posttoday

เลือกตั้ง66: มนัส โกศล ชูขับเคลื่อนขบวนการแรงงานเข้มแข็ง

28 มีนาคม 2566

มนัส โกศล หัวหน้าพรรคแรงงานสร้างชาติ ชูนโยบาย "สิทธิสุขภาพ" ปฏิรูประบบประกันสังคม ปกป้อง "สิทธิการจ้างงาน" อัดฉีดบำนาญชราภาพ" 4,500 บาท  จัดตั้ง "ธนาคารแรงงาน" หนุนแนวคิด "เศรษฐกิจที่มีชุมชนเป็นฐาน" ยกระดับคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจครอบครัวคนงาน

 เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2566 สหภาพแรงงานซันโยแห่งประเทศไทย (ซยท.) จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี  ได้เปิดโอกาสให้นายมนัส โกศล หัวหน้าพรรคแรงงานสร้างชาติ (รสช.) ปราศัยกฎหมายและนโยบายพรรคเพื่อปกป้องดูแลและคุ้มครองสิทธิสวัสดิการผู้ใช้แรงงานไทย 

นายมนัส กล่าวว่าตลอดระยะเวลา 43 ปี ได้สนับสนุน "ขบวนการแรงงานเข้มแข็ง" ด้วยการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน , สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) , เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) , ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) จนมาสู่การจัดตั้ง "พรรคแรงงานสร้างชาติ" โดยมีนโยบายสำคัญ ดังนี้   เลือกตั้ง66: มนัส โกศล ชูขับเคลื่อนขบวนการแรงงานเข้มแข็ง

1.สิทธิสุขภาพ ต้องมีการปฏิรูประบบประกันสังคม คือ ลูกจ้างมีสิทธิเลือกบำเหน็จบำนาญได้ไม่ต้องรองอายุ 55 ปี , สิทธิในการรักษาพยาบาล มาตรา 33 กับ มาตา 40 ต้องเท่าเทียมกัน  พร้อมกับเสนอ "ปฏิรูปกองทุนสุขภาพไทย" คือ 1.กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2.กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล ข้าราชการ และ 3.กองทุนประกันสังคม เพื่อสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการได้รับการรักษาจากระบบสุขภาพทั้ง 3 กองทุน  

2.สิทธิการจ้างงาน คือ ลูกจ้างเหมาของรัฐ หรือ แรงงาน Outsourcing ต้องได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการ หรือ พนักงานประจำ เพื่อสร้างความมั่นคงในการจ้างงานและได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม   เลือกตั้ง66: มนัส โกศล ชูขับเคลื่อนขบวนการแรงงานเข้มแข็ง

นายมนัส กล่าวว่านโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ไม่เน้นนำเสนอตัวเลขเพื่อแข่งขันหรือเอาชนะทางการเมืองเหมือนบางพรรคการเมือง แต่พรรคแรงงานสร้างชาติ เห็นว่าค่าแรงขั้นต่ำเปรียบเหมือน "ค่าจ้างแรกเข้า" ควรปรับเชิงโครงสร้างรายปี ตามความรู้ความสามารถและอายุงานของลูกจ้างที่ควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมตามภาวะเศรษฐกิจทั้งนายจ้างและลูกจ้างต่างยอมรับได้

นอกจากนี้ทางพรรคมีนโยบาย "บำนาญชราภาพ" ควรได้รับ 4,500 บาท  และ จัดตั้ง "ธนาคารแรงงาน" มาสนับสนุนแนวคิด "เศรษฐกิจที่มีชุมชนเป็นฐาน" เช่น จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้ง "โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" และเขตนิคมอุตสาหกรรมระดับต้นๆ ของประเทศ จึงควรส่งเสริมเกษตรกรหรือผู้ใช้แรงงานที่มีพื้นที่เพาะปลูก หันมาปลูกพืชสมุนไพรเป็น "พืชเศรษฐกิจ" หรือต่อยอดทางธุรกิจอื่นๆ จะได้มีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มไปยกระดับคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจครอบครัว