posttoday

อาชีพนักวิทยาศาสตร์ส่งผลดีต่อสังคม ขับเคลื่อนศก.ได้จริงหรือ?

13 พฤศจิกายน 2558

เฟซบุ๊ก อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ

เฟซบุ๊ก อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ

อาชีพนักวิทยาศาสตร์ส่งผลดีต่อสังคม ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจได้จริงหรือ?

ตอบ:คำถามนี้น่าสนใจมากเพราะเป็นคำถามที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายการใช้เงินของประเทศว่ารัฐบาลควรทุ่มเทงบประมาณและจริงจังกับเรื่องนี้แค่ไหน

ผมตอบให้ฟังดังนี้

วิทยาศาสตร์นั้มีสองประเภทคือ

1.วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ที่เน้นตอบคำถามเกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติ

2.วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งนำความรู้ในหมวดแรกมาใช้ซึ่งออกมาในรูปแบบหลากหลาย เช่น แพทย์ วิศวกร ฯลฯ

ซึ่งประวัติศาสตร์ที่บอกเราว่าทั้งสองประเภทนี้เกื้อหนุนค้ำจุนกันมาตลอด

นักฟิสิกส์ชื่อ แมกซ์เวลล์ ศึกษาธรรมชาติคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

นักฟิสิกส์ชื่อ เฮิรตซ์ สร้างเครื่องรับส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านคลื่นวิทยุ(ความถี่คลื่นวิทยุที่เราเรียกเมกะเฮิร์ตซ์ตั้งตามชื่อนักฟิสิกส์คนนี้แหละ)

นักประดิษฐ์และนักธุรกิจ มาร์โคนี เอาความรู้ของเฮิร์ตซ์นี้มาทำสิ่งที่เรียกว่า โทรเลขไร้สาย ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไร้สายครั้งแรกของโลก

ดังนั้นการลงทุนกับวิทยาศาสตร์สายประยุกต์นั้นจึงค่อนข้างชัดเจนในประโยชน์ที่เกิดขึ้น

คำถามต่อไปคือ

แล้วนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เก่งพอจะประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆให้กับโลกเช่นนี้ล่ะ สร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง?

ผมตอบกว้างๆสองทางคือ

-พวกเขาอาจทำงานอื่น แต่พวกเขาจะมีแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหลายอย่างในการทำงานได้ตรงจุดไม่ต้องไปบนบานหรือกราบต้นกล้วยเวลาเกิดปัญหา

หรือ ถ้าอยากรวยก็ขยันทำงานพัฒนาตนเอง

ยิ่งถ้าพวกเขาเป็นอาจารย์แล้วเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์ย่อมช่วยขจัดความงมงาย

ส่งผลให้คนที่กินน้ำโสโครกหวังการรักษาโรคแล้วตายมีจำนวนน้อยลง ทำให้ประเทศไม่เสียกำลังบุคลากรของประทศไปอย่างน่าเสียดาย

-อีกทางขอให้นึกถึงการส่งจรวด

ถ้าตอนนี้เมืองไทยอยากส่งดาวเทียมเพิ่มขึ้น เพื่อขยายช่องสัญญาณสื่อสารเราจะทำอย่างไร?

คำตอบคือ จ้าง

จรวดเราทำไม่เป็นก็ต้องไปจ้างเขาทำ

ฐานส่งจรวดเราก็ไม่มีทั้งที่ประเทศเราอยู่ใกล้เล้นศูนย์สูตร ปัจจัยนี้จะทำให้ลดเชื้อเพลิงการส่งจรวดลงได้มากเพราะที่เส้นศูนย์สูตรโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงกว่าที่อื่นๆ(ลองนึกถึงลูกข่างดู)

ต่อให้เรามีจรวด มีฐานส่งและ มีวิธีส่ง เราก็ต้องไปจ้างคนที่ "ส่งเป็น" มาส่งให้

ดังนั้นบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์นี่แหละครับ ที่เราต้องสร้างขึ้นมารองรับงานใหญ่ๆ กลางๆและเล็กๆให้มากเข้าไว้
ซึ่งแม้จะไม่เก่งระดับโลก แต่พอรวมตัวกันก็ส่งช่วยกันจรวดไปรอบโลกได้

(แน่นอน ไม่ใช่แค่จรวดนะครับ มือถือ โน้ตบุ๊ก ทีวี ฯลฯ น่าจะมียี่ห้อไทยๆส่งขายทั่วโลกได้สบาย ถ้าคนไทย"ทำเป็น")

แล้ววิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ล่ะ ควรทุ่มทุนแค่ไหน?

อันนี้ตอบยากเพราะวิทยาศาสตร์สายนี้บางทีเหมือนปรัชญา,เหมือนการออกแบบ ฯลฯ

วิทยาศาสตร์สายนี้มันเป็นความสุนทรีย์อย่างหนึ่งน่ะครับ

ลองนึกดีๆจะพบว่า

ตึกไม่ต้องสวยมากเราก็อยู่ได้ ไม่ต้องปูกระเบื้อง ไม่ต้องทาสีก็ได้ ไม่ต้องติดแอร์ก็ได้

วงดนตรีไม่ต้องอลังการมากก็พอฟังได้ มีแค่กีต้าตัวกลองตัวก็เล่นเพลงได้

แต่สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามามันคืออารยะธรรมที่ทำให้ตึกน่าอยู่และเพลงน่าฟังมากขึ้น

ตึกจากนักออกแบบเก่งๆและวิศวกรระดับโลกย่อมดึงดูดนักท่องเที่ยวได้นะครับ

ถ้ามนุษย์เรารู้จักคณิตศาสตร์ แค่บวก ลบ คูณ หาร

เราคงสร้างระบบธนาคารและเศรษฐกิจยากมาก

วิทยาศาสตร์คืออารยธรรมอีกอย่างหนึ่งด้านความคิด

ถ้าบ้านเรามีนักวิทยาศาสตร์และนักคิดมากขึ้น(อย่างญี่ปุ่น)

ต่อไปใครๆก็คงอยากมาเรียนที่ไทย

อยากมาชมสถานที่สร้างประวัติศาสตร์โลก(เหมือนไปเที่ยวดูบ้านไอน์สไตน์)

อยากมีความร่วมมือกับประเทศไทยด้านวิทยาศาสตร์

ฯลฯ

โอ๊ย แล้วเงินมันจะไหลเข้าประเทศเราแค่ไหนลองคิดดู

ผมล่ะนึกไม่ออกเลยว่า

การลงทุนสร้างคงที่คิดเป็น,คิดเก่ง ไว้เยอะๆแล้วประเทศเราจะขาดทุนได้อย่างไร

http://pantip.com/topic/34403292

ที่มา https://www.facebook.com/ardwarong/photos/a.409698355818015.1073741837.406167566171094/867666703354509/?type=3&fref=nf&pnref=story