posttoday

ผุด"ไฮเปอร์ลูป"ระบบขนส่งสุดล้ำ

13 สิงหาคม 2556

เศรษฐีหนุ่มสหรัฐปิ๊งไอเดียสร้างระบบขนส่งผ่านท่อสุญญากาศ เป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทาง ต้นทุนต่ำ-สะดวกกว่ารถไฟเร็วสูง

เศรษฐีหนุ่มสหรัฐปิ๊งไอเดียสร้างระบบขนส่งผ่านท่อสุญญากาศ เป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทาง ต้นทุนต่ำ-สะดวกกว่ารถไฟเร็วสูง

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เอลอน มัสก์ เศรษฐีหนุ่มชาวสหรัฐ ได้เปิดเผยไอเดียการสร้างระบบขนส่งผ่านท่อความเร็วสูง หรือ "ไฮเปอร์ลูปทรานสปอร์ตซิสเต็ม"  ขึ้นมาในสหรัฐ เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการเดินทางที่จะสะดวกรวดเร็วขึ้น  ซึ่งเชื่อว่าระบบการขนส่งแบบใหม่นี้จะทำให้ผู้คนจาก ลอสแอนเจลิส สามารถเดินทางมายัง ซานฟรานซิสโก ซึ่งมีระยะทางห่างกันราว 614 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเหลือเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น จากเดิมที่ 5 ชั่วโมงครึ่ง  

นอกจากนี้ นักลงทุนหนุ่มไฟแรง ที่เคยสร้างชื่อกับบริษัทผลิตรถใช้กระแสไฟฟ้าเทสลา ยังกล่าวต่อว่า ระบบการขนส่งผ่านท่อความเร็วสูง ซึ่งมีลักษณะเหมือนท่อสุญญากาศขนาดใหญ่และมีระบบแม่เหล็กในท่อนั้น นอกจากจะเร็วแล้ว ก็ยังก่อสร้างได้ง่ายและถูกกว่าการวางระบบรถไฟความเร็วสูงอีกด้วย โดยจากการประเมินเบื้องต้นการสร้างระบบขนส่งดังกล่าวจากเมืองซานติอาโก ไปยังซานฟรานซิสโก จะใช้งบประมาณราว 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.86 แสนล้านบาท) เท่านั้น  ขณะที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเดิมใช้งบประมาณที่ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.79 แสนล้านบาท)

ผุด"ไฮเปอร์ลูป"ระบบขนส่งสุดล้ำ

เศรษฐีหนุ่มผู้เคยสร้างผลงานการสร้างเว็บเพย์พาล กล่าวว่า โครงการดังกล่าวต้องอาศัยการสร้างสร้างท่อเหล็กขึ้นมา โดยจะต้องให้อยู่สูงกว่าพื้นดินประมาณ 50 – 100 หลา และรถไฟจะสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 750 – 800 ไมล์ต่อชั่วโมง (ราว 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)  ใกล้เคียงกับระดับความเร็วเสียง  ขณะที่ความเร็วเฉลี่ยที่จะใช้ขนส่งผู้โดยสารจะอยู่ที่ 130 ไมล์ต่อชั่วโมง  (210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เท่านั้น

ดังนั้น จึงทำให้ระบบการขนส่งแบบ  "ไฮเปอร์ลูป" สามารถทำความเร็วได้มากกว่ารถไฟความเร็วสูงที่เร็วที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ในประเทศจีน ได้ โดยปัจจุบันความเร็วสูงสุดที่รถไฟความเร็วสูงเส้นทางสนามบินผูต่ง ในนครเซี่ยงไฮ้  ไปยังใจกลางนครเซี่ยงไฮ้ ทำความเร็วสุงสุดได้ที่ 311 ไมล์ต่อชั่วโมง ขณะที่ความเร็วปกติที่ให้บริการผู้โดยสารอยู่ที่ 286 ไมล์ต่อชั่วโมง 

เอลอน มัสก์ กล่าวว่า ระบบการขนส่งผ่านท่อดังกล่าว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น และอยู่ห่างกันน้อยกว่า 900 ไมล์ หรือ 1,500 กิโลเมตร

“การเดินทางด้วยระบบดังกล่าวจะทำให้คุณรู้สึกเหมือนกับว่าได้เข้าไปขับยานอวกาศลำยักษ์ในดิสนีย์แลนด์เลยทีเดียว ขณะที่ระบบการทำความเร็วของระบบการขนส่งแบบใหม่จะไม่ทำให้ผู้นั่งรู้สึกไม่สบายตัว เหมือนเวลานั่งรถไฟใต้ดินอีกด้วย เพราะเบาะนั่งบนยานลำเลียงขนส่งผู้โดยสารจะปรับตำแหน่งเบาะให้เหมาะสม โดยให้เอนไปด้านหลัง เล็กน้อยเหมือนกับเบาะบนเครื่องบิน  ดังนั้นเวลาตัวยานขนส่งขับเคลื่อนไปด้วยความเร็วสูงจึงให้ผู้โดยสารที่นั่งอยู่รู้สึกว่าการขับเคลื่อนในท่อขนส่งเป็นไปอย่างนุ่มนวล”เอลอน มัสก์ กล่าวให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กทีวี

ทั้งนี้ ไอเดียการพัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะเกิดขึ้นจากการที่ เจ้าตัวได้มีโอกาสได้ไปอ่านและศึกษาแผนงานพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงของ รัฐแคลิฟอร์เนีย แล้วเกิดความรู้สึกผิดหวังในแผนงานดังกล่าว ดังนั้น เจ้าตัวจึงเกิดความคิดว่าน่าจะหาและพัฒนาระบบการขนส่งและการเดินทางที่ดีกว่าที่เป็นอยู่มากกว่าจะยึดการเดินทางในรูปแบบเดิมๆ 

อย่างไรก็ตาม แม้ มัสก์ จะเป็นผู้เสนอไอเดียสุดอัจฉริยะนี้ขึ้นมา แต่เจ้าตัวได้ย้ำผ่านสื่อว่าขณะนี้ยังไม่มีแผนการที่จะลงในระบบขนส่งผ่านท่อดังกล่าวใดๆทั้งสิ้น  และทั้งหมดยังเป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น

ผุด"ไฮเปอร์ลูป"ระบบขนส่งสุดล้ำ

 

ผุด"ไฮเปอร์ลูป"ระบบขนส่งสุดล้ำ

 

ผุด"ไฮเปอร์ลูป"ระบบขนส่งสุดล้ำ

 

ผุด"ไฮเปอร์ลูป"ระบบขนส่งสุดล้ำ

 

ผุด"ไฮเปอร์ลูป"ระบบขนส่งสุดล้ำ

 

ผุด"ไฮเปอร์ลูป"ระบบขนส่งสุดล้ำ