posttoday

เปิดศูนย์ติดตามเฝ้าระวังช้างป่าผ่านระบบเตือนภัยล่วงหน้าพืชผลทางการเกษตรถูกทำลายลด

14 กันยายน 2562

ประจวบคีรีขันธ์-รมว.ทรัพยากรฯเปิดศูนย์ติดตามเฝ้าระวังช้างป่าผ่านระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่อุทยานฯกุยบุรีพบปัญหาพืชผลทางการเกษตรถูกทำลายลดลงปรับสมดุลระหว่างช้างป่ากับชุมชน

ประจวบคีรีขันธ์-รมว.ทรัพยากรฯเปิดศูนย์ติดตามเฝ้าระวังช้างป่าผ่านระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่อุทยานฯกุยบุรีพบปัญหาพืชผลทางการเกษตรถูกทำลายลดลงปรับสมดุลระหว่างช้างป่ากับชุมชน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า(Kuiburi’s Elephant Smart Early Warning System) ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าโดยใช้ระบบเตือนภัยล่วงหน้าผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารร่วมกับการใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ(camera trap) และพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Smart Early Warning System) ในคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนแบบทันทีทันใด(real time) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังช้างป่าออกนอกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อจะได้นำไปสู่การอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลระหว่างช้างป่าและชุมชนในพื้นที่เป็นการส่งเสริมการคุ้มครองช้างป่าในพื้นที่และเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ

ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนกลุ่มทรู กล่าวว่า การทำงานของระบบElephant Smart Early Warning System จะติดตั้งCamera trap พร้อมSIM และSD Card บริเวณด่านที่ช้างออกรวม25 ด่านเมื่อช้างหรือวัตถุใดๆเคลื่อนไหวผ่านกล้องจะทำการบันทึกและส่งภาพไปยังระบบCloud โดยเจ้าหน้าที่ณศูนย์ปฏิบัติการ(Control Room) จะทำการscreen และส่งภาพเข้ามือถือผ่านe-Mail ของเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งเตือนให้ดำเนินการผลักดันช้างเข้าพื้นที่ป่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการผลักดันช้างได้รับแจ้งการผลักดันช้างผ่านApplication Smart Adventure หลังจากผลักดันช้างสำเร็จจะทำการบันทึกข้อมูลต่างๆอาทิพิกัดด่านที่ช้างออกจำนวนช้างเวลาความเสียหายเป็นต้นโดยระบบCloudจะทำการประมวลผลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่อไป

นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน2561 จนถึงปัจจุบัน ระยะเวลา10 เดือนพบว่ากล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัตโนมัติสามารถบันทึกภาพช้างป่าจำนวน518 ครั้งรวม1,826 ภาพ แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่ได้พบช้างป่าบางแห่งได้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรเพียงจำนวน27 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้หากเปรียบเทียบจากข้อมูลเชิงสถิติในพื้นที่เฝ้าระวังช้างป่าก่อนมีการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัตโนมัติในช่วงเวลาเดียวกัน(พ.ย.60– ส.ค.61) พบว่าช้างป่าได้ออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตรของราษฎรจำนวน628 ครั้งและพบความเสียหายของพืชผลทางการเกษตรจำนวน217 ครั้งแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จจากการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัตโนมัติและส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการผลักดันช้างป่าได้อย่างทันท่วงที