posttoday

โขงยังส่อวิกฤต! ชลประทานนครพนมเร่งกักน้ำรับมือขาดแคลน

14 มกราคม 2563

นครพนม-ชลประทานนครพนมเร่งกักน้ำทุกอ่าง 12 อำเภอ วางแผนระยะยาว ช่วยพื้นที่การเกษตร

นครพนม-ชลประทานนครพนมเร่งกักน้ำทุกอ่าง 12 อำเภอ วางแผนระยะยาว ช่วยพื้นที่การเกษตร

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่จ.นครพนม สถานการณ์น้ำโขง ยังส่อวิกฤตภัยแล้ง ส่งผลให้ระดับน้ำโขงลดระดับรวดเร็วกว่าทุกปี ล่าสุด อยู่ที่ระดับ ประมาณ 1 เมตร ส่งผลกระทบต่อลำน้ำสาขาสายหลัก ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ลำน้ำก่ำ และ ลำน้ำบัง ที่รับน้ำจาก พื้นที่ หนองหาร จ.สกลนคร ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ อ.ธาตุพนม มีปริมาณน้ำน้อย โดยทางชลประทานจังหวัดนครพนม ได้เร่งวางแผนรับมือ ในการเก็บกักน้ำตามอ่างเก็บ น้ำต่างๆ รวมทั้ง 12 อำเภอ กว่า 20 แห่ง เพื่อให้มีปริมาณน้ำเก็บกักมากที่สุด รับมือปัญหาขาดแคลนน้ำ ในช่วงฤดูแล้ง ที่ยังเหลืออีกหลายเดือน โดยเฉพาะลำน้ำก่ำ ในช่วง นี้ ได้มีการ เก็บกักน้ำ ที่ไหล ระบายมาจากหนองหาร 100 เปอร์เซ็นต์ ตลอดลำน้ำก่ำที่ รับน้ำมาจากหนองหาร จ.สกลนคร ระยะทาง ยาวกว่า 120 กิโลเมตร เนื่องจากปีนี้ มีการระบายน้ำจากหนองหาร เพื่อ ทำโครงการพัฒนา ซึ่งจะมีการระบายน้ำมากถึง 100 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงได้มีการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง พร้อม งดการระบายน้ำ บริเวณประตูระบายน้ำช่วงสุดท้าย ประตูธรณิศนฤมิต ที่กักน้ำจากลำน้ำก่ำ ก่อนไหลระบายลงน้ำโขง ที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เพื่อให้ มีปริมาณน้ำมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 70 -80 เปอร์เซ็นต์ของความจุ คาดว่าจะเพียงพอถึงฤดูฝน

นายเกียรติศักดิ์ ผัดวัง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำเเละบำรุงรักษาน้ำก่ำ เปิดเผยว่า สำหรับปีนี้ ปริมาณน้ำโขงถือว่าต่ำกว่าทุกปี ถ้าเทียบในช่วงเดือนเดียวกัน ทำให้ลำน้ำสาขาส่ายหลัก มีปริมาณน้ำต่ำ แต่ในส่วนของลำน้ำก่ำที่ รองรับน้ำจากหนองหาร โชคดี ที่ หนองหาร จ.สกลนคร มีการระบายน้ำออก เพื่อทำโครงการพัฒนา ตั้งเป้าที่ประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้ได้ ทยอยระบายน้ำลงมาสู่ลำน้ำก่ำ ซึ่งทางโครงการชลประทานน้ำก่ำได้วางแผนรับมือ เร่งกักน้ำที่ หนองหาร มีการระบายลงมาสู่น้ำโขง ให้ มากที่สุด ขณะนี้มีปริมาณน้ำเก็บกัก ประมาณ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะเพียงพอ ในการระบายสู่ระบบทาน ช่วยพื้นที่ นาปรัง ไม่ต่ำกว่า 5,000 – 6,000 ไร่ นอกจากนี้ยังได้ ประสานโครงการอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง เร่งเก็บน้ำให้มากที่สุด รวมถึง มีการเตรียมพร้อม เครื่องสูบน้ำ นำไปติดตั้ง สูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ การเกษตร ในจุดที่ขาดน้ำ

โขงยังส่อวิกฤต! ชลประทานนครพนมเร่งกักน้ำรับมือขาดแคลน