posttoday

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

14 ตุลาคม 2559

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงนิพนธ์หนังสือหลายเล่ม ๒ เล่มในจำนวนนั้นมีความสำคัญยิ่งในด้านประวัติศาสตร์

โดย...กองทรัพย์ ชาตินาเสียว

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงนิพนธ์หนังสือหลายเล่ม ๒ เล่มในจำนวนนั้นมีความสำคัญยิ่งในด้านประวัติศาสตร์ ซึ่ง “เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์” เป็นพระนิพนธ์ที่แสดงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อทรงพระเยาว์ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๖๘-๒๔๘๙ โดยลำดับเรื่องราวครอบครัวมหิดล ภายหลังสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี รับพระราชทานน้ำสังข์จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังสระปทุม นับจากปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ไว้โดยสังเขป ดังนี้

ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ วันที่ ๖ เดือนพฤษภาคม หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ประสูติ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๗ สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จพร้อมกับครอบครัวเล็กๆ ไปยังประเทศเยอรมนี เพื่อรักษาพระองค์ และในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ พระโอรสองค์ที่สองได้ประสูติ ณ โรงพยาบาลเมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี และได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “หม่อมเจ้าอานันทมหิดล”

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ได้ตรัสถึงพระอนุชา ซึ่งทรงเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวในหนังสือเจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ ว่า “ข้าพเจ้าเองจำเหตุการณ์สำคัญนี้ไม่ได้เลย เพราะอายุเพียง ๒ ขวบ ๔ เดือน แต่คงยินดีอย่างมากที่ได้น้อง ซึ่งคงไม่เป็นเรื่องธรรมดานัก เพราะในหลายครอบครัว ลูกคนโตมักจะอิจฉาน้องที่อ่อนกว่าไม่มากนัก เพราะพ่อแม่มักให้ความสำคัญแก่ลูกคนใหม่ แต่ทูลหม่อมฯ แม่และแหนน (เนื่อง จินตตุล พระพี่เลี้ยง ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ท้าวอินทรสุริยา”) คงได้อธิบายเรื่องน้องที่จะเกิดไว้อย่างดี ข้าพเจ้าจึงรู้สึกรัก และอยากช่วยเลี้ยงน้อง”

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ครอบครัวราชสกุลมหิดลเสด็จยังสหรัฐอเมริกา สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาต่อจนได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อพระโอรสพระองค์เล็กได้ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ สหรัฐ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานพระนามว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช”

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ พระบิดา สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ และพระมารดา หม่อมสังวาลย์ ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ทรงนำพระโอรสพระองค์เล็ก (พระชนม์ได้ ๑ ปี ๘ วัน) พร้อมพระเชษฐภคินี พระวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และพระเชษฐา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จกลับมาอยู่เมืองไทยที่ตำหนักใหม่ในวังสระปทุม และได้รับพระราชทานนามสกุล “มหิดล” จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๑

ในวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกประชวร และทรงจากครอบครัวไป ต่อมาในวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ด้วยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ ๘ พรรษา

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๗ รัฐบาลขณะนั้นได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทั้งสามพระองค์พี่น้องในราชสกุลมหิดลต่างสนิทสนมรักใคร่ผูกพัน ระหว่างพี่น้องจะสนทนากันด้วยภาษาฝรั่งเศส แต่ใช้ภาษาไทยกับสมเด็จพระราชชนนี ทุกพระองค์ทรงเติบโตขึ้นท่ามกลางความเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ โดยมีสมเด็จพระราชชนนีทรงอบรมดูแลให้ทุกพระองค์ช่วยเหลือตนเอง มีระเบียบวินัย และเอื้อเฟื้อต่อผู้ด้อยโอกาสกว่าจนเป็นพื้นฐานสำคัญในพระอุปนิสัยของทุกพระองค์

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’

ความผูกพัน ราชสกุล‘มหิดล’