posttoday

เทคนิคลงทุนอาร์เอ็มเอฟ-แอลทีเอฟ

31 ตุลาคม 2561

เหลือเวลาอีกเพียง 2 เดือน สำหรับการลงทุนในกองทุน LTF และกองทุน RMF เพื่อสะสมความมั่งคั่ง

 

เรื่อง ยินดี ฤตวิรุฬห์

เหลือเวลาอีกเพียง 2 เดือน สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อสะสมความมั่งคั่งสำหรับชีวิตหลังเกษียณ รวมทั้งรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีนี้ ใครยังไม่ได้ลงทุนเลย หรือยังไม่ได้เข้าเพราะภาวะการลงทุนที่ผันผวนตลอดทั้งปี ก็ยังมีเวลาสำหรับโค้งสุดท้าย

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) เป็นกองทุนรวมพิเศษที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองผู้ที่ต้องการออมเงินเตรียมเกษียณอายุ ซึ่งหลักการของกองทุนจะต้องลงทุนในกองทุนนี้ติดต่อกันจนกว่าจะถึงอายุตามเกณฑ์เกษียณ ซึ่งอาจมีการกำหนดที่แตกต่างกันไปตามสถาบันการเงิน โดยมากแล้วมักจะถึงอายุ 55 ปี หรือหากอายุเกิน 55 ปีแล้วก็สามารถใช้สิทธิในการซื้อต่อเนื่องในเวลาอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป แล้วก็จะสามารถถอนเงินคืนได้ พร้อมผลตอบแทนโดยไม่ต้องเสียภาษี

กองทุนต่อมาคือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long-Term Equity Fund หรือ LTF) หลักการโดยทั่วไปจะคล้ายกับกองทุน RMF โดยที่คุณต้องลงทุนซื้อหุ้นนี้ต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 ปีจึงจะได้สิทธิในการถอนเงินออกมาได้โดยไม่ต้องเสียภาษี

เทคนิคลงทุนอาร์เอ็มเอฟ-แอลทีเอฟ

จุดสำคัญ “ต้องมีเงินสำรอง”

กองทุนพิเศษ 2 แบบนี้ มีจุดเด่นในเรื่อง “การไม่ต้องเสียภาษี” และสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย แต่ก็มีความเสี่ยงไม่น้อยเลยเช่นกัน แต่หากมีเงินสำรองเพียงพอ ให้ลงเงินกับกองทุนเหล่านี้ เพราะแม้อาจจะมีช่วงที่ขาดทุนบ้าง แต่หากไม่ใจร้อนหรือกังวลเกินไป รอจังหวะต่อไปพอถึงจุดหนึ่งจะค่อยๆ เพิ่มมูลค่ากลับมาเท่าเดิมได้ หรือไม่ก็เท่าทุนได้เช่นกัน

  1. การลงทุนในกองทุนรวม LTF และ RMF หากไม่วางแผนให้ดี ก็มีสิทธิเสียโอกาสทางภาษี แถมยังอาจขาดทุนจากการตัดสินใจลงทุนผิดจังหวะเวลาได้ด้วยเช่นกัน
  2. LTF และ RMF แม้จะติดตามสถิติการลงทุนว่า ควรนำเงินไปลงทุนในช่วงไหนถึงจะลงทุนได้ในราคาหน่วยลงทุนที่ถูกที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วหากไปย้อนดูสถิติย้อนหลังของราคาหุ้น
    และกองทุนรวมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็จะรู้ว่า นั่นเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้
  3. ไม่มีใครคาดเดาอนาคต หรือไม่มีใครที่กะเก็งราคาหุ้นหรือหน่วยลงทุนได้ถูกต้องเสมอไป บางปีซื้อต้นปีถูกกว่าบางปีซื้อปลายปีถูกกว่า หรือบางปีราคาต่ำที่สุดก็อยู่ตรงกลางปีได้เหมือนกัน
  4. สำหรับปีนี้ถ้ายังมีเงินลงทุนเหลืออยู่ ก็อาจรอจังหวะตลาด ทยอยแบ่งการลงทุนออกเป็นช่วงๆ สำหรับ 2 เดือนที่เหลือ โดยแบ่งเงินลงทุนเท่ากันในแต่ละเดือนก็ได้ หรือบางคนใช้วิธีแบ่งเงินเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 40% อาจใช้ซื้อลงทุนในช่วงตลาดปรับตัวขึ้นลงผันผวน และส่วนที่เหลือ 60 % อาจรอไว้เพื่อจับจังหวะลงทุนในปลายปี
  5. ก่อนลงทุนในกองทุนรวม LTF และ RMF ต้องคำนวณรายได้ในเบื้องต้นก่อน เพื่อจะได้ทราบว่า เมื่อมีการหักค่าใช้จ่ายและการลดหย่อนภาษีพื้นฐานแล้วจะเหลือเงินได้สุทธิที่ใช้ในการคำนวณภาษีเท่าไรจากนั้นจึงคำนวณดูว่าจะจัดสรรเงินจำนวนเท่าไรไปใช้ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม สำหรับข้าราชการยังมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ต้องนำมาร่วมคำนวณด้วย
  6. ก่อนตัดสินใจเข้าลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดๆ อย่าลืมคำนวณรายได้ทั้งปีและสิทธิในการลงทุนของตัวเองให้เรียบร้อยก่อน ตามปกติแล้วสามารถซื้อกองทุนรวม LTF และ RMF ได้อย่างละไม่เกิน 15% ของรายได้แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท ที่สำคัญอย่าซื้อเกินสิทธิ เพราะจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แถมยังต้องจ่ายภาษีในส่วนกำไรของจำนวนที่เกินอีกด้วย
    นักลงทุนสามารถเข้าไปกรอกรายละเอียดในส่วนของรายได้และค่าลดหย่อนเพื่อที่จะคำนวณเงินลงทุนที่สามารถซื้อ LTF และ RMF ได้ตามสิทธิอย่างแม่นยำ สามารถเข้าคำนวณได้ที่
    http://www.thaimutualfundnews.com/program/tax.html
  7. รู้จักตัวเองก่อนลงทุนในกองทุนรวมเมื่อวางแผนจะสะสมหน่วยลงทุนในกองทุนรวม LTF และ RMF ในระยะยาว เมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ย่อมทำให้ความมั่งคั่งเพิ่ม

เทคนิคลงทุนอาร์เอ็มเอฟ-แอลทีเอฟ

เลือกลงทุนอย่างไร

มาถึงขั้นตอนการคัดเลือกกองทุน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะปัจจุบันทั้งกองทุน LTF และ RMF นั้นมีหลากหลายนโยบายการลงทุน มีการลงทุนหลากหลายประเภทสินทรัพย์

ในกรณีของ RMF ที่ไม่ได้มีแต่หุ้นเท่านั้น ซึ่งถ้าจะว่าไปถึงเทคนิคการเลือกกองทุนนั้นก็ถือว่ารายละเอียดเยอะพอสมควรแต่นักลงทุนสามารถใช้เครื่องมือช่วยได้ซึ่งนั่นก็คือ มอร์นิ่งสตาร์ เรทติ้งที่เป็นการจัดอันดับกองทุนโดยมอร์นิ่งสตาร์ซึ่งจะมีการพิจารณาทั้งในเรื่องของผลตอบแทนและความเสี่ยงในระยะยาว(มากกว่า 3 ปีขึ้นไป) โดยที่นักลงทุนอาจจะเลือกกองทุนที่ได้อันดับมอร์นิ่งสตาร์เรทติ้ง ระดับ 4-5 ดาวขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ค่อยไปพิจารณากันที่สไตล์การลงทุนและค่าธรรมเนียมกองทุน เป็นต้น ซึ่งก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ที่ http://www.morningstarthailand.com/th/

“กระจาย” อย่า “กระจุก”

การซื้อกองทุนหลายกองทุนหรือหลายบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั้นไม่ได้หมายความว่าได้กระจายการลงทุนแล้ว เพราะกองทุนที่ซื้อหลายและ RMF แต่โดยปกติแล้วนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่ก็จะนิยมลงทุนกันในช่วงท้ายของปีโดยเฉพาะเดือน ธ.ค. สำหรับเรื่องนี้บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) แนะนำให้ผู้ลงทุนทยอยลงทุนแบบเท่ากันทุกเดือน (DCA = Dollar Cost Average) ซึ่งควรทำตั้งแต่ต้นปี

สมมติถ้าใครไปคำนวณมาแล้วว่าต้องลงทุนทั้งหมด 6 หมื่นบาท ก็ทยอยลงทุนเดือนละ 1 หมื่นบาท เพราะนอกจากจะไม่ต้องควักเงินลงทุนครั้งละมากๆ แล้ววิธีการแบบ DCA นี้ยังถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงของต้นทุนในการลงทุนอีกด้วย แถมจากผลการศึกษาวิธีการลงทุนแบบนี้จะให้ผลตอบแทนดีในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนและช่วงตลาดขาลง

สำหรับ LTF สินทรัพย์ที่จะเข้าลงทุนส่วนใหญ่จะจำกัดอยู่ในเฉพาะตราสารทุนในประเทศ นักลงทุนสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนประเภทเชิงรับ(Passive) ที่เน้นสร้างผลตอบแทนล้อตามดัชนีอ้างอิง เช่น ดัชนีหุ้นไทย หรือการลงทุนแบบเชิงรุก (Active) หรือเน้นสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าชนะดัชนีอ้างอิง โดยหากเชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพและผู้จัดการกองทุนไม่สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนในระยะยาวได้ กองทุนประเภทเชิงรับ จะเป็นตัวเลือกที่ดีจากตลาด กองทุนที่มีเน้นหุ้นที่การเติบโตสูง กองทุนที่ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ หรือกองทุนที่ลงทุนในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เป็นต้น

สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF นอกจากสามารถลงทุนในตราสารทุนในประเทศแล้ว นักลงทุนยังสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น อาทิ ตราสารหนี้ในประเทศ-ต่างประเทศ ตราสารทุนต่างประเทศ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (รีท) รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำ ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถใช้ RMF เป็นส่วนของเครื่องมือในการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสผ่านการลงทุนในต่างประเทศ