posttoday

แห่ร้องอัยการถูกต้มตุ๋น

19 ตุลาคม 2553

ชาวบ้านในพิจิตรแห่ร้องอัยการช่วยหลือหลังโดนแก็งแชร์ลูกโซ่ต้มตุ๋นหลอกขอบัตรประชาชนไปทำคู่มือทะเบียนรถปลอมจนถูกดำเนินคดีอาญาแล้วกว่า20ราย

ชาวบ้านในพิจิตรแห่ร้องอัยการช่วยหลือหลังโดนแก็งแชร์ลูกโซ่ต้มตุ๋นหลอกขอบัตรประชาชนไปทำคู่มือทะเบียนรถปลอมจนถูกดำเนินคดีอาญาแล้วกว่า20ราย

นางนันทพร ศักดิ์สิริกมล อาชีพรับราชการเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร น.ส.สุดสงวน ทองใบ และนางนงลักษณ์  พุทธวิเชียร  ,นางสุปราณี พรมมา และเพื่อนบ้านเกือบ 20 คน ทั้งหมดมาจาก ต.คลองคะเชนทร์ ต.ดงชะพลู ต.โรงช้าง และ ต.ในเขต เทศบาลเมืองพิจิตร อ.เมือง จ.พิจิตร เข้าร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือกับ นายอนุกูล  สวนสุข อัยการจังหวัด ( สคช. ) สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการจังหวัดพิจิตร ว่า ตกเป็นเหยื่อแก็งแชร์ลูกโซ่มาหลอกขอบัตรประชาชนแล้วเอาไปทำสมุดคู่มือทะเบียนรถปลอมให้เหยื่อมีชื่อเป็นเจ้าของรถ 
 

แห่ร้องอัยการถูกต้มตุ๋น ภาพประกอบข่าว

ทั้งนี้ให้เหตุผลว่าจะซื้อรถแต่เครดิตไม่ผ่านระบบสินเชื่อจึงขอยืมชื่อไปซื้อรถเก๋ง – รถกระบะ จากนั้นต่อมาแก๊งแชร์ลูกโซ่ทะเบียนรถก็นำรถที่ซื้อมาให้ดูและให้ทดลองนั่ง โดยปะเหลาะว่าตอนนี้ต้องการใช้เงินจะให้ช่วยนำรถพร้อมกับสมุดคู่มือทะเบียนรถไปจดจำนำกับบริษัทลิสซิ่ง ซึ่งพวกเหยื่อเห็นแก๊งโจรแชร์ลุกโซ่นี้ทำตัวน่าเชื่อถือ ขับรถเก๋งหรู ใส่ทองเส้นเบ้อเร่อ จึงตายใจ อีกทั้งช่วงทำธุรกิจสินค้าขายตรงด้วยกัน ก็ดูเป็นคนดีซื้อง่ายขายคล่อง จ่ายเงินให้สะดวกง่ายดายจึงตัดสินใจยอมตามคำขอให้ไปจำนำทะเบียนรถโดยจะมีคนขับรถพาไปให้และให้พูดตามที่บอก
 
อย่างไรก็ตามเมื่อไปถึงก็ดำเนินการเอารถและสมุดคู่มือไปขอกู้เงินซึ่งก็ได้เงินคันละ 1-2 แสนบาท และแก๊งค์ดังกล่าวก็ให้เงินค่าตอบแทนเป็นค่าเซ็นชื่อและค่ายืมบัตรประชาชนไปทำทะเบียนรถคราวละ 2-3 พันบาท รวม 20 กว่าคน ตกเป็นเหยื่อประมาณ 3 ล้านบาท  โดยช่วงแรกๆนั้นแก๊งแชร์ลูกโซ่นี้ก็จะผ่อนส่งค่างวดสม่ำเสมอจึงไม่มีเรื่องมีราวจนเกือบ 6 เดือนผ่านมาทำมากเข้าอาจหมุนเงินไม่ทันและขาดส่งค่างวด บริษัทลิสซิ่งและไฟแนนซ์ สินเชื่อรถยนต์ จึงจะตามมายึดรถเพราะโอนลอยไว้จึงเอาสมุดคู่มือทะเบียนรถไปตรวจสอบที่ขนส่งจึงทราบว่าเป็นสมุดคู่มือทะเบียนรถปลอม จึงมีการแจ้งความเอาผิดกับชาวบ้านที่เป็นเหยื่อทุกคนในคดีอาญาปลอมแปลงเอกสารราชการและคดีแพ่งที่กู้ยืมเงินมาและถูกออกหมายจับมีบางคนเดินคอตกเข้าคุกช่วงฝากขังมาแล้วเพราะล้วนเป็นและชาวไร่ชาวนาทั้งสิ้น
 
ทั้งนี้ต่อคนที่ตกเป็นเหยื่อให้ทำเช่นนี้คนละ 2 คันเป็นอย่างน้อยจนเป็นหนี้ตามกฎหมายคนละ 2-3 แสนบาท โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้เปิดธุรกิจสินค้าขายตรงบังหน้า จากนั้นก็ใช้วิธีหลอกล่อให้ทำผิดดังกล่าว จนในที่สุดชาวบ้านเกือบ 20 คน ก็ถูกดำเนินคดีอาญา ฐานปลอมแปลงเอกสารราชการและคดีแพ่งเงินกู้ โดยตำรวจไม่ใส่ใจจะเอาผิดกับตัวการ แต่จะเอาชาวบ้านที่เป็นเหยื่อติดคุก  จึงได้เข้าร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือจาก นายอนุกูล  สวนสุข อัยการจังหวัด ( สคช. ) สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการจังหวัดพิจิตร ให้ช่วยเหลือต่อไป
 
ล่าสุดอัยการอนุกูล ได้โทรศัพท์ ตรวจสอบข้อมูลกับทุกสถานีตำรวจของจังหวัดพิจิตร พบว่ามีผู้ตกเป็นเหยื่อลูกโซ่ลักษณะนี้ทุกท้องที่ ซึ่งคาดว่ามีเป็นร้อยคน ดังนั้นถ้าใครถูกหลอกลักษณะเช่นนี้ขอให้มาบันทึกความเสียหายที่ สนงอัยการจังหวัด ( สคช. ) เพื่อหาแนวทาง ทางกฏหมายในการช่วยเหลือให้ความเป็นธรรมต่อไป