posttoday

แนะชาวสวนยางหันมาใช้ระบบ "แบ่งปัน" สู้ราคาผันผวน

14 ตุลาคม 2562

แนะทางออกชาวสวนยางหันมาใช้ระบบ "แบ่งปัน" สู้กับสถานการณ์ราคาผันผวน ชี้ประสบความสำเร็จที่ จ.สงขลา

แนะทางออกชาวสวนยางหันมาใช้ระบบ "แบ่งปัน" สู้กับสถานการณ์ราคาผันผวน ชี้ประสบความสำเร็จที่ จ.สงขลา

นายเรืองยศ เพ็งสกุล ประธาน กลุ่มวิสาหกิจคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อยถ้ำพรรณรา (วคยถ.) และ กรรมการสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) เปิดเผย ว่า ในวันที่ 15 ต.ค.นี้ จะมีการประชุมแกนนำชาวสวนยางที่ จ.นครศรีธรรมราช ในกลุ่มเครือข่ายมีโรงรมยางประมาณ 250 โรง และมีกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ที่รับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิก เป็นทั้งของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ยาง

"สำหรับในกลุ่มเครือข่ายต่างขาดทุนโดยเฉพาะตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 จนถึงขณะนี้ สาเหตุราคาแกว่งไม่นิ่ง"

นายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ รักษาการประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โรงรมยางแปรรูปเป็นยางรมควัน ได้ประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมา 3 ปี ปัจจัยราคาผันผวน แกว่งไม่นิ่ง ไหลลงวันละ 20 สตางค์ 30 สตางค์ / กก. และในปี 2562 ที่ค่อนรุนแรงมากที่สุด จนส่งผลกระทบต่อโรงรมยาง

สำหรับของภาคเอกชนและบริษัทขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับโลก จึงได้ยุติโรงรมยางไปก่อน 4-5 ปี มาแล้ว โดยหันมาเป็นผู้ซื้อยางรมควันโดยตรงนำไปแปรรูปเป็นยางแท่ง โรงรมยางยาง จึงเหลือแต่กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ยาง ประมาณกว่า 400 โรง และทยอยยุติชะลอกิจการ

นายประยูรสิทธิ์ กล่าวอีกว่า โรงรมยางเกษตรกรส่วนใหญ่มีขนาดการผลิตวันละ 5 ตัน มีต้นสูงประมาณ 4-5-6 บาท / กก. โดยซื้อน้ำยางสดสมาชิกวัน / วัน ราคาวัน / วัน แล้วนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ต้องใช้ระยะเวลา 5 วัน ก่อนจะออกขาย โดยราคาแกว่งไม่นิ่ง จึงประสบภาวะขาดทุน

ซึ่งต่างกับธุรกิจน้ำยางสดที่ซื้อขายวันต่อวัน ราคาวันต่อวัน กำไรจะลอยตามราคา ราคาวันนี้ 32 - 33 ขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น 34 บาท / กก. กำไร 1-2 บาท / กก. การค้าน้ำยางสดจะไม่ขาดทุน เพราะซื้อมาขายไป

นายประยูรสิทธิ์ กล่าวอีกว่า มีทางออก ที่โรงรมยางยืนอยู่ได้ คือใช้ระบบแบ่งปัน คือ สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทรายขาว จำกัด ต.ทุ่งหวัง อ.เมือง จ.สงขลา ต่างประสบความสำเร็จ ทั้งนี้มีรูปแบบไม่ได้ซื้อน้ำยางสดขาดจากสมาชิกวันต่อวัน โดยสมาชิกส่งน้ำยางให้กลุ่ม แล้วรับเงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะได้ราคาจริงต่อเมื่อออกขายยางรมควัน โดยไม่ประสบภาวะขาดทุนและสมาชิก ก็จะได้ราคาดี

"จะไม่มีการซื้อขายตั้งราคาวันต่อวันจะเบ็ดเสร็จได้ราคาในวันขายยางรมควัน ทำให้กลุ่มสถาบัน ไม่มีความเสี่ยงและจะอยู่ได้ ซึ่งเป็นทางออกของโรงรมยาง”

นายประยูร กล่าวอีกว่า โรงรมยางที่ประสบความสำเร็จและอยู่รอด คือที่ใช้ระบบการแบ่งปัน เช่น สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทรายขาว จำกัด รูปแบบริหารจัดการระบบการแบ่งปันโดยระบบนี้ยังมีน้อย และทางเครือข่ายสถาบันยาง จะนำรูปแบบโมเดล สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทรายขาว จำกัด ทำการรณรงค์ผลักดันไปยังกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศไปทั่วประเทศ โดยให้หันมาทำการโครงการระบบการแบ่งปันต่อไป