posttoday

ผู้นำอาเซียน

23 กรกฎาคม 2553

เมื่อวานผมได้กล่าวไปถึงการขยายอิทธิพลของสหรัฐและจีนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ไทยน่าจะฉวยโอกาสตักตวงผลประโยชน์ตรงนี้เอาไว้ได้บ้างแต่ก็เป็นดังที่รู้กันดีว่า จากปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองในไทยที่นับวันยิ่งไร้เสถียรภาพ วันนี้แม้ไม่มีการชุมนุมประท้วงของคนสารพัดสีเสื้อทั้งหลาย แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าไว้วางใจความสั่นคลอนทางการเมืองนี่แหละครับ ที่ทำให้เราสูญเสียโอกาสไปหลายด้าน โดยเฉพาะบทบาทของการเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียนที่พัทยา เมื่อปี 2552 ที่ถูกกลุ่มเสื้อแดงยกพวกบุกล้มการประชุม ก็น่าจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อาเซียนครับ ที่การประชุมระดับนานาชาติต้องมาจบลงก่อนกำหนดจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในของประเทศเจ้าภาพไม่อยากบอก แต่ก็ต้องบอกครับว่าไทยกำลังสูญเสียบทบาทแห่งความเป็นผู้นำอาเซียนไปจนแทบจะไม่เหลือเครดิตอะไรอยู่แล้วในขณะนี้ อินโดนีเซียกำลังมาแรงเหลือเกิน และกำลังกลายเป็นผู้นำอาเซียนในยุคปัจจุบัน หลังจากที่ประเทศเขาเคยฟุบไปนานจากวิกฤตเศรษฐกิจต่อด้วยวิกฤตทางการเมืองจากการล่มสลายของอำนาจทางการเมืองของอดีตประธานาธิบดี ซูฮาร์โต อินโดนีเซีย เจอกับภาวะสั่นคลอนไประยะหนึ่งทั้งป


เมื่อวานผมได้กล่าวไปถึงการขยายอิทธิพลของสหรัฐและจีนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ไทยน่าจะฉวยโอกาสตักตวงผลประโยชน์ตรงนี้เอาไว้ได้บ้าง

แต่ก็เป็นดังที่รู้กันดีว่า จากปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองในไทยที่นับวันยิ่งไร้เสถียรภาพ วันนี้แม้ไม่มีการชุมนุมประท้วงของคนสารพัดสีเสื้อทั้งหลาย แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าไว้วางใจ

ความสั่นคลอนทางการเมืองนี่แหละครับ ที่ทำให้เราสูญเสียโอกาสไปหลายด้าน โดยเฉพาะบทบาทของการเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียนที่พัทยา เมื่อปี 2552 ที่ถูกกลุ่มเสื้อแดงยกพวกบุกล้มการประชุม ก็น่าจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อาเซียนครับ ที่การประชุมระดับนานาชาติต้องมาจบลงก่อนกำหนดจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในของประเทศเจ้าภาพ
ไม่อยากบอก แต่ก็ต้องบอกครับว่าไทยกำลังสูญเสียบทบาทแห่งความเป็นผู้นำอาเซียนไปจนแทบจะไม่เหลือเครดิตอะไรอยู่แล้ว

ในขณะนี้ อินโดนีเซียกำลังมาแรงเหลือเกิน และกำลังกลายเป็นผู้นำอาเซียนในยุคปัจจุบัน หลังจากที่ประเทศเขาเคยฟุบไปนานจากวิกฤตเศรษฐกิจต่อด้วยวิกฤตทางการเมืองจากการล่มสลายของอำนาจทางการเมืองของอดีตประธานาธิบดี ซูฮาร์โต อินโดนีเซีย เจอกับภาวะสั่นคลอนไประยะหนึ่งทั้งปัญหาทางการเมือง และปัญหาก่อการร้าย จนมาถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าอินโดนีเซียกำลังกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งแล้ว

ยิ่งในช่วงสมัยที่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา เป็นผู้นำสหรัฐในขณะนี้ที่สหรัฐต้องการที่จะกลับมาขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหน อินโดนีเซียก็กำลังโดดเด่นขึ้นมากทุกทีๆ

คนอินโดนีเซียก็นิยมชมชอบเรียกได้ว่าเข้าขั้น “คลั่ง” ผู้นำสหรัฐมาก เพราะว่าส่วนหนึ่งก็ได้อานิสงส์จากที่โอบามาเคยอาศัยอยู่ในอินโดนีเซียเมื่อวัยเด็ก

เมื่อวานนี้เอง นายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ได้ประกาศในภายหลังการหารือกับประธานาธิบดี ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ว่าสหรัฐจะฟื้นความร่วมมือทางทหารกับกองกำลังพิเศษของอินโดนีเซียขึ้นใหม่ เป็นการส่งสัญญาณว่าความสัมพันธ์ทางทหารของ 2 ชาติกำลังกลับสู่ภาวะปกติ

ในอดีตสหรัฐเคยยกเลิกความร่วมมือนี้ไป เพราะว่ากองกำลังพิเศษของอินโดนีเซียนี้มีส่วนกับเหตุการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในติมอร์ตะวันออก นอกจากนั้นสหรัฐยังเคยห้ามขายอาวุธให้กับอินโดนีเซียด้วย โดยบอกว่าอาวุธที่ซื้อไปนั้นถูกนำไปใช้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดอาเจะห์ที่ในอดีตมีการสู้รบแบ่งแยกดินแดนกันอยู่

ถือว่าชัดเจนครับ ว่าสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและอินโดนีเซียกำลังดีขึ้นเรื่อยๆ และอินโดนีเซียก็กำลังแสดงบทบาทเป็นผู้นำอาเซียนมากขึ้นทุกที
และอย่าลืมว่าช่วงที่กลุ่มเสื้อแดงประท้วงกันหนักๆ อินโดนีเซียนี่แหละครับที่เสนอตัวจะเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยให้เราด้วย