posttoday

สถ.ผนึกดีป้าทำเอ็มโอยูร่วมพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ

03 กรกฎาคม 2563

สถ.จับมือ ดีป้า ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ เปิดโอกาสให้ประชาชน – ท้องถิ่นมีส่วนร่วม หวังผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 2 ก.ค.นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย และ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City)” โดยมี นายขจร ศรีชวโนทัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และนายภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมด้วยผู้บริหารทั้งสองหน่วยงาน ท้องถิ่นจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามผ่านทางเว็บคอนเฟอเรนซ์ ที่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

นายประยูร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ในการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) ตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเมืองอย่างยั่งยืน โดยในระยะเริ่มต้นนี้ มี อปท. นำร่อง และเป็นต้นแบบการขยายผลการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนครยะลา, เทศบาลนครเชียงราย, เทศบาลเมืองน่าน, เทศบาลเมืองชุมพร, เทศบาลนครเกาะสมุย, เทศบาลนครหาดใหญ่, เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี, เทศบาลนครนครสวรรค์, เทศบาลนครเชียงใหม่, เทศบาลเมืองสตูล, เทศบาลเมืองแสนสุข และเทศบาลตำบลบ้านฉาง โดยตั้งเป้าหมายในการนำระบบออนไลน์และเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาของเมือง และอำนวยความสะดวกพี่น้องประชาชน ทั้งในด้านการจราจรและความปลอดภัย คุณภาพชีวิต สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค

สถ.ผนึกดีป้าทำเอ็มโอยูร่วมพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ

“ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้ได้เห็นความสำคัญในแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐานการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเมืองมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ที่มุ่งเน้นนำเทคโนโลยีระบบออนไลน์ มาใช้ในการทำงาน (Work from home) และการบริการประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงหลีกเลี่ยงการสัมผัสกันโดยตรง ในโอกาสนี้ ขอเชิญชวน อปท. ที่มีความพร้อม นำแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) มาจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนและบริหารจัดการเมือง โดยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืนต่อไป” อธิบดี สถ. กล่าว

ด้าน ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยให้สำเร็จได้เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภาคเอกชน และภาคประชาชน ดังนั้นความร่วมมือในการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของการผลักดันแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยการสนับสนุนและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในแนวทางและความสำคัญ ผ่านการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อสนองตอบความต้องการและบริบทที่หลากหลายของพื้นที่เป้าหมาย

อีกทั้งเป็นการกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น โดยเริ่มจากการสร้างวิสัยทัศน์ให้ผู้นำเมือง การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการให้บริการอย่างพอเพียงต่อการเสริมสร้างศักยภาพของเมือง มีระบบบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างแหล่งงานและเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตในอนาคต

สถ.ผนึกดีป้าทำเอ็มโอยูร่วมพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ

ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า ดีป้า ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ขับเคลื่อนให้เกิดระบบนิเวศน์ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานกำกับดูแลสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีหน้าที่ในการรับสมัครเมืองที่สนใจขอรับพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะผ่านเว็บไซต์ www.smartcitythailand.or.th ซึ่งปัจจุบันมีโครงการที่ยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาเป็น เมืองอัจฉริยะแล้ว 39 พื้นที่ มีข้อเสนอจากเทศบาลนครจำนวน 7 พื้นที่ เทศบาลเมืองจำนวน 4 พื้นที่ และเทศบาลตำบล 1 พื้นที่ รวม 12 พื้นที่เทศบาล และคาดว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะขยายจำนวนพื้นที่เขตเทศบาลในการเข้ารับการพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะเพิ่มขึ้นด้าน .