posttoday

รฟท.แจงยิบเหตุเก็บค่าเช่าที่ตลาดนัดจตุจักรแพง

26 มกราคม 2561

รฟท.แจงค่าเช่าที่ตลาดนัดจตุจักรแพง ตั้งธงปี 62 โล๊ะสัญญาแก้ปัญหาเช่าช่วง พร้อมตั้งเรทราคาเช่าใหม่ตามโซนทำเลที่ตั้ง เพดานสูงสุด 3,170 บาทต่อเดือน

รฟท.แจงค่าเช่าที่ตลาดนัดจตุจักรแพง ตั้งธงปี 62 โล๊ะสัญญาแก้ปัญหาเช่าช่วง พร้อมตั้งเรทราคาเช่าใหม่ตามโซนทำเลที่ตั้ง เพดานสูงสุด 3,170 บาทต่อเดือน

นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวชี้แจงกรณีที่มีกลุ่มผู้ค้า200คนจากผู้ค้าในตลาดฯ9,000คน ร้องเรียนว่า ตั้งแต่การรถไฟฯเข้าบริหารตลาดนัดจตุจักรแทนกรุงเทพมหานครส่งผลให้ค่าเช่าแผงจายของในตลาดแพงกว่าเท่าตัว และเรียกร้องให้การรถไฟฯปรับราคาเช่าที่ให้ถูกลง หรือ ยกให้กทม.ดูแลแทนว่า การที่จะยกตลาดให้กทม.ดูแลเช่นเดิมเป็นไปไม่ได้เนื่องจากกทม.ได้หมดสัญญาเช่าที่ อายุสัญญา30ปีไปแล้ว ตั้งแต่ปี2554 การรถไฟจึงได้เข้ามาบริหารพื้นที่ตลาดนับตั้งแต่วันที่2ม.ค.55 ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)

สำหรับกรณีที่ผู้ค้าร้องเรียนค่าเช่าที่แพงมากกว่าตอนที่กทม.บริหารนั้น จะขอเปรียบเทียบให้เห็นว่า ตอนที่ กทม.บริหารกลุ่มผู้ค้าเคยจ่ายค่าเช่าที่ให้เดือนละ600บาทเท่านั้น เนื่องจากกทม.เป็นหน่วยงานที่มีหน่วยงานรายย่อย เช่นเทศกิจ สำหนักสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาด เก็บขยะเฉพาะจุด งานจราจร งานจัดระเบียบแพงค้า มีเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายใต้สังกัดกทม.เป็นคนดูแล ทำให้ไม่ต้องเสียค่าจ้างมากมาย เทียบกับตอนที่รถไฟฯบริหาร ขณะนี้ ผู้เช่าเสียค่าเช่า เดือนละ 3,170 บาท ประกอบด้วย ค่าเช่า 890บาท ค่าส่วนกลาง2,267บาท ค่าส่วนกลางประกอบด้วยค่าจ้างเอกชนทำความสะอาดทุกซอกทุกมุม ทั้งหมด 30 โครงการ ในพื้นที่70ไร่ ร้านค้ากว่า10,000ร้าน ค้า เดือนละ5 ล้านตัน ตกเดือนละ 4.3 ล้านบาทจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย จำนวน140กว่าคน เดือนละ 5.1 ล้านบาท ดูแลความปลอดภัยของประชาชนจากพวกมิจฉาชีพ พร้อมการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งเพิ่มอีกหลายจุดรวม 10 ล้านบาท หากคำนวนการเปิดแผงขายของของแม่ค้าทุก‪เสาร์-อาทิตย์‬ จำนวน 8วัน ค่าเช่าที่จะตกอยู่วันละ396บาท แต่ในปัจุบันแผงค้าไม่ได้มีแค่‪เสาร์-อาทิตย์‬ แต่มีเกือบทั้งสัปดาห์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี เป็นตลาดต้นไม้ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เป็นตลาดคนเดิน เพราะฉะนั้นค่าเช่าก็จะถูกไปอีก และต้องขอย้ำว่าเกณฑ์การเก็บค่าเช่าก็จะเท่ากันทุกแพงคือเดือนละ 3,170บาท หากแผงไหนที่มีการเก็บเกินอัตราดังกล่าวถือว่าผิด เป็นการเก็บค่าเช่า แบบเช่าช่วง เป็นการเช่าต่ออีกที่หนึ่งทำให้เจ้าของแผงเรียกเก็บค่าเช่าเกินอัตราที่กำหนด ซึ่งการรถไฟฯกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่

สำหรับสัญญาค่าเช่าแผงที่จะหมดในเดือนก.พ.ปี 62(อายุสัญญา5ปี) นี้ การรถไฟจะออกระเบียบห้ามผู้ค้ามาเช่าช่วงขาย หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายยึดแผงคืนและเปิดประมูลแผงค่าใหม่ โดยการต่อสัญญาจะพิจารณาตากผู้ค้ารายเดิมก่อนหลังจากนั้น หากมีล็อคว่างก็จะเปิดประมูลต่อ เบื้องต้น ณ ปัจุบันพบล็อคว่างไม่เปิดร้านค้ากว่า3สัปดาห์ กว่า20 ล็อคที่ยังว่าง ส่วนปัญหาการเช่าช่วงปัจจุบันมีมากกว่าร้อละ 90 ของผู้ค้าที่มีมากกว่า 1 พันราย หากพบจะถูกยกเลิกสัญญาและจะมีการยึดคืนล็อคทันที นอกจากนี้มีเกณฑ์ที่จะจัดลำดับค่าเช่าที่ใหม่โซน เอ บี ซี ดี ค่าเช่าจะใช้เกณฑ์ทำเลเป็นหลัก ผู้เช่าต้องมีบัตรแสดงความเป็นเจ้าของแพง กันการเช่าแผงค้าต่อ

อย่างไรก็ตามในปี61 พบยังมียอดค้างชำระค่าเช่าแพง392 ล้านบาท จากเดิมคงค้างอยู่กว่า 440 ล้านบาท ซึ่งการรถไฟได้ส่งเรื่องฟ้องต่อศาลแพ่ง ทำให้ลดค่าเช่าค้างไป40ล้านบาท ส่วนหนี้ที่เหลือ อยู่การเจรจาผ่อนชำระค่าเช่าแผงกับผู้ค้าประมาณ1,000ราย อย่างไรก็ตามจณะนี้ผู้ค้าส่วนใหญ่เข้าใจกระบวนการการบริหารของการรถไฟฯและส่วนใหญ่ชื่นชมการบริหาร มีความสะอาด น่าเดิน เป็นสัดส่วน ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

แฟ้มภาพข่าว ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรกว่า200คนยื่นหนังสือให้ผู้ว่าฯกทม.ขอให้กรุงเทพมหานครเข้ามาดำเนินการบริหารตลาดนัดจตุจักรแทนรฟท.เพราะเก็บค่าเช่าที่แพง