posttoday

สื่อมะกันร้องโลกบอยคอตสินค้าประมงไทย

23 มิถุนายน 2557

นิวยอร์กไทมส์อออกบทนำ ร้องห้างยักษ์ใหญ่ทั่วโลกงดซื้อสินค้าประมงจากผู้ประกอบการที่มีปัญหาแรงงานทาส

นิวยอร์กไทมส์อออกบทนำ ร้องห้างยักษ์ใหญ่ทั่วโลกงดซื้อสินค้าประมงจากผู้ประกอบการที่มีปัญหาแรงงานทาส 

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นิวเยอร์กไทมส์จากสหรัฐประจำวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมาได้แสดงทรรศนะต่อปัญหาการค้าแรงงานทาสในไทย โดยระบุว่า ต้องการให้ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ทั่วโลกร่วมกันบอยคอตสินค้าอาหารทะเลจากผู้ประกอบการไทยที่ระบุว่ามีปัญหาแรงงานทาสในอุตสาหกรรมการประมง พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐ ระงับความช่วยเหลือแก่ไทยอีกด้วย

เนื้อหาของบทรรณาธิการของสื่อสิ่งพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐ เริ่มต้นโดยระบุว่า ธุรกิจอาหารทะเลและกุ้งถือเป็นกิจการธุรกิจขนาดใญ่ในประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมนี้มีสัดส่วนในการจ้างแรงงานมากกกว่า 6.5 แสนตำแหน่ง และช่วยสร้างรายได้จากการส่งออกต่อปีมากกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในที่สุดสินค้าเหล่านี้ก็ได้มาโผล่ที่จานอาหารมื้อเย็นของคนทั่วโลก รวมถึง สหรัฐ ด้วย  ถึงกระนั้นมันก็ยังมีด้านมืดอยู่ดี  เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวพึ่งพาระบบแรงงานทาสอย่างชัดแจ้งและน่าเกลียด จนแม้แต่ตอนนี้ กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ยังต้องขึ้นบัญชีให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาการละเมิดการค้ามุนษย์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากการจัดอันดับทั้งหมดที่จัดอันดับ 188 ประเทศซึ่งทำขึ้นทุกปี

การจัดอันดับดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว หลังจากที่สหรัฐเริ่มบังคับใช้กฎหมายการต่อต้านการค้ามนุษย์ และสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ลงนามรับรองพิธีสารปาเลอร์โม  ซึ่งทั้งสองข้อตกลงได้เรียกร้องให้นานาชาติลงโทษต่อผู้กระทำผิด และจัดหาที่พักและช่วยเหลือแก่เหยื่อผู้ถูกละเมิด   และจากรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ทั่วโลกประจำปี 2014 ที่ออกมาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็ถือเป็นส่วนสำคัญของความพยายามดังกล่าวในการจัดการลงบันทึกผู้กระทำละเมิดอย่างเป็นระบบ และกระตุ้นความพยายามของรัฐบาลในการยับยั้งปัญหา

ประเทศไทยถือเป็นแม่เหล็กดึงดูดที่สำคัญของแรงงานต่างด้าวที่มาจากเพื่อนบ้านมาอย่างยาวนาน  ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่อพยพเข้ามาทำตอนนี้มีประมาณ 2-3 ล้านคน  และคนอีกกว่าหลายแสนคนต้องกลายเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ สร้างความเจ็บปวดแก่ชาย หญิง และเยาวชน  ซ้ำร้ายบางรายยังถูกบังคับให้ต้องขายบริการทางเพศ ไปจนถึงการผลักดันให้ทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และงานภายในบ้าน ซึ่งตอนนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าแรงงานจำนวนมากที่โดนแสวงหาประโยชน์อยู่ในอุตสาหกรรมประมงและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง

จากรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ทั่วโลกประจำปี 2014 จำนวน 432 หน้า ระบุุว่า ชายหนุ่มจากพม่า กัมพูชา และไทย ถูกบังคับให้ต้องทำงานในเรือประมงของไทย ซึ่งต้องเดินทางไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไกลกว่านั้นออกไป   หลายคนจ่ายเงินให้กับนายหน้าตัวกลาง เพื่อช่วยให้หางานให้ในไทย และจากนั้นก็ขายให้กับเจ้าของเรือ   คนงานเหล่านี้ถูกบังคับให้ทำงานวันละ 18 -20 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ทั้งๆที่ตกอยู่ในสภาพการข่มขู่ว่าจะถูกคุมขัง หรือเนรเทศ บ้างก็โดนทุบตี ขณะที่รายได้ก็มีน้อยนิด   แม้ว่าขอบเขตของการละเมิดดังกล่าวจะยังไม่รู้แน่ชัดทั้งหมด แต่รายงานก็ระบุถึง 2 การสำรวจที่ระบุว่าประมาณ 17 - 57 % ของแรงงานประมงได้รับการปฏิบัติในแบบที่กล่าวมา

รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ทั่วโลกของสหรัฐ ยืนอยู่บนพื้นฐานการสอบสวนข้อมูลของรอยเตอร์ส มูลนิธิความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และหนังสือพิมพ์ ดิ การ์เดียน โดยทั้งหมดชี้ว่า แรงงานทาสคือส่วนสำคัญของความสำเร็จในอุตสาหกรรมกุ้ง ดังนั้น นี่จึงเป็นการคอร์รัปชั่น กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร และตำรวจ ได้ประโยชน์จากการหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญา  โดยคุมขังคนเหล่านี้ไว้ที่ศุนย์กักกัน และขายให้กับนายหน้าและเจ้าของเรือ

ปัจจุบัน ไทย ถือเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาของสหรัฐ โดยเป็นเวลา 2 ปี ที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ในระดับที่ต้องจับตามอง ซึ่งหมายถึงว่า ไม่น่าพึงพอใจต่อการดำเนินการที่ไม่คืบหน้าในการจัดการกับปัญหาค้ามนุษย์   และสัปดาห์ที่แล้ว ทางกระทรวงฯได้จัดให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ละเมิดต่อมาตรฐานการค้ามนุษย์ตามกฎหมายของสหรัฐ อย่างร้ายแรง ส่วนหนึ่งเนื่องจาก รัฐบาลไทยแสดงให้เห็นถึงความพยายามเพียงน้อยนิดในการจัดการกับปัญหาการค้ามนษย์เหล่านี้

นอกจากไทย แล้วก็ยังมี มาเลเซีย และเวเนซูเอลา ที่อยู่ในลิสต์การละเมิดการค้ามุนษย์อย่างร้ายแรง หรือขั้น เทียร์ 3 อยู่ด้วย และยังมีอีก 20 ประเทศที่อยู่ล่างสุดของการจัดอันดับ ประกอบด้วย เกาหลีเหนือ อิหร่าน และรัสเซีย ขณะที่สหรัฐ และ 30 ประเทศ อยู่ในระดับบนของการจัดอันดับ   

การเปิดโปงปัญหาการค้ามนุษย์ของไทยควรชักจูงให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกปฏิเสธการนำเข้าสินค้าจากชาวประมง หรือ บริษัท ที่ถูกระบุว่าเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานทาส   ขณะเดียวกัน บริษัทเหล่านี้จำเป็นต้องกดดันรัฐบาลไทยในการสร้างหลักประกันว่าผู้กระทำละเมิดที่เป็นผู้จ้างแรงงานที่ถูกละเมิดจะโดนดำเนินคดี และผู้ตกเป็นเหยื่อจะได้รับการปกป้อง และปฎิบัติด้วยความเคารพ

ภายใต้กฎหมายสหรัฐ ความช่วยเหลือ และความร่วมมือต่างๆ จะถูกระงับไว้ ถ้าหากประเทศไม่ได้ดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนั้น รัฐบาลวอชิงตันจึงไม่ควรลังเลต่อการใช้เครื่องมือนี้ เมื่อยามมีประสิทธิภาพ  ผู้บริโภคมีส่วนสำคัญเช่นกัน ในการปฏิเสธที่จะซื้อสินค้าที่ผลิตจากแรงงานทาส

เป็นส่วนเรื่องที่น่าเศร้าที่สุด คือ ไทยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น แรงงานทาสก็ยังคงมีการบันทึกว่ามีการส่งลงเรือและล่องไปกับเรือของสัญชาติ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฮ่องกง  ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ทั่วโลกสูงถึง 29 ล้านคน ซึ่งอาจรวมถึงในหสหรัฐเองด้วย

ฉะนั้น แม้ว่า 14 ปีที่ผ่านมาจะมีความคืบหน้าในการสร้างความตระหนักรับรู้ของปัญหา และรับมือกับมัน แต่รายงานของกระทรวงต่างประเทศ ก็ยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาในลักษณะที่ราบเรียบเกินไป และยังมีอีกหลายสิ่งให้ต้องทำอยู่

ที่มา :  http://www.nytimes.com/2014/06/22/opinion/sunday/thai-seafood-is-contaminated-by-human-trafficking.html?hp&rref=opinion&_r=0