posttoday

เมื่อถูกจับและถูกตำรวจซ้อมต้องทำอย่างไร??

05 กุมภาพันธ์ 2560

เฟซบุ๊ก เกิดผล แก้วเกิด

เฟซบุ๊ก เกิดผล แก้วเกิด

บทความนี้เป็นประสบการณ์จริง ในฐานะทนายความของจำเลย และ ทำหน้าที่่ของทนายความ ในกรณีที่จำเลยถูกตำรวจซ้อม เพื่อให้รับสารภาพ หรือ เพื่อให้ยอมต่อสิ่งใด

เรื่องนี้ ผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณ และประสบการณ์ของทนายความ นะครับ

#เมื่อถูกจับและถูกตำรวจซ้อมต้องทำอย่างไร ??

1.พึงเข้าใจว่า ตำรวจมีประสบการณ์ ในการทำร้ายผู้ต้องหามากๆๆ ขนาดที่สามารถทำให้เจ็บปวดทรมานได้โดยไม่สร้างบาดแผลแม้รอยเล็บข่วน

การทารุณกรรมผู้ต้องหา มีหลายวิธี ตั้งแต่ทุบตีหน้าท้อง หน้าขา เรียกว่านวดเบาๆไปเรื่อยๆ จนจุกและหายใจไม่ออก

บางเคส อาจเพิ่มระดับขึ้นมาอีก คือ ใช้ผ้าเปียกปิดหน้า ปิดปาก ปิดจมูก ใช้น้ำราด หรือ จับหัวจุ่มในทั้งน้ำ จนจะขาดใจตาย สลับกับ ทุบตีท้อง หรือจับนอนหงาย ใช้น้ำเทราดผ้าที่ปิดปากปิดตาปิดจมูก แล้วให้ตำรวจอีกคนขึ้นไปเหยียบหน้าอก หรือ ท้อง จนหายใจไม่ออก

บางรายถูกช็อตด้วยไฟฟ้า จนแทบขาดใจ..

และอื่นๆมากมาย ที่ตำรวจจะสร้างสรรค์ผลงานให้ผู้ต้องหา ยอมในที่สุด

กรณีนี้ จะไม่เกิดร่องรอยบาดแผลให้พบเห็น แต่อาจมีการบอบช้ำภายใน

2.บางรายถูกซ้อม จนได้รับบาดเจ็บและมีบาดแผล ในกรณีนี้ บางครั้งตำรวจ จะบันทึกไว้ในบันทึกจับกุมว่า ผู้ต้องหาขัดขืนการจับกุม อันเป็นวิชามาร ขนานหนึ่ง

3. ไม่ว่าจะเกิดบาดแผลภายนอกหรือได้รับบาดเจ็บภายในร่างกาย ให้ปฎิบัติดังนี้

หากมีบาดแผลภายนอก ให้ญาติ หรือ ผู้ต้องหาใช้มือถือถ่ายภาพบาดแผลที่ปรากฎในร่างกายไว้ให้มากที่สุด หากสามารถถ่ายเป็นวีดีโอก็ยิ่งมีประโยชน์

ในการถ่ายรูป ถ่ายคลิป ให้ถ่ายให้เห็นถึงสถานที่นั้นๆด้วย เช่น ถ่ายบริเวณห้องขังของโรงพัก เป็นต้น

4.ไม่ว่าจะมีบาดแผลภายนอกหรือไม่ หรือได้รับบาดเจ็บภายในร่างกายอย่างรุนแรง ให้รีบแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในทันที โดย เพื่อให้พนักงานสอบสวน ส่งผู้ต้องหาไปตรวจร่างกายตามกฎหมาย

#ในฐานะผู้เสียหาย จากการกระผิดฐานทำร้ายร่างกายของชุดจับกุม

** นอกจากนั้น ประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 (4) คือ ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

(มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย

(1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน

(3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร

(4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง )

*** ดังนั้นหากได้รับบาดเจ็บ เพราะถูกซ้อม ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ ผู้ต้อง หรือ ผู้เสียหาย ก็ต้องมีการส่งตัวไปรักษา

#เหตุที่ต้องรีบไปตรวจรักษาทันทีเพราะเนิ่นช้าบาดแผลอาจหายได้

อ้าว ถ้า พนักงานสอบสวนไม่ส่งตัวไปล่ะ โดยมีเจตนาช่วยชุดจับกุม จะทำอย่างไร

(...เดี๋ยวบอกให้ครับ แต่ใบ้ไว้ก่อน ว่าหวยออกที่พนักงานสอบ 3 ตัวท้ายงวดนี้ 157 แน่ๆ)

5.ในกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่สนใจ ไม่รับเรื่อง หรือล่าช้า

ให้ท่านรีบดำเนินการขอประกันตัวออกมาก่อน ไม่ว่าจะขอประกันตัวชั้นไหน ทั้งโรงพัก และศาล

เมื่อประกันตัวออกมาแล้ว ให้รีบไปแจ้งความ (ในกรณีไม่เคยมีการแจ้งความ ในข้อหาถูกทำร้ายร่างกาย เพื่อพรักงานสอบสวนจะได้ส่งตัวไปตรวจที่โรงพยาบาล

แต่ถ้าเคยไปแจ้งความแล้วตำรวจไม่รับแจ้ง หรือ รับแจ้งแแต่บ่ายเบี่ยงไม่ยอมส่งตัวไปโรงพยาบาล ให้ท่านรีบไปโรงพยาบาลของรัฐ เพื่อตรวจร่างกาย หาร่องรอยบาดแผล ทั้งภายในและภายนอกอย่างละเอียด

6.ในกรณีประกันตัวไม่ได้ ...

6.1 เมื่อถูกฝากขังในเรือนจำ ให้แจ้งต่อผู้คุมทันทีว่า ถูกตำรวจซ้อมตรงไหน ได้รับบาดเจ็บตรงไหน

เรือนจำจะตรวจบาดแผลท่าน และบันทึกการรับตัวอย่างแน่นอน

ท่านไม่ต้องกลัวว่า ทางเรือนจำจะนิ่งเฉย เพราะผู้คุม ก็ไม่อยากเสี่ยงว่า ผู้ต้องขังถูกผู้คุม หรือ นักโทษซ้อมในเรือนจำเช่นเดียวกัน

ซึ่งเรื่องนี้ ลูกความผม มีประสบการณ์จริงหลายคดี แล้ว ทนายขอยืนยันว่า ผู้คุมไม่ยอมเสี่ยงด้วยแน่นอน

6.2 ให้ญาติรีบติดต่อทนายด่วน แม้เป็นช่วงฝากขังก็ตาม เพื่อให้ทนายยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ษาบสั่งให้เรือนจำนำตัวผู้ต้องหามาตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล

เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ และ ทนายตัองรีบเร่งดำเนินการทันที

ผมเคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เรือนจำ นำตัวผู้ต้องขังมาตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล หลายคดี

#ทุกคดี ศาลจะมีคำสั่งอย่างรวดเร็วในวันนั้น และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศาล ทำหนังสือด่วน หรือ โทรศัพท์ประสานงานผู้บัญชาการเรือนจำทันที

ที่ผ่านมา ผมต้องกราบขอบพระคุณศาลจังฉะเชิงเทรา และเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา เพราะทันที่ที่ผมยื่นคำร้องตอนบ่าย ศาลท่านสั่งบ่ายทันที และรุ่งเช้าเรืองจำกลางฉะเชิงเทรา ก็นำตัวผู้ต้องขังมาตรวจร่างกายโดยละเอียดที่โรงพยาบาลทันที่

ผิดกับที่ เรือนจำแห่งหนึ่งใกล้กรุงเทพ ที่ศาลสั่งบ่าย แต่พาผู้ต้องขังมาตรวจ อีก 3 วัน จนร่องรอยบาดแผล หายเกือบหมด

7.เหตุที่ต้องตรวจร่างกาย เพราะเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก เราอ้างว่า ถูกตำรวจทำร้ายร่างกาย จึงต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็น และ

8.หากถูกทำร้ายร่างกายจริง ก็ควรต้องแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายร่างกายตามกฎหมาย ไม่ควรนิ่งเฉย

9.การที่ท่านนิ่งเฉย ไม่ไปตรวจร่างกาย ตามข้อ7 ก็ดี หรือไม่แจ้งความร้องทุกข์ ตามข้อ8 ก็ดี ไม่ว่าท่านจะมีเหตุผลใดๆ เช่นอ้างว่า ไม่รู้กฎหมาย ไม่กล้า ไม่อยากมีเรื่องกับตำรวจ กลัวญาติพี่น้องลำบากใจ หรือ อ้างว่า ติดคุกอยู่

เหตุผลเหล่านี้ #ศาลไม่รับฟัง และศาลไม่เชื่อ เมื่อถึงเวลาอ่านคำพิพากษา #ศาลจะบอกว่าจำเลยกล่าวอ้างลอยๆ หากถูกทำร้ายจริง จำเลยก็ควรแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

และท่านจะติดคุก..เพราะเหตุผลว่า ไม่รู้กฎหมาย ไม่กล้า ไม่อยากมีเรื่องกับตำรวจ กลัวญาติพี่น้องลำบากใจ หรือ อ้างว่า ติดคุกอยู่

10. ในกรณีประกันตัวไม่ได้ ท่านยังมีหน้าที่ต้องแจ้งความอยู่ดี โดยท่านอาจมอบหมายให้ญาติหรือ ทนายความ ไปร้องทุกข์แทน
ผมเคยได้รับมอบอำนาจให้ไปแจ้งความแทนนักโทษคนหนึ่งซึ่งถูกผู้คุมชุดจู่โจมเฉพาะกิจ ของ กรมราชฑัณฑ์ ทำร้ายร่างกาย
แรกๆให้ญาติไป ตำรวจไม่รับแจ้ง แต่พอให้ทนายความไป ไม่กี่วัน พนักงานสอบสวน มาสอบปากคำถึงเรือนจำ

ท่านก็ทำได้ครับ

11.นอกจากท่านจะแจ้งความร้องทุกข์แล้ว ท่านควรทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อขอให้หน่วยงานนั้นๆ เข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริง และ ใช้เป็นพยานหลักฐานในการต่อสู้คดีในชั้นศาลได้

เคยมีคำพิพากษาฎีกา วินิจฉัยในประเด็น นี้ว่า การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง จนผลการสอบสวน บางหน่วยงาน เชื่อว่า จำเลยถูกกลั่นแกล้งจริง...

ศาลฎีกาได้หยิบยกประเด็นนนี้มาวินิจฉัยประกอบ การพิจารณาคดี จนยกฟ้องมาแล้วครับ

12. มีอยู่คดีหนึ่ง จำเลยถูกตำรวจยัดยาบ้าและซ้อมจนเกิดบาดแผลบริเวณขา ฟกช้ำอย่างเห็นได้ชัด

ระหว่างถูกควบคุมตัวในห้องขังของโรงพัก..ญาติผู้ต้องหา ได้ถ่ายรูปผ่านกระจกหน้าห้องขังซึ่งมีลูกกรง ว่าผู้ต้องหาถูกซ้อมบีงคับให้รับสารภาพว่ามียาเสพติด

ผมนำรูปถ่ายนั้นเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณา ระหว่างสืบพยานจำเลยในช่วงเช้า

แต่เมื่อศาลเห็นรูปและทราบว่า ภาพถ่ายใบนั้นถ่ายที่โรงพักระหว่างจำเลยถูกควบคุมตัว

ศาลท่านก็มีคำสั่งงดสืบพยานเพียงเท่านี้ และ ให้ไปเผชิญสืบที่โรงพักทันที

คำสั่งศาลเร็วเหมือนฟัาผ่า ผ่าทั้งอัยการ และฝ่ายจำเลย

จู่ๆ ท่านก็สั่งให้รถตู้มารับ และให้ทุกคนเข้าไปในรถตู้ แล้วพากันไปสถานีตำรวจทันที โดยไม่บอกกล่าวให้ฝ่ายตำรวจทราบ

เมื่อคณะผู้พิพากษาไปถึง ท่านก็สั่งให้จำเลยไปยื่นจำลองเหตุการณ์ และให้เจ้าหน้าที่ศาลยืนถ่ายรูปในมุมของญาติจำเลยที่เคยถ่าย

เมื่อพบว่า เป็นภาพถ่ายสถานที่จริง และ ไม่ใช่การตัดต่อ ท่านก็ให้กลับไปที่ศาล และนัดฟังคำพิพากษาตอนบ่ายทันที

(ดูรูปที่ 2 )

เมื่อถึงช่วงบ่าย ศาลจึงอ่านคำพิพาพากษายกฟ้อง

ข่าวนี้ถึงหูตำรวจ จนต้องนอนมือก่ายหน้าผาก และต่อมาก็มีตำรวจถูกฟ้องหลายคน