posttoday

ผลวิจัยชี้ชายหัวล้านเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

05 เมษายน 2556

นักวิจัยโตเกียวเผยชายหัวล้านเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ แนะหยุดสูบบุหรี่หันมาควบคุมน้ำหนัก

นักวิจัยโตเกียวเผยชายหัวล้านเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ แนะหยุดสูบบุหรี่หันมาควบคุมน้ำหนัก

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์ บีเอ็มเจ (BMJ) จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเกือบ 37,000 คน ชี้ว่าผู้ชายหัวล้านกว่า 32% มีแนวโน้มที่จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ทั้งนี้ นักวิจัยระบุเพิ่มว่า คนหัวล้านก็ยังมีความเสี่ยงน้อยกว่า คนที่สูบบุหรี่หรือเป็นโรคอ้วน ด้านมูลนิธิหัวใจอังกฤษ (British Heart Foundation) แนะว่าผู้ชายควรเน้นไปสนใจที่รอบเอวของพวกเขา มากกว่าจำนวนเส้นผมบนศีรษะ ทั้งนี้ ผู้ชายส่วนใหญ่ราว 50% มักจะมีผมบางลงในวัย 50 ปี และกว่า 80% จะมีผมบางลงในวัย 70

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ระบุว่าหัวล้านอาจมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ก็มีความเชื่อมโยงที่ยังไม่ชัดเจนนัก หากเทียบกับความเสี่ยงอื่นๆ ที่เป็นที่รู้กันดีว่า ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เช่นการสูบบุหรี่ และการเป็นโรคอ้วน เนื่องมาจากการมีระดับโคลเลสเตอรอลสูงในเลือด และความดันโลหิต แต่ยังชี้ว่า การที่ผมบางลง ทำให้ผู้ชายควรจะเริ่มฉุกคิดถึงวิธีการใช้ชีวิตแบบสุขภาพดี เพื่อให้หัวใจของพวกเขาแข็งแรงขึ้น เนื่องจากชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชาย การทำงานของอินซูลิน และการอังเสบในหลอดเลือด ซึ่งส่งผลต่อการเป็นโรคหัวใจ

โดยข้อมูลในการศึกษา ไม่มากพอ ที่จะระบุว่า ผู้ชายหัวล้านทุกคน ต้องทำการตรวจเช็คปัญหาโรคหัวใจ

ด้านนายแมดดอค ดอเรียน พยาบาลด้านหัวใจ ที่ทำงานกับมูลนิธิหัวใจอังกฤษ ระบุว่า การค้นพบนี่น่าสนใจมาก แต่ผู้ชายผมบางไม่ควรจะตื่นตระหนกเกินไปนัก เนื่องจากมันเชื่อมโยงการศีรษะล้านกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

แต่ก็ยังชี้ว่ารอบเอวของคุณ สำคัญกว่าเส้นผมที่บางลง เนื่องจากอาการผมบางอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ร่วมด้วย ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยคุณผู้ชายที่กังวลเรื่องความเสี่ยงของโรคหัวใจควรจะหยุดสูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักมากกว่า

ด้านศาสตราจารย์แพทริก วูลฟ์ จาก University College London ระบุว่า ในอนาคตอาจมีการทำการศึกษาเพิ่มเติมระหว่างศีรษะล้านและโรคหัวใจ เพื่อศึกษาและป้องกัน การป่วยจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากขึ้น แต่ตอนนี้เรายังไม่ควรนำเรื่องนี้มากังวลมากนัก แต่ควรไปเน้นที่ปัจจัยที่ควบคุมได้เช่น การควบคุมอาหาร-ยา การออกกำลังการ และปัจัยเสี่ยงอื่นๆที่ส่งผลต่อโรคหัวใจมากกว่า