posttoday

ถ้าสนช.โหวตผิดคสช.จะตกสวรรค์

24 ธันวาคม 2560

เฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล

เฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล

“ข้อคิดก่อนโหวต กับดักการเมือง ถ้าสนช.โหวตพ.ร.ป.ป.ป.ช.ผิด จะพาคสช.ตกสวรรค์กระแทกพื้นแบบไม่รู้ตัว”

ข้อคิดประการที่หนึ่ง

ถ้าสนช.โหวตตามความเห็นของกรรมาธิการเสียงข้างมาก สนช.จะตกที่นั่งเข้าข่ายทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๔ คือ จะเป็น “การจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฏหมาย...”

ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๔ วรรคหนึ่งที่ว่า

ข้อคิดประการที่สอง

“มาตรา ๒๓๔ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้

(๑) ไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวย ผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าท่ีหรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อดําเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญ หรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต”

ข้อคิดประการที่สาม

เมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทำผิดมาตรา ๒๓๔ ป.ป.ช.ก็ต้องดำเนินการตามมาตราต่อไป กล่าวคือ

“มาตรา ๒๓๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓๖ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือมีการกล่าวหาว่า ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองเฉพาะที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ใดมีพฤติการณ์ตามมาตรา ๒๓๔

๑)ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวน ข้อเท็จจริง และหากมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เห็นว่าผู้นั้น มีพฤติการณ์หรือกระทําความผิดตามที่ไต่สวนให้ดําเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ถ้าเป็นกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้เสนอเรื่อง ต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ทั้งนี้ ให้นําความในมาตรา ๒๒๖ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษา ของศาลฎีกาโดยอนุโลม

(๒) กรณีอื่นนอกจาก (๑) ให้ส่งสํานวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดําเนินการฟ้องคดี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือดําเนินการอื่นตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

การไต่สวนข้อเท็จจริงและมีมติตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เมื่อศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้อง ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคําพิพากษา เว้นแต่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระทําความผิดตามที่ ถูกกล่าวหา แล้วแต่กรณี ให้ผู้ต้องคําพิพากษานั้นพ้นจากตําแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้เพิกถอน สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นและจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้

ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใด ผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือ สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งทางการเมืองใด ๆ

ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิด ฐานร่ำรวยผิดปกติหรือทุจริตต่อหน้าที่ ให้ริบทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้มาจากการกระทําความผิด รวมทั้ง บรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาแทนทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

.........................”

ข้อคิดประการที่สี่

ข้อที่จะทำให้ผู้ลงมติขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเข้าสู่แดนอันตรายคือ ลักษณะต้องห้าม ข.(๑๘)มาตรา ๑๐๘ กล่าวคือ

“มาตรา ๑๐๘ สมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้....

ข. ลักษณะต้องห้าม

(๑) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๙๘ (๑) (๒) (๓) (๔)

(๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๕) (๑๖) (๑๗) หรือ (๑๘)

ข้อคิดประการที่ห้า

ข.(๑๘)มาตรา ๑๐๘ คือ

สมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้...

... (๑๘) เคยพ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ หรือมาตรา ๒๓๕ วรรคสาม”

มาตรา ๒๓๕ วรรคสามดังที่เขียนอยู่ข้างต้นคือ

“เมื่อศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้อง ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคําพิพากษา เว้นแต่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ขอผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระทําความผิดตามที่ ถูกกล่าวหา แล้วแต่กรณี ให้ผู้ต้องคําพิพากษานั้นพ้นจากตําแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้เพิกถอน สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นและจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้

ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใด ผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือ สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งทางการเมืองใด ๆ”

สนช.ชุดนี้ใครอยากเป็นส.ว.ต่อโดยไม่ต้องระแวงว่า จะถูกสอยต้องคิดดีๆ

ใครที่อยากเป็นนายกฯโดยมีเสียงส.ว.ที่เคยเป็นสนช.ชุดนี้สนับสนุนก็ต้องคิดดีๆ เพราะถ้าย่ามใจในตอนนี้ ถึงตอนนั้นเสียงส.ว.เหล่านั้นจะหายเกลี้ยงเกือบทั้งสภา กลายเป็นเทวดาตกสวรรค์แบบไม่รู้ตัวก็ได้

แต่ถ้าไม่กลัวเพราะคิดว่าคุมองค์กรอิสระได้หมดแล้ว ก็ขอเตือนว่า งานเลี้ยงมีวันเลิกรา ทุกอย่างไม่มีความแน่นอน อำนาจมีวันหมดอายุ โดยเฉพาะอำนาจที่ใช้โดยไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมและขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างชัดเจน

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่พวกท่านโหวตรับร่างมาด้วยมือ แล้วจะลบด้วยฝ่าเท้า
ก็ขอให้คิดดีๆ

รสนา โตสิตระกูล

24 ธ.ค 2560