posttoday

ผู้ว่าฯปทุมลงเรือบอกบุญประเพณีลำพาข้าวสาร

10 ตุลาคม 2563

ปทุมธานี-ผู้ว่าฯปทุมธานีลงเรือบอกบุญ“ประเพณีลำพาข้าวสาร”สานต่อวัฒนธรรมริมฝั่งเจ้าพระยา ประชาชนบริจาคสิ่งของร่วมบุญ

เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2563 ที่ท่าน้ำสวนเทพปทุมเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีประธานพิธีเปิดงานสืบสาน “ประเพณีลำพาข้าวสาร” ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวมอญเมื่อครั้งอพยพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 มีการแสดงรำมอญจากนักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานีกว่า 100 คน และครูเพลงเชื้อสายมอญร่วมรำมอญเพื่อถ่ายทอดศิลปพื้นบ้านด้านการรำมอญ โดยนายชัยวัฒน์ ได้ลงเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อร่วมประเพณีลำพาข้าวสาร ร้องเพลงลำพาข้าวสาร ไปตามบ้านเรือนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำได้ยินเสียงเพลงและออกมาร่วมทำบุญ ประชาชนได้นำข้าวสารและอาหารแห้งต่างๆ ใส่ถุง รวมถึงมอบเงินบริจาคกันอย่างมากมาย

ผู้ว่าฯปทุมลงเรือบอกบุญประเพณีลำพาข้าวสาร

การลำพาข้าวสาร หมายถึง การเชิญชวนท่านผู้ที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมทำบุญ การเชิญชวนท่านผู้ที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมทำบุญ ด้วยการลำพาข้าวสารนั้นก็หมายถึงการร้องลำพาด้วยถ้อยคำสำเนียงเสียงภาษาที่ไพเราะ เสนาะต่อผู้ที่ได้ฟัง จนเกิดศรัทธาและร่วมบริจาคสิ่งของต่าง ๆ ร่วมทำบุญ การลำพาข้าวสาร นิยมจัดขึ้นในช่วงหน้าน้ำ ประมาณช่วงออกพรรษาและเป็นช่วงที่ชาวบ้านจะได้ร่วมงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกว่า การทอดกฐิน การลำพาข้าวสาร เป็นการบอกบุญทางเรือ โดยบอกบุญกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ การลำพาข้าวสาร จะร้องลำพาในช่วงกลางคืน ก่อนที่จะถึงวันทอดกฐินเพื่อรวมรวมสิ่งของ จตุปัจจัยไปร่วมทอดกฐิน การร้องลำพาข้าวสาร จะมีพ่อเพลง แม่เพลง เป็นต้นเสียงในการร้องเชิญชวน และผู้ที่ร่วมเรือกันมาก็จะเป็นลูกคู่ ตัวอย่างเนื้อร้อง เจ้าขาวแม่ลาระลอกเอย ลาหอมดอกดอกเอ๋ยจำปา ข้างขึ้นแล้วหนอเรามาขอลำพา เฮ เฮ้ ลา เห่ ลา สาวเอย มาถึงบ้านนี้เอย อย่าได้รอรี จอดหัวบันได โอ้แม่เจ้าประคุณลูกเอาส่วนบุญมาให้ เฮ เฮ้ ลา เห่ ลา สาวเอย

ผู้ว่าฯปทุมลงเรือบอกบุญประเพณีลำพาข้าวสาร

การร้องลำพา ถือว่าเป็นการเรียบเรียงคำง่าย ๆ ที่มีความสัมผัสก่อให้เกิดความไพเราะโดยพ่อเพลงแม่เพลง ร้องเชิญชวนในการร่วมทำบุญทอดกฐิน ประเพณีลำพาข้าวสาร โดยเมื่อถึงวันออกพรรษาก่อนจะถึงวันเทศกาลตักบาตรพระร้อย ชาวบ้านก็จะออกไปลำพาข้าวสารตามบ้านเรือนประชาชนทั่วๆไปแล้วนำข้าวสารที่ได้มานั้นไปถวายวัดเพื่อใช้ในการหุงข้าวสวยข้าวต้ม ไว้เลี้ยงพระ จึงถือเป็นประเพณีที่ผูกพันกันมายาวนาน

ผู้ว่าฯปทุมลงเรือบอกบุญประเพณีลำพาข้าวสาร

การดำเนินงานในครั้งนี้ เน้นการทำงานแบบบูรณาการ และสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทางวัฒนธรรม อาทิ สภาวัฒนธรรมจังหวัด อำเภอ และตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง สมาพันธ์ชาวไทยเชื้อสายรามัญปทุมธานี ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมวัดสำแล และชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งร่วมกันสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติกันมานับร้อยปีให้ดำรงอยู่ต่อไป

ผู้ว่าฯปทุมลงเรือบอกบุญประเพณีลำพาข้าวสาร

ผู้ว่าฯปทุมลงเรือบอกบุญประเพณีลำพาข้าวสาร