล ออกโรงเตือนเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า การทำเหมืองแร่ในพื้นที่ดังกล่าวจะนำไปสู่ “ระเบิดทางภูมิศาสตร์, การตัดไม้ทำลายป่า, การทำลายทรัพยากรน้ำ, สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความขัดแย้งในที่ดิน”