posttoday

ตะลึง!หิ่งห้อยนับแสนตัวเกาะต้นมะม่วงปลูกตามธรรมชาติ

26 มกราคม 2561

สุพรรณบุรี-ชาวบ้านแห่ชมหิ่งห้อยนับแสนตัวฉายแสงระยิบระยับในสวนมะม่วงปลูกตามธรรมชาติปราศจากสารเคมี

สุพรรณบุรี-ชาวบ้านแห่ชมหิ่งห้อยนับแสนตัวฉายแสงระยิบระยับในสวนมะม่วงปลูกตามธรรมชาติปราศจากสารเคมี

ชาวบ้านสุพรรณบุรี แห่เดินทางมาดูหิ่งห้อยที่อาศัยอยู่ในสวนลุงชำนาญ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 6 ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ชมรมผู้พัฒนามะม่วงจังหวัดสุพรรณบุรี  ที่มีการทำสวนมะม่วงเลียนแบบธรรมชาติปราศจากสารเคมีจนส่งผลทำให้หิงห้อยจำนวนมากมาอาศัยอยู่ภายในสวนมะม่วงเพราะระบบนิเวศน์กลับมาสมบูรณ์จนทำให้หิ่งห้อยอาศัยอยู่นับแสนตัว

นายสุธินันท์ คงด้วง  ชาวบ้านเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผยว่าเดินทางท่องเที่ยวเกือบทั่วประเทศรวมถึงไปดูหิงห้อยที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณจำนวนหิงห้อยน้อยลง ซึ่งเชื่อว่าระบบนิเวศน์เริ่มเปลี่ยนแปลงจนทำให้จำนวนหิงห้อยมีจำนวนน้อยลง และเชื่อมาตลอดว่าต้นลำพูเป็นต้นที่มีหิงห้อยอาศัยอยู่ที่ไหนมีลำพูต้องมีหิงห้อย วันนี้เดินทางมาดูหิงห้อยตามคำบอกเล่าและคำเชิญชวนของเพื่อนๆวันนี้ได้เห็นหิ่งห้อยนับแสนตัวอยู่ในสวนมะม่วงที่มีเพียงต้นมะม่วงผักตบชวาและผักบุ้งนาในท้องร่องสวนไม่มีต้นลำพูให้เห็นแม้นแต่ต้นเดียวแต่หิ่งห้อยจำนวนมหาศาลก็มาอาศัยอยู่จนมองเห็นระยิบระยับไปหมดวันนี้บอกได้คำเดียวว่าหิ่งห้อยสุพรรณบุรีไม่แพ้อัมพวาจริงๆและจะเดินทางมาอีกหิ่งห้อยก็เยอะแต่ยุงก็มหาศาลเช่นเดียวกัน

นางสาวเพชร แซ้เล้า ชาวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผยว่าวันนี้ได้เดินทางมาดูหิงห้อยที่สวนลุงชำนาญ พบว่าหิงห้อยจำนวนมากมาอาศัยอยู่ในสวนมะม่วงอย่างน่าเหลือเชื่อตนไม่ได้เห็นหิงห้อยมานานมากแล้ว และวันนี้ได้สัมผัสหิงห้อยเป็นๆแบบใกล้ชิดและจะพาญาติพี่น้องเดินทางมาดูหิงห้อยอีกในเร็วๆนี้ แต่วันนี้เดินทางมาพร้อมกับความไม่มั่นใจว่าจะที่สวนลุงชำนาญจะมีหิงห้อยจำนวนมาก แต่เมื่อมาถึงอึ้ง งง เพราะหิ่งห้อยจำนวนมหาศาลมาอาศัยอยู่ในสวนมะม่วงได้อย่างไรและยังไม่เกรงกลัวคนที่เข้ามาดูและบินเข้ามาหาจำนวนมาก ตนเองยังว่าจะจับหิงห้อยกลับบ้านเพื่อไปปล่อยไว้ดูเล่นแต่เกรงว่าหิงห้อยจะตายก่อนไปถึงบ้านและเชื่อว่าธรรมชาติเข้าต้องอยู่ในพื้นที่เขาเองมากกว่า

สวนลุงชำนาญเป็นสวนมะม่วงแห่งแรกในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งก่อตั้งจากนายชำนาญ ท้วมจันทร์ คนไทยตัวอย่าง ปี 2536 และประธานชมรมผู้พัฒนามะม่วงจังหวัดสุพรรณบุรี ที่เผยแพร่การปลูกมะม่วง การขยายพันธ์มะม่วงในรูปแบบต่างๆจนส่งผลให้ชาวจังหวัดสุพรรณบุรีมีการปลูกมะม่วงกันอย่างแพร่หลายจนถึงในปัจจุบัน

ส่วนนายชำชาญเสียชีวิตแล้ว เมื่อปี 2552  ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบการทำสวนแบบไม่ใช้สารเคมีใช้การตัดหญ้าแทนสารกำจัดวัชพืชใช้หลักการเลียนแบบธรรมชาติปราศจากสารเคมีจนส่งผลให้หิงห้อยจำนวนมากมาอาศัยอยู่