posttoday

ไทยอันดับ 2 ประเทศเสี่ยงเกิดรัฐประหารมากที่สุดในปีนี้

01 กุมภาพันธ์ 2560

จัดอันดับประเทศที่มีความเสี่ยงเกิดรัฐประหารมากที่สุด โดย Washington Post อันดับหนึ่งคือบุรุนดี ตามมาด้วยไทย

จัดอันดับประเทศที่มีความเสี่ยงเกิดรัฐประหารมากที่สุด โดย Washington Post อันดับหนึ่งคือบุรุนดี ตามมาด้วยไทย

รัฐประหารช่างเป็นคำสั้นๆ แต่นำมาซึ่งความเซอร์ไพร์ และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เสมอ ดังเช่นตัวอย่างที่เกิดในตุรกี เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่ผ่านมา เมื่อรัฐประหารล้มเหลวนำไปสู่การกวาดล้างกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยครั้งใหญ่

การคาดการณ์ว่ารัฐประหารจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้นทำได้ยาก แต่ทีมนักวิจัยสามารถคำนวณความเสี่ยงที่ประเทศนั้นๆอาจเกิดรัฐประหารขึ้นได้ โดยอ้างอิงจากข้อมูลการเกิดรัฐประหารครั้งก่อนๆ เช่น การเกิดรัฐประหารในไทย เมื่อปี 2557 หรือล่าสุดในตุรกี เมื่อปีก่อน รวมกับข้อมูลอื่นๆของประเทศ เช่น ระยะเวลาการปกครองประเทศของผู้นำปัจจุบัน, ประเภทของรัฐบาลที่เข้ามาปกครอง ว่ามาโดยการเลือกตั้งหรือวิธีอื่น, จีดีพี, การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ไปจนถึงจำนวนประชากร และอัตราการตายของทารก เป็นต้น

สำนักข่าว Washington Post ได้เผยแพร่ผลการคาดการณ์ให้ได้ชมกัน ว่าในปี 2560 นี้ มีประเทศใดบ้างที่เสี่ยงเกิดรัฐประหารมากที่สุด จากจำนวนทั้งหมด 161 ประเทศ

ไทยอันดับ 2 ประเทศเสี่ยงเกิดรัฐประหารมากที่สุดในปีนี้

ผลการวิจัยที่ออกมา ทางทีมงานจะเรียงลำดับข้อมูลที่ได้ตามประเทศที่มีความเสี่ยงมาก ไปจนถึงความเสี่ยงน้อย นอกจากนั้นยังทำการรวบรวมค่าความเสี่ยงที่คาดคะเนว่า รัฐประหารที่จะเกิดขึ้นั้นมีโอกาสล้มเหลว หรือประสบความสำเร็จมากแค่ไหนอีกด้วย และนี่คือ 30 อันดับประเทศที่มีความเสี่ยงเกิดรัฐประหารมากที่สุดในปีนี้

อันดับที่ 1 คือบุรุนดี ด้วยเปอร์เซนต์การเกิดรัฐประหารสูงที่สุด 12% เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ด้วยคะแนนความน่าจะเป็นที่จะรัฐประหารนั้นจะเกิดความล้มเหลว หรือประสบผลสำเร็จเท่ากันที่ 0.06

สำหรับอันดับที่ 2 เป็นของประเทศไทย ด้วยเปอร์เซนต์การเกิด 11% และความน่าจะเป็นที่รัฐประหารจะสำเร็จอยู่ที่ 0.06 ส่วนความน่าจะเป็นที่จะล้มเหลวอยู่ที่ 0.05 เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้กฏอัยการศึก ที่จำกัดเสรีภาพของประชาชน และแม้ว่ารัฐบาลจะให้คำมั่นว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปีนี้อย่างแน่นอน แต่คาดกันว่าการเลือกตั้งจะส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น

และอันดับที่3 ได้แก่สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, ชาด, ตุรกี, ซีเรีย, ซูดาน, สาธารณรัฐกินี-บิสเซา, แกมเบีย และอันดับที่ 10 คือไลบีเรีย

ไทยอันดับ 2 ประเทศเสี่ยงเกิดรัฐประหารมากที่สุดในปีนี้

นอกจากนั้นจากรายงานยังเสริมว่าในช่วงหลายปีหลังมานี้ รัฐประหารลดลงมากโดยไม่ทราบเหตุผลแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นสาเหตุเพราะ การที่ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมิเดียได้มากขึ้น

กระบวนการรัฐประหารมักมุ่งเป้าไปที่การยึดสื่อหลักของประเทศ เพื่อกระจายข่าวว่ารัฐประหารนั้นๆได้สำเร็จแล้ว แต่ในโลกยุคสมัยใหม่ที่มีโซเชียลมิเดีย บางครั้งกระบวนการรัฐประหารแบบเดิมๆอาจใช้ไม่ได้ผล ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในตุรกีครั้งล่าสุด เมื่อประธานาธิบดีเออร์โดกัน ใช้สื่อสังคงออนไลน์กระตุ้นให้ชาวตุรกีนับล้านคนออกมาต่อต้านการรัฐประหารครั้งนั้น จนล้มเหลวในที่สุด

ด้านสหรัฐอเมริกา ที่ผชิญกับความแตกแยกจากวิกฤติทางการเมืองเช่นกัน มีความเสี่ยงอยู่ที่อันดับ 103  จากทั้งหมด 161 ประเทศ ด้วยคะแนนความเสี่ยงเพียง 2% อาจดูน้อย แต่นับว่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆเช่น ญี่ปุ่น, สวีเดน หรือนอร์เวย์เป็นต้น