posttoday

ใครจะเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ?

04 ตุลาคม 2559

สำนักข่าว The Guardian ได้รวบรวมบุคคล และองค์กรที่น่าจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีนี้ จากความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของพวกเขา

สำนักข่าว The Guardian ได้รวบรวมบุคคล และองค์กรที่น่าจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีนี้ จากความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของพวกเขา

รายชื่อของบุคคล และองค์กรที่จะได้เข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปีนี้จะถูกประกาศในวันศุกร์ที่จะถึง ในปีนี้มีผู้สมัครชิงรางวัลจำนวน 376 คน บุคคลผู้ที่ได้รับเลือกอีก 228 คน และองค์กรอีกถึง 148 องค์กร ที่ต้องแข่งขันกันเพื่อรางวัลนี้ ซึ่งทางสำนักข่าว The Guardian ได้รวบรวมบุคคล และองค์กรที่มีสิทธิจะได้รับรางวัลในปีนี้ จากการกระทำเพื่อสันติภาพของพวกเขา

Syrian White Helmets

ใครจะเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ?

ตลอด 5 ปีของสงครามที่ยึดเยื้อยาวนานในซีเรีย กลุ่ม White Helmets กลุ่มอาสาสมัครได้ช่วยเหลือชีวิตของผู้คนไปแล้วจำนวนหลายหมื่นคน
ณ สถานที่แห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อันตรายที่สุดในโลก นรกบกดินคือคำที่สหประชาชาติเปรียบเปรยสิ่งที่เกิดขึ้นในซีเรีย กลุ่ม White Helmets เป็นกลุ่มแรกเสมอที่เดินทางไปยังสถานที่ถูกโจมตี เพื่อช่วยผู้คนขึ้นมาจากซากปรักหักพัง โดยไม่สนใจว่าผู้คนเหล่านั้นจะฝักใฝ่ฝ่ายใด หรือมีแนวคิดทางการเมืองอย่างไร พวกเขาทำงานภายใต้แนวคิดที่ว่า "การช่วยเหลือ 1 ชีวิต เท่ากับการช่วยเหลือมนุษยชาติ"

อาสาสมัครกลุ่มนี้เป็นความหวังของผู้คนท่ามกลางสงคราม พวกเขาได้รับการยกย่องจากหลายองค์กร ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากพวกเขาจะได้รับรางวัลนี้

 

Angela Merkel

ใครจะเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ?

เมื่อปีที่ผ่านมา นางแองเกลา แมร์เคิล ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จากนโยบายเปิดรับผู้อพยพของเธอ ท่ามกลางกระแสต่อต้านจากชาวเยอรมันที่จากผลสำรวจจะบุว่า 73% กล่าวว่า เธอไม่สมควรที่จะได้รับรางวัลนี้ ซึ่งแมร์เคิลเองคงจะโล่งใจที่เธอเองก็ไม่ได้รับมัน

นโยบายเพื่อผู้ลี้ภัยของเธอ สร้างความกังวลขนาดหนักให้แก่เยอรมนี ทั้งการทำให้เยอรมนีเสี่ยงต่อการถูกโจมตีโดนการก่อการร้าย, ผลกระทบต่อตลาดแรงงาน และสวัสดิการทางสาธารณสุขต่างๆ แต่แมร์เคิลก็ยังคงยึดหยัดนโยบายของเธอท่ามกลางความกดดันจากประชาชนชาวเยอรมันมากมาย

ในสุนทรพจน์ของบารัก โอบามา ที่การประชุมสุดยอดผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เขาได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีหญิงคนนี้ในการจัดการกับผู้ลี้ภัยที่ยังคงเดินหน้าต่อไป แม้จะถูกกดดันขนาดหนักก็ตาม

 

Pope Francis

ใครจะเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ?

ไม่เคยมีพระสันตะปาปาองค์ใดเคยได้รับรางวัลนี้มาก่อน แต่สำหรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสถูกมองว่าเป็นผู้เบิกทางในปีนี้ นับตั้งแต่การดำรงตำแหน่งตลอด 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา พระองค์ชนะหัวใจผู้คนไปแล้วนับล้าน ซึ่งไม่ใช่แค่ชาวคริสต์เท่านั้น นอกจากนั้นพระองค์ยังได้แสดงจุดยืนที่แข็งแกร่งต่อปลายประเด็นเช่น ผู้อพยพ, ความยากจน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอีกด้วย

พระองค์ย้ำเสมอมาให้ทุกคนนั้นเปิดใจต้อนรับผู้อพยพ และในเดือนเมษายนที่ผ่านมาพระองค์ยังได้เดินทางไปพบกับบรรดาผู้อพยพบนเกาะเลสบอส ในกรีซ เพื่อย้ำว่าพวกเขาไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว

ในขณะที่ประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ พระองค์เคยพรรณาว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นบาป แน่นอนว่าด้ววยมุมมองของพระองค์ และการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงส่งผลให้ถูกวิจารณ์มากมาย แต่บรรดาคาทอลิกหลายคนก็ยังคงยืนยันในความเมตตาของพระองค์

 

Greek islanders

ใครจะเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ?

เกาะเลสบอสของกรีซ เป็นสถานที่แนวหน้าในการรับมือกับการไหลบ่าเข้ามาของผู้อพยพที่เดินทางข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผู้คนที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาเหล่านี้เปิดบ้านต้อนรับผู้อพยพ และแบ่งปันอาหารให้แก่พวกเขา แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศของตนจะย่ำแย่ก็ตาม

ถึงแม้ว่าทางโนเบลอาจจะไม่เปิดเผยชื่อก็ตาม แต่เป็นที่รู้กันดีว่าใครที่สมควรจะได้ขึ้นรับรางวัลนี้ ในจำนวนนี้คือ Skala Skamnias ชาวประมง ในหมู่บ้านประมงเล็กๆผู้ให้ความช่วยเหลือผู้อพยพตลอดหลายปีที่ผ่านมา, Emilia Kamvissi คุณยายวัย 85 ปี ผู้เปิดบ้านต้อนรับผู้อพยพ พ่อของเธอนั้นก็เป็นผู้อพยพเช่นกัน ซึ่งเดินทางมายังกรีซเมื่อปี 1992 เรื่องราวของเธอกลายเป็นที่โด่งดังเมื่อมีใครสักคนถ่ายภาพของเธอกำลังป้อนอาหารทารกน้อยชาวซีเรีย ซึ่งเธอกล่าวว่า "พวกเราทุกคนเป็นมนุษย์ และนี่คือสิ่งที่พวกเราปฏิบัติต่อกัน"

ในขณะที่คนสุดท้ายคือชาวประมงผู้มีชื่อว่า Stratis Valiamos วัย 40 ปี ผู้ช่วยเหลือผู้อพยพนับร้อยคนจากเรือของพวกเขาที่กำลังจมในระหว่างข้ามมาจากตุรกี

 

Juan Manuel Santos and Timochenko

ใครจะเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ?

ฮวน มานูเอล ซานโตส ประธานาธิบดีโคลอมเบีย และผู้นำกลุ่มกบฏฟาร์ก รอดริโก ลอนดอน หรือที่รู้จักกันในชื่อ Timochenko อาจได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากความพยายามของทั้งคู่ในการบรรลุข้อตกลงสันติภาพ เพื่อยุติความขัดแย้งรัหว่างรัฐบาลโคลอมเบีย และกบฏฟาร์กที่มีมายาวนาน 52 ปี ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 260,000 คน  สูญหายอีก 45,000 คนและประชาชนกว่า 6.9 ล้านคนต้องทิ้งบ้านเรือนเอาชีวิตรอดตลอดระยะเวลากว่า 5 ทศวรรษที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าผลการลงประชามติจะออกมาไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่ทั้งคู่ยังคงยืนยันที่จะรักษาสันติภาพ และเจรจาในโอกาสถัดไปเพื่อร่างข้อตกลงใหม่ ทุกรัฐบาลโคลอมเบียตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมาพยายามยุติความขัดแย้งนี้ แต่เพิ่งมาสำเร็จในสมัยของซานโตส ผู้เป็นประธานาธิบดีเมื่อปี 2010 ในขณะที่ลอนดอนเองก็เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำกลุ่มกบฏเมื่อปี 2011