posttoday

ทำไมการบินไทยจึงขาดทุนเท่าฟ้า?

20 พฤศจิกายน 2560

เฟซบุ๊ก Jothin Pamon-montri

เฟซบุ๊ก Jothin Pamon-montri

ทำไมการบินไทยจึงขาดทุนเท่าฟ้า?

ประชาชนผู้เสียภาษี และ ผู้ถือหุ้น คงต้องอาจรู้ว่า ทำไม การบินไทย ในช่วง10ปีมีแต่ปัญหาขาดทุน และก็คงอยากทราบจะมีทางแก้ไขสถานการณ์นี้หรือไม่อย่างไร

จะแก้ไขอะไรต้องศึกษาเสียก่อนว่าปัญหาคืออะไร เมื่อทราบแล้วการแก้ไขปัญหาจะง่ายขึ้น

1.การบินไทยซื้อเครื่องบินแบบA340-500จำนวน4ลำแม้ทางสภาพัฒน์ขอให้ทบทวน นี้คือจุดเริ่มต้นของการขาดทุน ผู้รับผิดชอบคือคณะกรรมการบริษัทในช่วงรัฐบาลทักษิณ

2.ในปี47 รัฐบาลทักษิณเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการลงทุนในสายการบิน จาก 70/30 มาเป็น 51/49 โดยให้แอร์เอเชียถือหุ้น49% Shincorp 49% กุหลาบแก้ว 2% nominee ผู้รับผิดชอบ รัฐบาล

3.หลังจัดตั้ง ไทยแอร์เอเชีย คณะกรรมการบินไทยมีนโยบายมิให้ฝ่ายการพาณิชย์การบินไทยทำการแข่งขันกับไทยแอร์เอเชีย ผู้รับผิดชอบคณะกรรมการ

4.หลังจัดตั้งสายการบินนกแอร์ ฝ่ายบริหารนกแอร์ไม่ดำเนินการตามนโยบายคณะกรรมการบริษัทการบินไทยๆ ก็มิได้เข้าไปควบคุมนโยบาย แม้จะมีเสียงข้างมาก5 ต่อ4 ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

5.แทนที่จะเขาไปควบคุมสถานการณ์ในนกแอร์ คณะกรรมการกลับไปลงนามในMOU เพื่อร่วมทุนกับ สายการบิน ไทเกอร์ ที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นในช่วงนั้น49% โดยไม่ได้ศึกษาว่า สายการบิน ไท เกอร์ ขาดทุนติดกันหลายปี และถูกระงับการบินไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากด้อยความปลอดภัย ลงเงินไปแล้ว 100ล้านบาท โครงการต้องล้มไปเพราะมีการต่อต้านว่า ชักศึกเข้าบ้าน ผู้รับผิดชอบคือ คณะกรรมการ

6.เพียง5 เดือนหลัง โครงการไทย ไทเกอร์ต้องล้มไป คณะกรรมการ จัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ ผลการศึกษา ปี57,58,และ59 จะทำกำไร+5,056ล้านบาท ผลประกอบการจริง ขาดทุน-4,485ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

7.ในช่วงจัดตั้ง ไทยสมายล์ คณะกรรมการบริษัทการบินไทย สนับสนุนให้นกแอร์(การบินไทยถือหุ้น39%)ไปร่วมทุนกับสายการบิน สกู๊ต ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้น100% ผลการลงมติ 99.392% แม้ในปี 58 การบินไทยขาดทุน-13,047ล้านบาท ยังอนุมัติเงิน983ล้านบาทเพื่อลงทุนในนกสกู๊ต ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

8.ปี57 สายการบินไทยสมายล์ขาดทุน-577ล้านบาท และตามสัญญาเช่าเครื่องบินแบบA320-200 จำนวน12ลำ บริษัทผู้ให้เช่าและบริษัทผู้เช่ามีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาโดยแจ้งล่วงหน้า6เดือน ต้นปี58 ICAO ให้ธงแดงประเทศ ซึ่งแน่นอนจะต้องกระทบผลดำเนินการของไทยสมายล์ ในปีเดียวกัน คณะกรรมการซุปเปอร์บอร์ดซึ่งมี ท่านนายกเป็นประธานมีมติ ให้การบินไทยชะลอการจัดหาเครื่องบิน และในปี58 ไทยสมายล์ ขาดทุน -1,843ล้านบาท ควรทบทวนแผนการบินไทยสมายล์ ที่สามารถจะทำการยกเลิกจำนวนเครื่องบินที่เช่าลงแต่กลับไปเพิ่มจำนวนเครื่องบินอีก8ลำ และผมประการปี 59 ที่ว่า จะกำไร+1,910ล้านบาท มาเป็นขาดทุน-2,060ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

9.อนุม้ติ การจัดซื้อระบบสำรองที่นั่งNavitaire จากบริษัทที่โดนศาลสหรัฐปรับเป็นเงินกว่า2พันล้านบาท ฐานรับสินบน ระบบดังกล่าวไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบของการบินไทยได้ เป็นการทำลายNet work ของการบินไทย ในที่สุดต้องเลิกใช้ เสียหายไป 500ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

10 ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นการลงทุนในสายการบิน มีรัฐบาลจากการรัฐประหาร 2รัฐบาล รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง 3รัฐบาล คณะกรรมการบริษัทมิได้เสนอทางแก้ไขนโยบายดังกล่าวแม้แต่ครั้งเดียว เพื่อปกป้องผลประโยชน์บริษัท และสิทธิการบินซึ่งเป็นสมบัติของชาติ ผู้รับผิดชอบ คือคณะกรรมการ

ยังมีอีกหลายโครงการที่จมอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้ต้องรับผิดชอบความเสียหาย

การที่จะแก้ไขให้บริษัทการบินไทยพ้นจากการขาดทุก ต้องเปลี่ยนคณะกรรมการ ถ้าตราบใดที่คณะกรรมการชุดนี้ยังเป็นกรรมการบริษัท การบินไทยก็จะอยู่ในสภาพนี้ เศร้า

ที่มา www.facebook.com/jothin.pamonmontri/posts/1862122190484112