posttoday

ท่าเรือแหลมฉบังรับฟังความเห็นครั้งสุดท้ายก่อนสร้างเฟส3

27 กันยายน 2560

ชลบุรี-ท่าเรือแหลมฉบังจัดรับฟังความคิดเห็นทบทวนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งสุดท้ายก่อนการก่อสร้างเฟส3

ชลบุรี-ท่าเรือแหลมฉบังจัดรับฟังความคิดเห็นทบทวนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งสุดท้ายก่อนการก่อสร้างเฟส3

เมื่อวันที่27ก.ย.60 ที่โรงแรมชลจันทร์ พัทยา รีสอร์ท จ.ชลบุรี นายนริศ นิรามัยวงศ์ นายอำเภอบางละมุง เป็นประธานเปิดกิจกรรมการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 โดยมีการนำเสนอสาระสำคัญของแผนการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ซึ่งจะพัฒนาพื้นที่ท่าเรือรวม 1,600 ไร่ ความยาวท่าเรือ 4,500 เมตร มีท่าเทียบเรือขนส่งรถยนต์ 1 ท่า ท่าเทียบเรือชายฝั่ง 1 ท่า และท่าเทียบเรือตู้สินค้า 4 ท่า สามารถรองรับปริมาณเรือและตู้สินค้าได้สูงถึง 18 ล้าน TEU/ปี ถือเป็นแผนเร่งด่วนที่รัฐบาลผลักดันให้ท่าเทียบ เรือแหลมฉบังเป็นประตูสู่การค้าไปยังประเทศเมียนมา กัมพูชา เวียดนามและลาวต่อไป

ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและนำเสนอมาตรการป้องกัน เพื่อลดผลกระทบ โดยได้ศึกษาใน 3 ระยะคือ ระยะก่อนการก่อสร้าง ระยะการก่อสร้างและระยะดำเนินการ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการกัดเซาะและการทับถมของตะกอนชายฝั่ง ด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำและทางบก ด้านการระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย และด้านการจัดการกากของเสีย ซึ่งแต่ละด้านได้มีการวงมาตรการจัดการมาอย่างต่อเนื่องแทบทุกมิติ วันนี้จึงเป็นการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระ ทบอย่างองค์รวมครั้งสุดท้าย ก่อนจะนำไปสรุปเพื่อดำเนินการต่อไป

ด้าน ร.ต.ต.มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเผยว่า หลังจากผ่านการพิจารณาแล้วก็จะเร่งดำเนินการจัดจ้างผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการได้ในช่วงเดือนมกราคมปี 2562 ในงบประมาณการก่อสร้างกว่า 50,000 ล้านบาทและหากเป็นไปตามแผนงานโครงการท่าเรือระยะที่ 3 นี้จะแล้วเสร็จในปี 2567-68

ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังรองรับตู้สินค้าได้กว่า 10.8 ล้าน BTU ต่อปี แต่ขณะนี้มีการใช้งานอยู่ที่ 7 ล้าน BTU ต่อปี แต่มีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยปีละ 5 แสนตู้ BTU ซึ่งในช่วง 5-6 ปีหน้าหากการก่อสร้างระยะที่ 3 แล้วเสร็จก็จะสามารถรองรับปริมาณตู้เพิ่มเติมได้อีก 7 ล้าน BTU ต่อปี หลังจากที่พื้นที่เก่าเต็มในช่วงเวลาที่เหมาะสมพอดี ซึ่งจะส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างแน่นอน.