posttoday

40 ปี การสาธารณสุขมูลฐาน (21)

07 พฤษภาคม 2562

เรามองภาพในอนาคตว่า ภาครัฐและสังคม จะต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพและสุขภาวะของประชาชน ทั้งในระดับประชากร และบุคคล โดยการสร้างระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง

เรามองภาพในอนาคตว่า ภาครัฐและสังคม จะต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพและสุขภาวะของประชาชน ทั้งในระดับประชากร และบุคคล โดยการสร้างระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง

*******************

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

การประชุมโลกเรื่องการสาธารณสุขมูลฐาน (Global Conference on Primary Health Care) ใน
โอกาส 40 ปี การสาธารณสุขมูลฐานที่แอสทานา เจ้าภาพหลักยังคงเป็นกระทรวงสาธารณสุขคาซัคสถาน องค์การ อนามัยโลก และยูนิเซฟ เหมือนการประชุมที่อัลมา-อะตา เมื่อ พ.ศ. 2521

หลังการประชุมที่อัลมา-อะตา มีองค์กรระดับโลกที่ก่อกำเนิดขึ้นมาเพื่อทำงานเรื่องการสาธารณสุขอีกหลายองค์กร เช่น โครงการร่วมเรื่องเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS)กองทุนโลกเพื่อเอดส์ มาลาเรีย และ วัณโรค (Global Fund for AIDS Malaria and Tuberculosis)และพันธมิตรโลกเพื่อการริเริ่มเรื่องวัคซีน (Global Alliance for Vaccine Initiatives)หรือ กาวี (GAVI)

องค์กรแรกมีบทบาทสำคัญที่สามารถทำงานจนควบคุมโรคเอดส์ได้ดีพอสมควร องค์กรที่สองสามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์สามารถเข้าถึงยา จนเหลือผู้ป่วยเอดส์ที่ต้องนอนโรงพยาบาลน้อยลงมาก แทบทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติ ทำงานเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ และอายุขัยเฉลี่ยต่ำกว่าคนปกติทั่วไปราว 2-3 ปี เท่านั้น และนอกจาก “เอาชนะ”โรคเอดส์ได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังขยายไปทำงานเพื่อเอาชนะมาลาเรีย และวัณโรคต่อไปด้วย

พันธมิตรโลกเพื่อการริเริ่มเรื่องวัคซีนก็สามารถระดมทุนจัดหาวัคซีนที่จำเป็นจำหน่ายให้แก่ประเทศที่ยังยากจน ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถได้วัคซีนป้องกันโรคได้มาก วัคซีนราคาแพงอย่างวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ประเทศยากจนหลายประเทศสามารถฉีดให้ประชาชนของตนก่อนประเทศที่ฐานะดีกว่าเสียอีก เพราะกาวีซื้อได้ในราคาเข็มละ 4.25 ดอลลาร์ จากราคาในท้องตลาดซึ่งเคยสูงถึงราวเข็มละ 5 พันบาท ไปขายให้ประเทศ
ยากจนในราคาเพียงเข็มละ 25 เซนต์ เป็นต้น

การประชุมครั้งนี้ มีการเชิญองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมอย่างกว้างขวาง คล้ายคลึงกับการประชุมที่อัลมา-อะตา แต่องค์การอนามัยโลกไม่สามารถมีบทบาทนำได้เหมือนครั้งก่อน เพราะบุคลากรในองค์กรที่มีความรู้ความสามารถมีจำกัด ผู้นำองค์กรก็ยากที่จะมีความรู้ความสามารถและบารมีสูงอย่างนายแพทย์มาห์เลอร์ การเตรียมการการประชุมก็ลดระดับลงมาก ช่วงเวลาการประชุมก็ลดเหลือเพียง 2 วัน ความพร้อมของเจ้าภาพ “ไม่เท่าเดิม”

แม้รัฐมนตรีสาธารณสุขของคาซัคสถานซึ่งอยู่ในวัยใกล้เคียงกับนายแพทย์ชาร์มานอฟว์ เมื่อครั้งที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดประชุมที่อัลมา-อะตา และได้ให้ความสำคัญอย่างสูงกับการประชุมช่วงสองวันนั้นก็ตาม ช่วงเช้าของการประชุมก่อนพิธีเปิดจะเริ่มขึ้นไม่นาน เวทียังจัดไม่เรียบร้อย และผู้แสดงทางวัฒนธรรมในพิธีเปิดยังมาซักซ้อมกันอีก อาหารที่จัดเลี้ยงผู้เข้าประชุมก็ไม่พอทั้ง 2 วัน

ไฮไลต์สำคัญของการประชุมครั้งนี้ คือ การประกาศปฏิญญาแอสทานา ซึ่งจัดแบบ “เรียบง่าย”มาก เพราะที่ประชุมไม่มีโอกาสพิจารณา และอภิปรายร่างปฏิญญาดังกล่าวเลย ถึงเวลาก็ทำพิธีประกาศและตีฆ้องสัญญาณเท่านั้น ก็ถือว่าที่ประชุมรับรองปฏิญญาสำคัญนั้นแล้ว

ความก้าวหน้าสำคัญประการหนึ่งของการสาธารณสุขโลก นับจากอัลมา-อะตา คือ หลายประเทศสามารถบรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สวีเดน และไทย และปัจจุบันการพัฒนาสุขภาพของโลก ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคม กรอบแนวคิดหลักของปฏิญญาแอสทานา จึงเป็น “จากปฏิญญาอัลมา-อะตา สู่การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเป้าหมายการพัฒนาที่
ยั่งยืน”(From Alma-Ata towards universal health coverage and the Sustainable DevelopmentGoals)

ปฏิญญาแอสทานา ที่ประกาศเมื่อ 25 ตุลาคม 2561 มีเนื้อหาดังนี้

พวกเรา ผู้นำแห่งรัฐ รัฐมนตรีและผู้แทนแห่งรัฐต่างๆ ที่เข้าร่วมในงานประชุมเรื่องการสาธารณสุขมูลฐาน ในหัวข้อ จากอัลมา-อะตา สู่การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ นครแอสทานา เมื่อวันที่ 25 และ 26 ตุลาคม 2561 ขอยืนยันในพันธกรณีที่แสดงอย่างมุ่งมั่นและมีวิสัยทัศน์ในปฏิญญาอัลมา-อะตา เมื่อ พ.ศ. 2521 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 เพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าขอร่วมกันประกาศปฏิญญาต่อไปนี้

เรามองภาพในอนาคตว่า ภาครัฐและสังคม จะต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพและสุขภาวะของประชาชน ทั้งในระดับประชากร และบุคคล โดยการสร้างระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง

40 ปี การสาธารณสุขมูลฐาน (21)ดยบุคลากรสาธารณสุขที่ผ่านการฝึกฝนเป็นอย่างดี
มีทักษะความชำนาญ มีความกระตือรือร้น และมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงาน

มีการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ให้ประชาชนและชุมชนได้รับการเสริมพลังและมีส่วนร่วมในการรักษาและสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
ภาคีและผู้มีส่วนได้เสียมีความเชื่อมโยงในการสนับสนุนที่ดีต่อนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงานที่ดีของประเทศ

หนึ่ง พวกเราขอยืนยันหนักแน่นถึงความมุ่งมั่นที่จะเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพที่มีมาตรฐานสูงสุดของมนุษย์ทุกคน โดยไม่มีความแตกต่างใดๆ ในอากาสครบรอบ 40 ปี ของปฏิญญา อัลมา-อะตา เราขอยืนยันในคุณค่า และหลักการทั้งปวงของปฏิญญาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความยุติธรรม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเราขอเน้นย้ำความสำคัญของสุขภาพ ต่อสันติภาพ ความมั่นคง การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม และความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

สอง เราเชื่อมั่นว่า การสร้างความเข้มแข็งของการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นแนวทางที่ครอบคลุม มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด ที่จะทำให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย จิต และสังคม และการสาธารณสุขมูลฐานเป็นรากฐานของระบบสุขภาพที่ยั่งยืน เพื่อบรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเชื่อมโยงประเด็นด้านสุขภาพของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เรายินดีที่ปฏิญญาฉบับนี้จะได้ใช้ประโยชน์ในการประชุมระดับสูงของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี พ.ศ.2562 เรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. เราจะมุ่งมั่นให้บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ และประสิทธิผลอย่างเท่าเทียม ตามที่สมควรโดยไม่ต้องประสบความเดือดร้อนด้านการเงิน

สาม เรารับรู้ว่า แม้จะมีความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่เด่นชัดในช่วง 40 ปี ที่ผ่านมา แต่ยังมีผู้คนจำนวนมากในทุกภาคส่วนของโลกยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ การมีสุขภาพดียังเป็นปัญหาท้าทายของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนยากจนและผู้อยู่ในภาวะเปราะบางต่างๆ

เราพบว่า เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งทางจริยธรรม การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ที่ยังคงมีความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพและช่องว่างของผลลัพธ์ทางสุขภาพ

เราจะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาภาระโรคไม่ติดต่อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และก่อให้เกิดความเสื่อมต่อสุขภาพ และการตายก่อนวัยอันควรเนื่องจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมและลีลาชีวิตที่ทำลายสุขภาพ การออกกำลังกายที่ไม่พอเพียง และโภชนาการที่ทำลายสุขภาพ เว้นแต่เราจะดำเนินการทันที

เราจะยังคงสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากสงคราม ความรุนแรง โรคระบาด ภัยธรรมชาติ ผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพอากาศรุนแรง และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เราต้องไม่สูญเสียโอกาสที่จะหยุดการระบาดของโรค และภัยคุกคามทางสุขภาพในโลก เช่น ภาวะเชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะที่ระบาดข้ามประเทศ

บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู รวมทั้งการดูแลแบบประคับประคองจะต้องสามารถเข้าถึงได้โดยทุกคน

เราต้องรักษาชีวิตนับล้านจากความยากจน โดยเฉพาะที่ยากจนที่สุด เพราะเหตุต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลอย่างไม่สมควร

เราต้องไม่ยอมให้ความสำคัญน้อยเกินไปกับการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค รวมทั้งต้องไม่อดทนต่อการดูแลที่แยกส่วน ไม่ปลอดภัย และคุณภาพเลว

เราต้องแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและการกระจายอย่างไม่เท่าเทียม.เราต้องจัดการกับค่ารักษาพยาบาล ยา และวัคซีน ที่แพงมากขึ้นเรื่อยๆ

เราต้องไม่ยอมสูญเสียไปกับการใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ไร้ประสิทธิภาพ