posttoday

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

12 พฤษภาคม 2560

ภาพถ่ายโดย Ralph Mirebs ถ่ายทอดความยิ่งใหญ่ในอดีตของโครงการอวกาศโซเวียต ที่ตั้งตระหง่านกลางทะเลทรายคาซัคสถาน

ภาพถ่ายโดย Ralph Mirebs ถ่ายทอดความยิ่งใหญ่ในอดีตของโครงการอวกาศโซเวียต ที่ตั้งตระหง่านกลางทะเลทรายคาซัคสถาน

รถบรรทุกเคลื่อนตัวเข้าสู่ศูนย์ปล่อยอวกาศยานไบโคนัวร์ คอสโมโดรม (Baikonur Cosmodrome) ที่ตั้งอยู่กลางทะเลเทรายของคาซัคสถาน สถานที่แห่งความหวังทางเทคโนโลยีอวกาศแห่งนี้ปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่น, ขี้นก และสนิมเขรอะ แม้จะไม่อาจใช้งานได้อีกต่อไป แต่ศูนย์อวกาศแห่งนี้ยังคงดึงดูดช่างภาพให้เข้ามาสัมผัสเสมอ เช่นเดียวกับอเล็กซานดาร์ เคานัส

หนึ่งในกระสวยอวกาศมีชื่อว่า Pitchka มันไม่เคยเดินทางออกจากโลก ในขณะที่การทดสอบที่ผ่านๆมาไม่ได้หมายความถึงการบินจริงๆ

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

สถานที่แห่งนี้คือสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจ ในโครงการอวกาศสมัยยุคสงครามเย็น โครงการไบโคนัวร์ถูกออกแบบ และก่อสร้างขึ้นในช่วงปี 1970 - 1980 ในฐานะความพยายามของสหภาพโซเวียต ในการเอาชนะเทคโนโลยีทางอวกาศของสหรัฐ โดยตามแผนที่วางไว้ ทางโซเวียตไม่ได้ต้องการแค่ส่งมนุษย์ขึ้นไปนอกโลกเท่านั้น แต่พวกเขายังทะเยอทะยานที่จะสร้างสถานีอวกาศ ตลอดจนสถานีติดอาวุธอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้น

ความเสื่อมถอยของสหภาพโซเวียต และปัญหาทางเศรษฐกิจส่งผลให้กระสวยอวกาศไม่เคยถูกส่งขึ้นฟ้าจริง เว้นเพียงแต่ความสำเร็จในปี 1988 เมื่อยานอวกาศที่มีชื่อว่า Buran หรือแปลเป็นไทยว่าพายุหิมะ เป็นยานอวกาศเพียงลำเดียวของสหภาพโซเวียตที่เดินทางออกนอกโลก

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

 

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

ต่อมาในปี 1993 โครงการด้านอวกาศของโซเวียตก็ถูกยกเลิก ส่งผลให้สถานที่ และกระสวยภายในถูกทิ้งร้าง และในปี 2002 ยานอวกาศ Buran ก็ถูกทำลายทิ้งไปด้วย เมื่อสถานที่เก็บได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในครัง้นั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย

ทุกวันนี้กระสวย Pitchka และอวกาศยานลำอื่นๆยังคงถูกเก็บรักษาไว้ ในฐานะส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงอดีตอันยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

 

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

ในปี 2015 Ralph Mirebs ช่างภาพได้เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ และเก็บภาพความงดงามเอาไว้ที่ซึ่งคุณผู้อ่านได้ชม 6 เดือนต่อมา Alexander Kaunas ช่างภาพ และผู้ผลิตภาพยนตร์พร้อมด้วยทีมงานของเขาก็เดินทางมาเก็บภาพความสวยงามอันน่าขนลุก และน่าทึ่งยังสถานที่แห่งนี้อีกครั้ง เพื่อไปเผยแพร่ให้ผู้คนบนโลกได้รู้จักกับไบโคนัวร์

หากนี่เป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูก เคานัส และทีมของเขาคงจะสามารถหาวิธีการติดเครื่องยนต์กระสวยทั้งหมดภายในไบโคนัวร์ได้ และใช้มันบินขึ้นสู่การต่อสู้กลางอวกาศ เพื่อช่วยเหลือเผ่าพันธุ์มนุษย์ แต่ทว่านี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ กระสวยเหล่านี้จะยังคงตั้งตระหง่านอย่างสงบนิ่งต่อไปอีกหลายสิบปี เพื่อรอคอยให้ช่างภาพคนใหม่ๆมาพบกับมันเข้า

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

 

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

 

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

 

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

 

ชมบรรยากาศวังเวงของศูนย์ปล่อยอวกาศยานสมัยสงครามเย็น

 

 

ขอบคุณภาพจาก National Geographic